โรคไตเรื้อรังหรือโรคไตวายเรื้อรัง มีอาการไงอยากรู้ดูเอา!!


1,263 ผู้ชม


ไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างเรื้อรัง ทำให้เกิดการคั่งของของเสียและน้ำ

ไตคืออะไร

ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการขับของเสีย และควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล ปกติมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเท่ากำปั้น มีอยู่ 2 อัน ถ้าไตข้างใดข้างหนึ่งเสียไตอีกข้างสามารถทำหน้าที่แทนได้ เมื่อไตเสียหน้าที่ทั้ง  2 ข้าง คือไม่สามารถกรองของเสียหรือที่เรียกว่าไตวายก็จะเกิดอาการซึ่งเกิดจากการคั่งของของเสีย และการคั่งของน้ำและเกลือแร่ และการเสียสมดุลของฮอร์โมนของร่างกาย

ไต มีหน้าที่อะไร

  1. ขับถ่ายของเสียที่เกิดจาการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน หากของเสียพวกนี้คั่งมากๆ จะมีอาการมึนงง เบื่ออาหาร หมดสติ และอาเจียน
  2. ควบคุมปริมาณน้ำ และเกลือแร่ที่เกินความจำเป็น โดยขับออกทางปัสสาวะ
  3. ผลิต และควบคุมการทำงานของฮอร์โมน เช่นฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณแคลเซี่ยม และฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงฮอร์โมนที่ไตผลิตได้แก่
  • Erythropoietin ทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง
  • Renin ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต
  • vitamin D ทำหน้าที่สร้างกระดูก

ไตวายเรื้อรัง เกิดจากอะไร

  1. เกิดจากกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
  2. เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน
  3. จางทางเดินปัสสาวะอุดตัน เช่น นิ่ว
  4. โรคเบาหวาน
  5. จากโรค SLE
  6. จากยาบางชนิด

อาการของไตวาย

เมื่อไตเริ่มวายผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการ แต่เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้นผู้ป่วยจะปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้นเนื่องจากไตไม่สามารถดูดซึมน้ำกลับ นอกจากปัสสาวะตอนกลางคืนแล้วผู้ป่วยยังมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ความจำไม่ดี นอกจากนี้ยังมีอาการตามระบบต่างๆดังนี้

  1. ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ [ neuromuscular] จะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อ ปลายเท้าปลายมือชาเนื่องจากปลายประสาทอักเสบ  [peripheral neuropathy ] เป็นตะคริว และชัก
  2. ระบบทางเดินอาหาร [gastrointestinal] เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เป็นอาการที่พบที่พบทุกราย ถ้าไตวายมากขึ้นบางรายมีเลือดออกทางเดินอาหาร
  3. ระบบหัวใจและหลอดเลือด [ cardiovascular ] ถ้าไตวายมากมีการคั่งของเกลือและน้ำจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย บางรายมีอาการมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ [ pericarditis ]
  4. ผิวหนัง มีอาการคัน ผิวจะมีสีเหลือง-น้ำตาล

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  1. การตรวจ CBC พบว่ามีซีดเนื่องจากไตสร้างฮอร์โมนน้อยลง
  2. การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ
  3. ตรวจการทำงานของไตโดยตรวจค่า creatinin ค่าปกติอยู่ระหว่าง 0.6-1.2 mg%
  4. การตรวจ creatinin clearance โดยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงหาสาร creatinin ในปัสสาวะและเจาะเลือดหาสาร creatinin นำมาคำนวณค่าปกติ 97-137 มิลิลิตรต่อนาที 88-128 มิลิลิตรต่อนาทีสำหรับชายและหญิงตามลำดับ
  5. การตรวจหา BUN [blood urea nitrogen]ค่าปกติไมเกิน 20 mg%
  6. การตรวจเกลือแร่ พบว่าเลือดจะเป็นกรดมีค่า CO2อยู่ระหว่าง 15-20 mmol/L  Calciumในเลือดจะต่ำ Phosphate ในเลือดสูง
  7. การตรวจเพื่อประเมินขนาดไตโดยอาจจะใช้ ultrasound หรือ CT

การรักษา

การรักษาต้องรักษาปัจจัยที่ทำให้ไตเสื่อมมากขึ้น เช่น ภาวะขาดน้ำ ยาที่มีพิษต่อไต หัวใจวาย การติดเชื้อ หลักการรักษาไตวายประกอบด้วย

  1. การควบคุมอาหารสำหรับโรคไต
  2. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  3. การล้างไตผ่านทางท้อง
  4. การเปลี่ยนไต

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Hemodialysis

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นการนำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียมผ่านไปยังเยื่อ Hemodialyzer ซึ่งเป็น  semipermeable membrane ซึ่งจะกรองเอาของเสียออก เลือดที่ผ่านการกรองก็จะกลับเข้าสู่เครื่องไตเทียม และเข้าสู่ร่างกาย ทำให้กำจัดของเสีย คุมความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ และรักษาระดับความดันให้ปกติ

การเตรียมการก่อนฟอกเลือด

ก่อนฟอกเลือดจะต้องมีการนำเลือดจากหลอดเลือดมาฟอกโดยทำได้ 2 วิธี

  • ใช้เข็มเจาะเข้าหลอดเลือดที่หลอดเลือดบริเวณคด และหลอดเลือดขาหนีบ วิธีนี้ใช้ฟอกเลือดได้ 2-6 สัปดาห์
  • วิธีที่สองเป็นการต่อหลอดเลือดแดง และดำ [arteriovenous [ A-V] fistular ]หลังต่อหลอดเลือดดำจะพองและขยายทำให้สามารถใช้เข็มเจาะเอาเลือดไปฟอกได้ วิธีนี้เป็นวิธีการถาวรแต่ต้องใช้เวลาให้หลอดเลือดดำพองตัว

ขณะฟอกท่านสามารถอ่านหนังสือหรือรับประทานอาหารได้ ใช้เวลาฟอก 2-4 ชั่วโมง อาทิตย์ละ2-3 ครั้ง

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

พบได้บ่อยคือ ความดันโลหิตต่ำ อาจเกิดจากผู้ป่วยกินยาลดความดันโลหิตก่อนฟอกและตะคริว เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่เร็วเกินไป ใช้เวลาในการปรับตัวหลายเดือน  โรคแทรกซ้อนที่พบได้น้อยได้แก่ ไข้ เลือดออกทางเดินอาหาร คัน นอนไม่หลับเป็นต้น

ข้อห้ามการฟอกเลือดคือ ความดันโลหิตต่ำ และเลือดออก

ข้อปฏิบัติก่อนการฟอกเลือด

  1. ควรงดรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนฟอก 4-6 ชั่วโมง
  2. ถ้ามีการเสียเลือดมาก เช่นมีประจำเดือน อุจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด ให้แจ้งแพทย์ก่อนฟอกเลือดทุกครั้ง

การปฏิบัติตนขณะฟอกเลือด

  1. แขนข้างที่กำลังฟอกให้อยู่นิ่งๆ
  2. เตรียมอาหารมารับประทานขณะฟอกเลือด
  3. ถ้ามีอาการเวียนศีรษะ ใจสั่น ขณะฟอกให้แจ้งพยาบาลผู้ดูแลทันที

ข้อควรปฏิบัติหลังฟอกเลือด

  • หลังการฟอกเลือดใหม่จะมีการห้ามเลือดโดยใช้พลาสเตอร์หรือผ้ากอซปิด เมื่อเลือดหยุดจึงเอาผ้าก๊อซออกและติดพลาสเตอร์
  • รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารตามคำแนะนำดังกล่าวมาแล้ว
  • ชั่งน้ำหนักทุกวัน โดยควบคุมมิให้น้ำหนักเพิ่มเกินวันละ 0.5 กก.
  • หลังการฟอกเลือดให้ระวังการถูกกระแทกแรงๆเพราะจะทำให้เกิดช้ำได้

การรับประทานอาหาร

  1. ให้รับประทานโปรตีนจากเนื้อปลา แทนจากถั่วและผัก
  2. เลือกอาหารที่มีโพแทสเซียมไม่สูงไม่ต่ำเนื่องจากสูงหรือต่ำไปจะทำให้เกิดผลเสียต่อหัวใจ
  3. จำกัดน้ำดื่มมิให้น้ำหนักเพิ่มเกินวันละ 0.5 กิโลกรัม
  4. งดอาหารเค็ม
  5. งดอาหารที่มี phosphate สูงดังกล่าวข้างต้น

การล้างไตผ่านท้อง

หลักการฟอกไตวิธีนี้คือการใส่สายเข้าไปในช่องท้อง แล้วใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงปล่อยออก การฟอกมีด้วยกันหลายวิธี เช่น 

  • Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) 
  • Continuous Cyclic Peritoneal Dialysis (CCPD)
  • Intermittent Peritoneal Dialysis (IPD)

ระยะเวลาในการฟอกขึ้นกับวิธีการฟอก เช่น (CAPD) ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง ,(CCPD)ใช้เวลา 12 ชั่วโมง

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ช่องท้องอักเสบ ป้องกันโดยทำการล้างท้องแบบปราศจากเชื้อ

การดูแลหลังสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้อง

เนื่องจากผู้ที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้องจะมีน้ำในท้อง และกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรง การยกของหนักจะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ง่ายจึงมีคำแนะนำดังนี้

  • คำนึงถึงน้ำหนักที่จะยกว่าหนักไปหรือไม่
  • ให้ยกของใกล้ตัวมากที่สุด
  • เวลาจะยกของให้กางขาออก เก้าเท้าไปข้างหน้าหนึ่งเท้า
  • ให้ย่อเข่าแทนการก้ม
  • อย่ายกของจากที่ชั้นที่สูง
  • อย่ายกของและบิดเอว
  •  


ที่มา  /www.siamhealth.net/

อัพเดทล่าสุด