โรคไต อาการ โรคไตวาย อาการของโรคไต อาหารสำหรับโรคไต


1,412 ผู้ชม


โรคไต ข้อมูล โรคไต

โรคไต
โรคไต

ใช้ชีวิตแบบไหนเสี่ยงโรคไตถามหา (สุขภาพดี)
          คุณ เชื่อไหมคะว่า โรคไต โรคที่ใครบอกว่าร้ายนักร้ายหนา เป็นแล้วจะทำให้ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดีดังเก่า หรือหากเป็นมากเข้า ก็คร่าชีวิตคนมาแล้วนักต่อนัก แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิด โรคไต ได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ เพียงไม่กี่ข้อ ส่วนจะเป็นอะไรบ้างนั้น นพ.ธนพล อุตตมานนท์ อายุรแพทย์ จะเป็นผู้มาให้คำแนะนำค่ะ
ใช้ชีวิตแบบไหนถึงเสี่ยงเป็น โรคไต
          ก่อน อื่นต้องบอกก่อนว่า ด้วยตัวของไตเองแล้ว จะเกิดโรคได้น้อย โรคที่สามารถเกิดได้ เช่น โรคนิ่ว โรคภูมิแพ้ตนเอง (โรค SLE หรือโรคพุ่มพวง แล้วแต่จะเรียก) แต่สาเหตุหลักที่ทำให้คนเราเป็น โรคไต มาจากปัจจัยภายนอก ซึ่งสาเหตุอันดับหนึ่งและสองของชาติไหน ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยจะเหมือนกันนั่นคือ
          อันดับ 1 การเป็นโรคเบาหวาน
          อันดับ 2 การเป็นโรคความดันโลหิตสูง
          ส่วน ที่ใคร ๆ กลัวกันว่ากรรมพันธุ์จะทำให้เป็น โรคไต นั้น ต้องบอกว่ากรรมพันธุ์ไม่ใช่สาเหตุหลัก และตัวเลขผู้ป่วย โรคไต จากกรรมพันธุ์ก็น้อยมาก แต่ถ้าคนในครอบครัวเป็น โรคไต โอกาสที่เครือญาติพี่น้องจะเป็นด้วยก็มีสูงถึง 90% ฉะนั้นถ้ามีคนเป็นก็ต้องเช็คสุขภาพกันยกครอบครัว
          แล้วถ้าเทียบระหว่างกรรมพันธุ์กับการกินการอยู่ เรื่องหลังจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคไต มากกว่า ส่วนอาหารก็มีผลต่อเรื่องไตอันดับแรกเลย คือ อาหารเค็ม ถามว่าทานเค็มมาก ๆ จะเป็น โรคไต โดยตรงไหม คงไม่ใช่ แต่มันจะส่งผลอ้อม ๆ คือ การทานเค็มมาก ๆ จะทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง และส่งผลให้เป็น โรคไต ฉะนั้นจึงควรลดหรือเลี่ยงการทานเค็ม
          ต่อมาคือ อาหารกลุ่มโปรตีน เพราะหลาย ๆ งานวิจัยพบว่าสุดท้ายแล้ว เนื้อสัตว์จะเป็นของเสียในร่างกาย ไต จึงต้องทำงานหนักมากขึ้น โดยหลักการ หมอจึงมักให้คนไข้ โรคไต คุมอาหารกลุ่มโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ ซึ่งจะให้จำกัดปริมาณคงลำบาก แต่จะให้ง่ายขึ้น คือ ให้เปลี่ยนชนิดมาเป็นทานปลาหรือไข่ขาวซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูงแทน อย่างถ้าเราเอาเนื้อวัวมา 1 กก. เอาเนื้อปลากะพงสัก 1 กก. ของดีที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายก็คงจะพอ ๆ กัน แต่ของเสียที่จะเหลือกตกค้างไว้ของเนื้อจะเยอะว่า ซึ่งของเสียเหล่านั้นแหละที่จะเป็นพิษต่อไต
          ฉะนั้นการทานที่แนะนำ คือ พยายามทานของที่มีของเสียตกค้างไปถึงไตให้น้อยที่สุด เพราะอย่างที่บอกไปว่า โดยตัวไตเองแล้วมักจะไม่ค่อยเป็นอะไร แต่ปัญหาที่ทำให้เกิด โรคไต คือ เรามักจะเอาสิ่งไม่ดีไปใส่ไปเติมให้เขา
เช็คอาการส่อเค้า โรคไต
          ถ้าถามถึงอาการที่เราพอจะสังเกตได้มีอยู่ประมาณ 5-6 อย่าง
          1.ปัสสาวะขัด หรือปัสสาวะลำบาก ซึ่งอาจเกิดเพราะการติดเชื้อ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรืออาจจะมีการอุดกั้นที่ทางเดินปัสสาวะ เช่น เป็นนิ่ว ผู้ชายสูงอายุก็อาจเป็นต่อมลูกหมากโต
          2.ปัสสาวะมีสีเข้ม สีคล้ายน้ำล้างเนื้อ สีออกซ้ำเลือด ซึ่งอาจเป็น โรคไต อักเสบบางชนิด หรือบางทีอาจเป็นโรคนิ่ว
          3.ปัสสาวะบ่อย โดยสังเกตได้ง่ายที่สุดคือช่วงเวลากลางคืน ปกติแล้วเวลานอนไม่ควรลุกมาปัสสาวะเกิน 1 ครั้ง แต่ถ้าคืนหนึ่งลุกมาเกิน 3-4 รอบ อันนี้เริ่มสงสัยได้ว่าอาจจะเป็น โรคไต เพราะไตเรามีหน้าที่รักษาสมดุลน้ำ ถ้าไตเริ่มมีการผิดปกติ มันก็จะเริ่มเสียสมดุล หรือแทนที่จะปัสสาวะมากอยู่ ๆ กลับเกิดปัสสาวะน้อย นั่นคือไตแย่แล้ว ขับปัสสาวะไม่ได้แล้ว
          4.มีอาการบวม เพราะพอปัสสาวะน้อยก็อาจเกิดอาการบวมที่ใบหน้า แขน ขาได้
          5.ปวดหลัง บางคนมาด้วยอาการปวดหลัง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกถึงการเป็นโรคนิ่ว โดยจะปวดตรงบริเวณสีข้าง หลัง บางคนร้าวมาจนถึงข้างหน้า หรือลงลูกอัณฑะ เพราะนิ่วจะไปกดตรงท่อไต ทำให้แทนที่ปัสสาวะจะไหล่ลงก็ลงไม่ได้ ก็จะปวดมาก ปวดรุนแรง
          6.ความดันโลหิตสูงมาก ๆ ก่อนหน้านี้อาจไม่มีอาการอะไรมาก่อน แต่พอไปตรวจสุขภาพเจอความดันโลหิตสูงมาก ๆ ก็มีเกณฑ์เสี่ยงที่จะเป็นโรคไตได้
          แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ในระยะแรกของการเป็นโรคไตจะไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมาเลย การที่จะแสดงอาการเหล่านี้แสดงว่าเป็น โรคไต รุนแรงแล้ว ฉะนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี ก็จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะให้เรารู้ตัวได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
คนกลัวมักไม่เป็น คนเป็นมักไม่กลัว
          จาก ประสบการณ์ส่วนตัวของหมอ กรณีที่เดินเข้ามาแล้ว บอกว่า หมอผมปวดหลัง ผมปัสสาวะบ่อย หรือคนที่กลัวจะเป็นโรคไต แปลกว่าคนพวกนี้มักจะไม่เป็น ถามว่าเพราะอะไร หมอว่าคงเป็นเพราะเขาเป็นกลุ่มที่ดูแลสุขภาพ มีการสังเกตอาการตั้งแต่ระยะเริ่มต้น พอเจอก็รีบมาตรวจปรากฏว่าไม่เป็น ตรงกันข้ามกับคนที่บอกว่า คงไม่เป็นมั้ง หมอไม่ต้องตรวจหรอก คือเขาอาจจะเข้ามาด้วยอาการปวดหัว เวียนศีรษะ หมอพบว่าความดันโลหิตสูงมากจึงขอเจาะเลือด ขอตรวจการทำงานของไต กลับไม่อยากให้ตรวจ น่าแปลกว่ากลุ่มนี้ตรวจทีไรส่วนใหญ่ก็จะเจอซะทุกที
          ก็คือถ้าคุณดูแลสุขภาพตัวเองดี ๆ มีการสังเกตตัวเองอยู่สม่ำเสมอส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเป็นอะไร อันนี้รวมไปถึงโรคอื่นๆ ด้วยนะครับ หรือหากเป็นก็มักจะพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ฉะนั้นคุณควรเฝ้าสังเกตตัวเอง และตรวจสุขภาพบ้างสักปีละ 1 ครั้ง อย่างน้อยๆ เราก็ได้เจาะเลือด ได้วัดความดัน ได้ตรวจปัสสาวะ ถ้ามันปกติไม่เป็นอะไรก็ค่อยมาดูเป็นระยะ ๆ
โรคไต สามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม
          ขึ้นอยู่กับว่าเป็น โรคไต แบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่เราจะเจอคำหนึ่งคือ โรคไตเรื้อรัง ซึ่งหมายถึงเป็น โรคไตอะไรก็ได้ ที่หมอตรวจพบแล้วระยะเวลาของโรคนานเกิน 3 เดือน เป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่อย่างน้อย ๆ ถ้าเราวินิจฉัยจะได้เป็นแนวทางให้คนไข้ได้มีแนวทางในการปฏิบัติตัว และมีการรักษาตั้งแต่ระยะแรก แต่ถามว่า โรคไต ที่สามารถรักษาให้หายขาดมีไหม มีครับ เราต้องดูเป็นบางชนิด เช่น เป็นนิ่ว อาจจะสลายนิ่วนั้นแล้วหายไป แต่ถ้าเรายังไม่ดูแลสุขภาพ ยังดื่มน้ำบาดาลก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้
รักษา โรคไต หายแล้ว ไม่อยากเป็นแล้ว ทำยังไงดี
          อันดับแรกต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เป็นโรค สมมติถ้าเป็นจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อันนี้เป็นโรคที่เรื้อรัง แต่บางกรณีสามารถรักษาหายได้ เช่น เป็นนิ่ว ถ้าเป็นแล้วรักษาถูกต้อง ดูแลตัวเองดี ก็อาจจะไม่เป็นซ้ำ อาจจะต้องดูแลเรื่องอาหารการกิน ถ้าเป็นโรคที่เกี่ยวกับการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต ได้รับการรักษาต่อมลูกหมากแล้ว แบบนี้นี้จะไม่เป็นอีก แต่ถ้าจะถามเรื่องการปฏิบัติตัวคงหนีไม่พ้นเรื่องอาหารการกิน ดูแลเรื่องการทานเค็ม การทานโปรตีน ซึ่งควรลดหรือเลี่ยงซะ
โรคไต กับภาวะการมีบุตรยาก
          หลายคนเชื่อว่าเมื่อเป็น โรคไต แล้วจะทำให้มีบุตรยาก อันนี้น่าจะมีส่วนอยู่บ้าง เช่น กรณีที่ไตเริ่มเสื่อม มีของเสียในเลือด อาจจะทำให้ตัวสเปิร์มไม่แข็งแรง หรือถ้าเป็นผู้หญิงรอบของการตกไข่อาจจะผิดปกติ เลยอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีบุตรยากได้เหมือนกัน ซึ่งในเครสผู้ที่มีบุตรยากก่อนที่เขาจะไปตรวจอะไรลึกๆ นั้นพื้นฐานแล้วเขาต้องตรวจสุขภาพเบื้องต้นก่อนเหมือนกัน ว่าเป็นเบาหวาน ความดัน โรคไต หรือเปล่า แล้วค่อยไปตรวจละเอียดดูอีกทีว่าผู้ชายมีจำนวนเชื้อเป็นยังไง ผู้หญิงท่อนำไข่ตีบตันไหม
วิธีง่าย ๆ ดูแลไตให้สุขภาพดี
          อันดับแรกอยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะไม่เฉพาะ โรคไต อย่างเดียว มีอีกหลาย ๆ โรคที่ถ้าเป็นระยะเริ่มต้นจะไม่แสดงอาการ แต่จะสามารถตรวจเจอได้ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี ง่าย ๆ อย่างแค่การวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ เจาะเลือด ซึ่งถ้าเอาแค่นี้ค่าใช้จ่ายจริง ๆ แล้วไม่แพงเลย แต่เมื่อไรก็ตามที่เกิดโรคแล้ว เกิดภาวะไตเสื่อมแล้ว การรักษาคือการดูแลโรคที่เป็นสาเหตุ แล้วก็ดูแลเรื่องอาหารการกิน โดยเฉพาะอาหารเค็ม โปรตีน แต่สุดท้ายถ้าถึงขั้นไตวายแล้ว ต้องฟอกเลือดล้างไตแล้ว ซึ่งเป็นโรคที่ไม่หาย ดีที่สุดก็คงเป็นเรื่องของการตรวจให้เจอตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
          คุณเองก็อย่าลืมหมั่นเฝ้าสังเกตตัวเอง ลดพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดโรคไต และไปตรวจสุขภาพประจำมีบ้าง โรคไต จะได้มาตามหานะคะ
ที่มา  https://health.kapook.com

อัพเดทล่าสุด