การดูแลผู้ป่วยโรคไตและการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตอย่างถูกวิธี!


1,417 ผู้ชม


การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
 
ผู้ ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังนั้น ไตจะเสียหน้าที่ไปมากแล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติได้ มีแต่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น และมีโรคแทรกซ้อนตามระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกายตามมาได้เรื่อย ๆ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเลวลง และมีภาพลักษณะที่ไม่ดี
                ดัง นั้นพยาบาล ผู้ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุดต้องรู้จักสังเกตและมีความรู้ใน เรื่องพยาธิสภาพของโรคเพื่อให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย เพื่อคงไว้ซึ่งภาพลักษณ์ที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืดอายุของผู้ป่วยให้ยาวนานขึ้น
                การ ให้ความรู้ คำแนะนำ การพูดคุยซักถามปัญหากับผู้ป่วยและญาติ ๆ ให้รับรู้และเข้าใจโรค ตลอดจนเข้าใจถึงการรักษาอย่างถูกต้อง และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง     และพยาบาลต้องคอย
ดูแล ติดตามระยะการดำเนินของโรค เพื่อให้คำแนะนำได้ถูกต้อง โดยเน้นการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เหมาะสมกับระยะของโรค เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับภาวะโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างต่อเนื่องและมี ประสิทธิภาพ สามารถมีชีวิตได้ยาวนานขึ้น
 
การพยาบาล
1.       ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนเพลียมาก ปวดศีรษะ ซึม กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
2.       สังเกตอาการและอาการแสดงของการลดลงของสารเหลวในร่างกาย
3.       สังเกตอาการของภาวะโซเดียมในกระแสเลือดต่ำ ภาวะโปตัสเซียมในกระแสเลือดต่ำ ภาวะกรดยูริคในกระแสเลือดสูงและภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูง
               4.       ใช้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยที่ไตเสื่อมหน้าที่
นอก จากนี้ยังมีภาวะอื่น ๆ ซึ่งเป็นผลกระทบจากไตล้มเหลวระยะสุดท้าย เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน คันตามผิวหนัง เป็นต้น อาจจำเป็นต้องให้ยาแก้ไขภาวะต่าง ๆ ตามอาการที่เกิดขึ้น
 
การขจัดของเสียออกทางเยื่อบุช่องท้อง (Peritoneal  dialysis)
การขจัดของเสียออกทางเยื่อบุช่องท้อง (Peritoneal  dialysis) หมายถึง กระบวนการแลกเปลี่ยนน้ำและสารละลายภายในช่องท้อง โดยมีเพอริโตเนียลเมนเบรน (peritoneal membrane) ทำหน้าที่เป็นเยื่อกั้น (semipermeable membrane) ระหว่างน้ำยาไดอะลัยส์กับเลือดภายหลังที่มีการแลกเปลี่ยนกันแล้ว ทำให้เลือดที่มียูเรีย น้ำและอิเลคโตรลัยท์บางตัวซึ่งสูงนั้นลดลง
หลัก การของการขจัดของเสียออกจากเยื่อบุช่องท้อง เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของสารจากเลือดในหลอดเลือดฝอย ผ่านเยื่อบุช่องท้องออกมายังน้ำยาไดอะลัยส์ที่ใส่เข้าไปในช่องท้อง การเคลื่อนตัวของโมเลกุลของสารจึงเกิดขึ้นได้ 2 กระบวนการคือ การแพร่กระจาย (diffusion) และ
อัลตราฟิลเตรชั่น (ultrafiltration)
1.       การขจัดของเสียออกทางเยื่อบุช่องท้องชนิดชั่วคราว (Acute  peritoneal  dialysis)
2.       การขจัดของเสียออกทางเยื่อบุช่องท้องชนิดถาวรด้วยวิธี IPD (Intermittent Peritoneal Dialysis : IPD)
3.       การขจัดของเสียออกทางเยื่อบุช่องท้องชนิดถาวรด้วยวิธี CCPD (Continuous Cyclic Peritoneal Dialysis : CCPD)
4.       การขจัดของเสียออกทางเยื่อบุช่องท้องชนิดถาวรด้วยวิธี CAPD (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis : CAPD)
 
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่ทำการขจัดของเสียออกทางเยื่อบุช่องท้อง
การพยาบาลก่อนทำ
1.       การเตรียมทางด้านจิตใจโดยอธิบายถึงจุดประสงค์ของการทำและตอบข้อซักถาม
2.       การเตรียมทางด้านร่างกาย โดยทำความสะอาดผิวหนังบริเวณหน้าท้อง ชั่งน้ำหนักตามผลชันสูตร วัดสัญญาณชีพ และแนะนำให้ทำความสะอาดร่างกาย
3.       เตรียมน้ำยาไดอะลัยส์และอุปกรณ์ในการทำ
การพยาบาลขณะทำ
1.       จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายศีรษะสูง
2.       ยึดหลักเทคนิคปราศจากเชื้อในการเปลี่ยนขวดแต่ละรอบ
3.       สังเกตลักษณะของน้ำยาไดอะลัยส์ที่ออกจากช่องท้องของผู้ป่วย
4.       จดบันทึกเวลา จำนวนน้ำยาไดอะลัยส์เข้าและออก
5.       ชั่งน้ำหนักผู้ป่วยก่อนทำและขณะทำทุกวัน
6.       เจาะเลือดตรวจหาอิเลคโตรลัยส์ ยูเรียและครีอะตินินทุก 12 ชั่วโมง
7.       วัดสัญญาณชีพอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
8.       ดูแลกิจวัตรประจำวันแก่ผู้ป่วยและทำความสะอาดร่างกาย
9.       สังเกตอาการและอาการแสดงของปัญหาและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
 
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) หมายถึงการที่เอาเลือดออกจากร่างกาย ผสมกับเฮพาริน (heparinized blood) เข้ามายังตัวกรองเลือด (dialysis) โดยไหลอยู่คนละข้างกับน้ำยา (dialysate) ซึ่งมีเซมิเพอเมียเบิ้ล เมมเบรน (semopermeable membrame) กั้นกลางสารละลาย (solute) จะ เคลื่อนที่จากเลือดเข้าสู่น้ำยา หรือจากน้ำยาสู่เลือด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของส่วนประกอบของสารละลาย ในเลือด หรือน้ำยาจนกว่าความเข้มข้นทั้งสองข้างเท่ากัน เรียกวิธีการนี้ว่า ดิฟฟิวชั่น (diffusion) ซึ่งเป็นการกรองของเสียออก จากเลือด ในขณะเดียวกับน้ำจะเคลื่อนที่จากส่วนที่มีความเข้มข้นน้อยไปหาส่วนที่มีความ เข้มข้นมากด้วยวิธีการที่เรียกว่าออสโมซิส (osmosis) และถ้าต้องการให้น้ำออกจากร่างกายมากกว่านี้ต้องใช้วิธีการที่เรียกว่า อัลตราฟิลเตรชั่น (ultrafiltration) โดยการทำให้ความกดดันระหว่างเลือดกับน้ำยามีความแตกต่างกันมาก ๆ
การพยาบาลผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
การพยาบาลก่อนทำ
1.       วัดสัญญาณชีพ
2.       ประเมินความสมดุลของน้ำและสารอิเลคโตรลัยส์
3.       ดูแลการใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด
4.       ประเมินทางด้านจิตสังคม และปัญหาทางระบบประสาท
5.       ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
 
การพยาบาลขณะทำ
1.       วัดสัญญาณชีพทุก 1 – 2 ชั่วโมง
2.       สังเกตอาการและอาการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
3.       ดูแลการทำงานของเครื่องไตเทียมอย่างสม่ำเสมอ
4.       พูดคุยให้คำแนะนำ พร้อมทั้งประเมินสภาพจิตใจของผู้ป่วยขณะทำ
การพยาบาลหลังทำ
1.       สังเกตอาการและอาการเปลี่ยนแปลง บางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงในระยะท้าย
2.       เมื่อถอดเข็มออกจากหลอดเลือดผู้ป่วย ใช้ผ้าก๊อสสะอาดปราศจากเชื้อกดบริเวณแผลจนแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกแล้วจึงปิดแผล
3.       ชั่งน้ำหนัก วัดสัญญาณชีพ เจาะเลือดหาฮีโมโกลบินและตัวอื่น ๆ ที่จำเป็นก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
4.       ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวและอธิบายถึงอาการและผลการฟอกเลือดแก่ผู้ป่วย
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Renal  transplantation)
เป็นวิธีการรักษาวิธีหนึ่งสำหรับผู้ป่วย ไตล้มเหลวเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยการเปลี่ยนหรือปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคไต (Donor) ไปยังผู้ป่วยหรือผู้รับไต (recipient) ซึ่ง ทั้งผู้บริจาคและผู้รับไตนั้นจะต้องมีการคัดเลือกตามเกณฑ์และต้องมีการทดสอบ ความเข้ากันได้ของแอนติเจนพร้อมกับการได้รับยากดระบายภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะสลัดไตภายหลังผ่าตัด
 
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดปลูกถ่ายไต
การพยาบาลก่อนทำ
                1.  เตรียม ผู้ป่วย โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผ่าตัดปลูกถ่ายไต ข้อดี ข้อเสียในการรักษา โดยอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติฟัง ตลอดจนตอบข้อซักถามต่าง ๆ เพื่อลดความวิตกกังวล ซึ่งการเตรียมผู้ป่วยในระยะนี้ควรใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก่อนทำการรักษา
                2.  เตรียม ผู้ป่วยผ่าตัด พยาบาลต้องประเมินสภาพจิตใจของผู้ป่วย เจาะเลือดดูกลไกการทำงานของตับ กลไกการหยุดเลือด และการทำหน้าที่ของหัวใจ ตรวจปัสสาวะและถ่ายเอ๊กซเรย์ปอด แนะนำทำความสะอาด่างกาย ทำความสะอาดบริเวณผิวหนังหน้าท้อง ให้อาหารอ่อนเย็นก่อนผ่าตัด สวนอุจจาระเช้าก่อนผ่าตัด และงดน้ำอาหารหลังเที่ยงคืน ให้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน และยาปฎิชีวนะในวันผ่าตัด
การพยาบาลขณะทำ
                ขณะเข้าห้องผ่าตัด ผู้ป่วยอาจวิตกกังวล กลัว แปลกสถานที่และบุคคล พยาบาลควรอยู่ใกล้ ๆ กับผู้ป่วย พูดคุยเพื่อลดความกลัว
การพยาบาลหลังผ่าตัด
                ผู้ ป่วยควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพยาบาล เพื่อสังเกตการทำงานของไตใหม่ สังเกตอาการและอาการเปลี่ยนแปลง วัดสัญญาณชีพ ดูแลการได้รับสารน้ำและอิเลคโตรลัยส์ ดูแลแผลหลังผ่าตัด ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ กระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวมีกิจกรรมในระยะแรกหลังผ่าตัด ดูแลการให้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน และดูแลการรับประทานอาหารของผู้ป่วย
                เมื่อ ผู้ป่วยจะกลับบ้าน พยาบาลควรให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับความรู้เรื่องยา การจำกัดอาหารและกิจกรรม สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะสลัดไต และภาวะติดเชื้อร่วมด้วย


ที่มา  https://vincent-valentine1986.spaces.live.com

อัพเดทล่าสุด