โรคหัวใจ|เส้นเลือดหัวใจตีบ|โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


1,908 ผู้ชม


โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ

หัวใจของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อและมีเส้นเลือดชื่อ Coronary artery นำเอาเลือดและออกซิเจนมาสู่หัวใจ หากมีลิ่มเลือดมาอุดเส้นเลือดจะทำให้หัวใจขาดเลือด และออกซิเจนซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือที่เรียกว่า Coronary artery disease เป็นโรคหัวใจที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งทั่วโลกและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตใน อันดับต้นของประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย

อุบัติการณ์

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีเส้นใหญ่ 2 เส้นคือ

  1. Rigrt coronary artery
  2. Left main coronary artery ซึ่งจะแตกออกเป็นสองแขนงได้แก่
  • Left anterior ascending
  • circumflex artery

กลไกการเกิดโรค

ชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


อาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นอย่างไร

เมื่อนึกถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลายท่านจะนึกถึงคนรู้จักที่ยังเห็นหน้ากันดีๆอยู่ ได้ข่าวอีกทีก็อยู่ ICU หรือจากไปโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการอะไร ซึ่งเป็นลักษณะของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยซึ่งเริ่มมีเส้นเลือดตีบอาจจะไม่มีอาการอะไรแสดงออกมา จนกระทั่งเส้นเลือดตีบมากขึ้น หัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่พอจึงเกิดอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกายหรือทำอะไรรีบๆ กลุ่มอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้แก่

  • ไม่มีอาการ เนื่องจากเส้นเลือดยังตีบไม่มากพอที่จะเกิดอาการ
  • อาการแน่นหน้าอกเรียก Angina อาการเจ็บหน้าอกจะเจ็บขณะที่ออกกำลังกายหรือทำงานหนักๆจนต้องหยุดกิจกรรม เมื่อพักก็จะหายปวด เมื่อเริ่มกิจกรรมใหม่ด้วยระยะทางเท่าเดิมก็จะเจ็บหน้าอกเหมือนเดิม เมื่ออาการเป็นมากขึ้นอาการเจ็บหน้าอกจะมากขึ้น ระยะทางที่เริ่มเจ็บหน้าอกจะน้อยลง เจ็บนานขึ้น เจ็บหนักขึ้น อมยาไม่ค่อยหายปวด บางครั้งเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • หายใจหอบ ผู้ป่วยบางคนไม่มีอาการเจ็บหน้าอก แต่จะมีอาการหอบหืดจากโรคหัวใจวาย
  • ผู้ป่วยมาด้วยอาการ Heart attack คือมีการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอย่างเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกแบบเฉียบพลัน เหงื่อออก เป็นลม เป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบไปโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ภาพแสดงผนังหลอดเลือดที่มีคราบไขมันเกาะทำให้รู้หลอดเลือดแคบลง

การที่คนเกิดปัจจัยเสี่ยงหลายๆอย่างจะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดตีบเร็วขึ้น

การควบคุมปัจจัยเสี่ยงควรจะเริ่มทำเมื่อไร

คนทั่วไปจะเคยชินกับวิถีชีวิตไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิด ขึ้นในอนาคต ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย ผู้ที่สูบบุหรี่ก็พยายามหาคำตอบเพื่อให้เขาเหล่านั้นไม่ต้องปรับพฤติกรรม แต่หากเวลาผ่านไปคราบเกิดมีขนาดใหญ่ขึ้นจะเกิดอาการก็จะทำให้การรักษาลำบาก ยิ่งขึ้น

มีการศึกษาเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหต พบว่าเริ่มมีคราบไขมันเกาะตามผนังหลดเลือดตั้งแต่เด็ก แสดงว่ากระบวนการของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก และจากสิติพบว่าแต่ละประเทศมีเด็กอ้วนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆกับการที่เด็กมีเวลาออกกำลังกายลดลงและรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ

ดังนั้นเราควรจะรณรงค์เรื่องอาหาร การออกกำลังในเด้ก และโรค้วนในเด็กเพื่อที่อนาคตโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะได้ลดลง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ

ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะพบมากในผู้ที่ออกกำลัง กายอย่างหนักมากกว่าที่เคยออก พบว่าจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น6 เท่าสำหรับผู้ที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มขึ้น 30 เท่าในผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • ความเครียดทางอารมณื
  • โรคติดเชื้อ เช่นปอดบวม
  • ช่วงเช้าประมาณ 9 เชื่อว่าช่วงนี้เกร็ดเลือดจะเกาะกันง่าย

การป้องกัน

หากท่านเป็นโรคหัวใจจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลงดังนั้นท่านควรจะป้องกันมิให้เป็นโรคหัวใจ วิธีการง่ายดังนี้

การรักษา

  • การรักษาเพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบ อ่านที่นี่
  • การรักษาโดยยา
    • ยาลดไขมันยาที่ใช้ได้แก่ Statin,fibrate,niacine เป็นยาที่ลดระดับไขมันเลือด
    • Aspirin เป็นยาที่ป้องกันเกร็ดเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดเพื่อป้องกันหลอดเลือดแข็ง
    • ยากลุ่ม Beta block ยาในกลุ่มนี้จะลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจจะลดอัตราการเสียชีวิต
    • Nitroglycerine ยานี้จะขยายหลอดเลือดหัวใจช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก
    • ยาต้านแคลเซียม Calcium channel blocking agent ยานี้จะขยายหลอดเลือดหัวใจ
    • กลุ่มยา ต่างๆที่ช่วยรักษา เช่น ยาต้านอนุมูลอิสระ โฟลิกเป็นต้น
  • การผ่าตัดเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงได้แก่
    • การทำบอลลลูนหลอดเลือด เมื่อเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ หากเป็นมากหรือรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะฉีดสีเพื่อตรวจว่าหลอดเลือดตีบมากน้อยแค่ไหน หากตีบมากหรือตีบเส้นใหญ่แพทย์จะทำบอลลูน โดยการใช้มีดกรีดเป็นแผลเล็กๆ แล้วสอดสายเข้าหลอดเลือดแดง และแยงสายเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เมื่อถึงตำแหน่งที่ตีบก็บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
    • การผ่าตัด bypass โดยการใช้เส้นเลือดดำที่เท้าแทนเส้นเลือดหัวใจที่ตีบ
    • Anthrectomy คือการผ่าตัดเอาคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือดออก


ที่มา  www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด