เรื่องโรคหัวใจ - โรคหัวใจรั่ว ภัยเงียบของคนไทย !!


1,093 ผู้ชม


 "โรคลิ้นหัวใจรั่ว"

โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valvular Heart Disease) อีกมหันตภัยเงียบสำหรับคนไทย

โรคลิ้นหัวใจรั่วเป็นอีกโรคหนึ่งที่ถือเป็นภัยเงียบ สำหรับคนไทย ที่บอกเป็นภัยเงียบก็เพราะโรคนี้เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่อาการก็ไม่รุ่นแรง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ตั้งแต่เนิน โรคลิ้นหัวใจรั่วเมื่อเกิดกับใครแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือรบกวนชีวิตประจำวันของคนๆนั้น เพราะเวลาจะทำอะไรก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น โรคลิ้นหัวใจรั่วจะแสดงอาการรุ่นแรงเมื่ออายุประมาณ 40 – 50 ปีขึ้นไป จนทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยและอ่อนเพลียมากขึ้นเกือบๆจะทุกการเคลื่อนไหว ซึ่งบางรายก็อาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจรั่วมักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่ กำเนิดงผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่พบบ่อยในคนไทยคือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย    โดยโรค ลิ้นหัวใจรั่ว ที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด มักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีผลให้การออกกำลังกายได้น้อย ทำงานได้น้อยลง หรือแม้กระทั่งบางคนเพียงเดินขึ้นเดินขึ้นบันได 1-2 ชั้น ก็เหนื่อย นอนราบไม่ได้หายใจไม่ออก เป็นต้น อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหว บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว   การตรวจหาลิ้นหัวใจรั่ว การตรวโรคลิ้นหัวใจรั่วที่ให้ผลแม่นยำและเป็นมาตรฐาน จะตรวจโดยการใช้คลื่นเสียงสะท้อนหรือเครื่องอัลตราซาวนด์ เรียกการตรวจชนิดนี้ว่า เอคโค่ (echocardiogram) ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือ [...]

ลิ้นหัวใจรั่วอย่ามัวเฉยชา ต้องรีบพบแพทย์

โรค หัวใจอื่นเราเฝ้าระวังดูแลสุขภาพก็ลดเสี่ยงได้ ต่างจากโรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่สาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด เรียนกันมาตั้งแต่ประถม รู้กันดีว่าหัวใจมีสี่ห้อง แต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจคล้ายกลีบดอกทิวลิปคอยหุบคอยบานทำหน้าที่เหมือนวาล์ว น้ำอัตโนมัติเปิดปิดให้เลือดไหลผ่านจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่งส่งไปให้ปอด ฟอกออกซิเจนกลับมาไหลเวียนสู่ระบบโลหิตอีกครั้ง ลิ้นหัวใจบางคนโชคร้าย ใช้งานไปนานวันเกิดอาการลักปิดลักเปิดทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ รบกวนชีวิตประจำวันทำอะไรนิดหน่อยก็เหนื่อย อาบน้ำยังเหนื่อยเลย ทางที่ดีควรไปให้แพทย์ตรวจอย่างละเอียด เล่าอาการให้หมดเปลือก พบเร็วรักษาเร็วไม่ต้องเสียเงินทองมากมาย  โรคหัวใจอื่นเราเฝ้าระวังดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย ไม่บริโภคอาหารเสี่ยงได้ ต่างจากโรคลิ้นหัวใจรั่วที่มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้น หัวใจมาแต่กำเนิด ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจรั่วที่พบบ่อยในคนไทยคือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย  “โรคลิ้นหัวใจรั่วที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด มักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีผลให้การออกกำลังกายได้น้อย หรือบางคนเดินขึ้นบันได 1-2 ชั้น ก็เหนื่อย นอนราบไม่ได้หายใจไม่ออก เป็นต้น” นพ.วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  อธิบาย  การดำเนินอาการของโรคลิ้นหัวใจรั่วไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหว บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว  ปัจจัยที่ทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวที่อายุประมาณ 40-50 คือ การติดเชื้อที่ผิวของเนื้อเยื่อจากกระแสโลหิตนั่นเอง เช่น จากการทำฟัน ในขณะที่ช่องปากมีแผลอักเสบอยู่ ซึ่งภูมิต้านทานร่างกายที่ต่ำจะทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่แผลและกระแส เลือด [...]

ที่มา 

อัพเดทล่าสุด