สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ พืชสมุนไพรรักษาโรค สมุนไพรไทยแท้ๆ


2,628 ผู้ชม


3.1.1 สมุนไพรบำบัด (สมุนไพรชนิดต่างๆ)
สมุนไพร : บำบัดโรค
     ถ้าจะกล่าวว่า พืชสมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยก็คงไม่แปลก เพราะทั้งอาหารที่บริโภคก็มีส่วนประกอบของพืชสมุนไพร ซึ่งทั้งอร่อยและบำบัดโรค รวมถึงน้ำดื่มดับกระหายคลายร้อนหรือชาสมุนไพรที่เคยดื่มเคยจิบกันมาตั้งแต่ เล็กแต่น้อยมีทั้งเก็กฮวย ตะไคร้ กระเจี๊ยบ ใช้ดื่มดับกระหาย โดยไม่รู้ว่านอกจากรสชาติที่อร่อยชื่นใจแล้ว ยังกำนัลด้วยประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ด้วยวันและเวลาผ่านไป ใครหลายคนคงลืมน้ำสมุนไพรเหล่านี้ไปแล้วลองย้อนวันเวลากลับไปทบทวนความ รู้สึกเมื่อครั้งวัยเยาว์ที่ได้ดื่มน้ำสมุนไพรหรือน้ำชาเหล่านี้ ว่าทำให้เรามีแรงกระโดดโลดเต้นได้มากมายเพียงใด

 

  ความหมายของสมุนไพร
สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ "พืชสมุนไพร" นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณ ค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น

สมุนไพรออกได้เป็น ๓ กลุ่ม เพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
        สมุนไพรกลุ่มที่ ๑ เรียกว่า สมุนไพรที่เป็นอาหาร ถ้าเป็นสมุนไพรที่เป็นอาหาร อย่างนี้นักธรรมชาติบำบัดสอนให้คนนำมากินอาหารได้ กินสมุนไพรแล้วต้านโรคอย่างนี้ เราสอนกันได้
        สมุนไพรกลุ่มที่ ๒ เรียกว่า สมุนไพรที่เป็นยา หมายความว่าเป็นสมุนไพรที่โดยปกติคนไม่เอามารับประทานเป็นอาหาร แต่ใช้เพื่อเป็นยาโดยเฉพาะ เช่น ฟ้าทะลายโจร เวลาพูดเรื่องฟ้าทะลายโจร ต้องบอกว่านี่มันเป็นงานของเภสัชกร และของแพทย์ เราไม่ควรไปรู้จักมันเลยจะดีกว่า นอกจากว่าเวลาเจ็บป่วย แล้วให้ท่านเหล่านั้นเป็นผู้แนะนำเรา
        พวกสมุนไพรที่เป็นสารอาหาร กินผิดกินถูกไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ากินถูกก็ได้กำไร สมุนไพรกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นยา ยังไม่ใช่เป็นยาอันตราย นักธรรมชาติบำบัดจะไม่ไปยุ่งกับเรื่องนั้น ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้มีความรู้เฉพาะทางคือแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น

        สมุนไพรกลุ่มที่ ๓ เรียกว่าสมุนไพรที่เป็นยาพิษ ที่จริงพวกนี้ก็เป็นสมุนไพร ถ้าว่ากินตามหลักของหมอชีวกโกมารภัจ ท่านอาจารย์หมอในสมัยพุทธกาล พวกสารหนู กำมะถัน มันเป็นสมุนไพรที่เป็นยาพิษ แต่ว่าแพทย์หรือเภสัชกรสามารถเอาไปทำยาได้ สารหนูก็เหมือนกัน ที่จริงสารหนูมันคือยาพิษกินเข้าไปตายแน่นอน แต่มันไปเข้าตำรับยาลม ยาแก้ลมที่เรากินกันต้องมีสารหนูมันถึงจะทรงสรรพคุณ แต่เมื่อเข้าอยู่ในตำรับยาแล้ว มันไม่เป็นพิษ แต่ต้องปรุงโดยเภสัชกรหรือแพทย์
  ลักษณะของพืชสมุนไพร
 "พืชสมุนไพร" โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ
1. ราก
2. ลำต้น
3. ใบ
4. ดอก
5. ผล

          "พืชสมุนไพร" เหล่านี้มีลักษณะลำต้น ยอด ใบ ดอก ที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่ส่วนต่างๆ ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน เช่นรากก็ทำหน้าที่ดูดอาหาร มาเลี้ยงลำต้นกิ่งก้านต่างๆและใบกับส่วนต่างๆนั่นเองใบก็ทำหน้าที่ปรุงอาหาร ดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดอก ผล เมล็ด ก็ทำหน้าที่สืบพันธุ์กันต่อไป เพื่อทำให้พืชพันธุ์นี้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด

ที่มา https://pineapple-eyes.snru.ac.th

อัพเดทล่าสุด