11 ท่ารํากระบองแบบชีวจิต พิชิตโรค !


2,873 ผู้ชม


ท่ารำตะบองต่อไปนี้ เป็นท่ารำตะบองของชีวจิต ซึ่งอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ประยุกต์มาจากศาสตร์ของการออกกำลังกายหลายแขนง อาทิ โดอิน ไทเก็ก ไอโซเมตริกซ์ โยคะ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของการออกกำลังที่สามารถไปถึงระดับสูงสุด(Peak) ซึ่งเป็นระดับที่โกร๊ธฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในเวลารวดเร็ว ที่สำคัญ หากคุณออกกำลังกายด้วยท่ารำตะบองนี้ ร่างกายของคุณจะได้ทำสองอย่างไปพร้อม ๆ กัน คือออกกำลังกายและบริหารร่างกาย นั่นคือ ได้ใช้ทั้งกำลังเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ขณะเดียวกันก็ได้บริหารเพื่อการยืดหยุ่นและผ่อนคลายของกระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อด้วย

==========
ท่าที่ 1 ☀  จูบสะดือ
==========

         

ยืน แยกขาห่างกันเท่าช่วงไหล่ นำตะบองขึ้นพาดบ่าทั้งสองข้าง ยกท่อนแขนส่วนปลายขึ้นตั้งฉากกับตะบอง โยกตัวพับเอวลงด้านหน้า ขึ้นลง 3 ครั้ง ค้างอยู่ในท่าก้มลงต่ำสุด กลิ้งตะบองขึ้นลงบริเวณต้นคอ และบ่า แนวตรงนับ 1-4 ด้านซ้ายนับ 5-7 ด้านขวานับ 8-10 แล้วกลับมายืนในท่าเดิม ทำซ้ำ 5 รอบ
ประโยชน์  ได้ นวดกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง ส่วนคอ และกล้ามเนื้อยกกระดูกสะบัก ซึ่งอยู่บริเวณบ่าทั้งสองข้าง การโยกตัวลงด้านหน้าทำให้เกิดการยืดกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อต้นขาด้าน หลัง ทำให้สามารถก้มตัวได้มากขึ้น

==========
ท่าที่ 2 ☀  ไหว้พระอาทิตย์
==========

              
   
                     

ยืน แยกขาเล็กน้อย ยกตะบองขึ้นมาระดับไหล่ แขนเหยียดตรง ก้มตัวโดยพับส่วนเอวลงมาจนตะบองแตะพื้น โยกขึ้นลง 5 ครั้ง ค่อย ๆ วาดตะบองขึ้นจากพื้นช้า ๆ เสมือนการเคลื่อนของเข็มนาฬิกา จากตำแหน่ง 6 นาฬิกา ไปจนถึง 3 นาฬิกา หรือเท่าที่จะเอนลงไปได้ ทิ้งตัวค้างไว้นับ 1-10 แล้ววาดตะบองขึ้นช้า ๆ กลับมายืนในท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ประโยชน์  ยืด กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูกสันหลังทั้งในท่าก้มและท่าแอ่นหลังเต็ม ที่ การบริหารท่านี้เป็นประจำทำให้กระดูกสันหลังมีความคล่องตัวและป้องกันแค ลเซี่ยมพอกที่ข้อต่อกระดูกสันหลัง
ข้อควรระวัง ในผู้สูงอายุ การแอ่นตัวไปด้านหลังมากเกินไปอาจทำให้การทรงตัวเสียสมดุลล้มไปข้างหลัง หรือเกิดอาการหน้ามืดได้(Teddy ไม่หน้ามืด ไม่ใช่เพราะแข็งแรงอะไรหรอก แต่เพราะหลังแข็งโก๊กแอ่นได้ฮี๊ดเดียวนิ อิ ๆ)

==========
ท่าที่ 3 ☀  ถ้ำผาปล่อง
==========

    

ยืน แยกขาห่างกันเท่าช่วงไหล่ หงายมือจับตะบองไว้ด้านหลัง พับเอวลงด้านหน้าให้ลำตัวขนานกับพื้น เงยหน้าขึ้นมองตรงไปข้างหน้า ยกตะบองขึ้นด้านหลังให้มากที่สุด โดยให้แขนตึงแล้วลดตะบองลงต่ำสุด เหวี่ยงตะบองขึ้นสุดแขน ทำซ้ำ 10 ครั้ง กลับมายืนในท่าเริ่มต้น ทำ 5 รอบ
ประโยชน์  สร้าง ความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการยกไหล่ขึ้นด้านหลัง และกล้ามเนื้อท้องแขน(เหยียดข้อศอก) ช่วยให้กล้ามเนื้อท้องแขนกระชับ รวมทั้งได้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหัวไหล่ กล้ามเนื้อหลัง และต้นขาด้านหลัง

==========
ท่าที่ 4 ☀  180 องศา
==========

              
   
                     

ยืน แยกขาเพียงเล็กน้อย(เท้าห่างกันประมาณ 1 คืบ) พาดตะบองไว้บนบ่าทั้งสองข้าง กางแขนเป็นรูปตัว T หมุนปลายตะบองด้านซ้ายไปทางขวา บิดลำตัวไปให้มากที่สุด ค้างไว้ 3 วินาที(บิดเฉพาะส่วนเอว โดยขา และสะโพกตรึงอยู่กับที่) ทำซ้ำสลับข้างเหมือนเดิม 15 ครั้ง จากนั้นหมุนสลับต่อเนื่องนับต่อจนครบ 50 ครั้ง
ประโยชน์
  ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและข้อต่อกระดูกสันหลัง ช่วยให้บิดตัวได้มากขึ้น

==========
ท่าที่ 5 ☀  แหงนดูดาว
==========

              
   
                     

ยืน แยกขาเล็กน้อย ตะบองพาดบ่า กางแขนเป็นรูปตัว T กดปลายตะบองด้านซ้ายลงให้แนบต้นขา โดยให้ลำตัวตรง ตามองปลายตะบองด้านบน(ดูดาว) ค้างไว้ 3 วินาที ทำซ้ำสลับข้างเหมือนเดิม 15 ครั้ง จากนั้นทำสลับต่อเนื่อง นับต่อจนครบ 50 ครั้ง
ประโยชน์  ยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัวและเพิ่ม การเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนบนในแนวซ้าย–ขวา

==========
ท่าที่ 6 ☀  สีลม
==========

              
   
                     

ยืน แยกขาให้ปลายเท้าห่างมากกว่าช่วงไหล่พอประมาณ ตะบองพาดบ่า กางแขนเป็นรูปตัว T โยกตัว พับเอวลงด้านหน้าขึ้นลง 5 ครั้ง ค้างอยู่ในท่าลำตัวขนานกับพื้น ตามองที่จุดคงที่บนพื้นดิน หมุนตะบองให้ปลายตะบองด้านซ้ายไขว้ไปแตะหัวแม่เท้าขวา โดยให้ศีรษะและลำตัวอยู่กับที่เสมือนแกนของกังหัน ค้างไว้ 3 วินาที ทำซ้ำสลับข้าง 15 ครั้ง จากนั้นทำสลับต่อเนื่อง นับต่อจนครบ 50 ครั้ง
ประโยชน์  เพิ่มการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ส่วนบนในการหมุนซ้าย–ขวา และได้ยืดกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหลังในแนวเฉียง

==========
ท่าที่ 7 ☀  360 องศา
==========

              
   
                     

ยืน เท้าห่างกันเท่าช่วงไหล่ ยกตะบองขึ้นมาระดับไหล่ แขนเหยียดตรง โน้มตัวลงด้านหน้าโดยพับส่วนเอวลงมาจนตะบองแตะพื้น(แขนตึง–ขาตึงตลอด แต่ไม่เกร็งกล้ามเนื้อ) โยกตัว 5 ครั้ง วาดตะบองเรี่ยพื้นไปด้านซ้าย บิดเอว หมุนตะบองไปอยู่ด้านหลัง แล้วค่อย ๆ ยกตะบองขึ้นด้านข้าง เคลื่อนมาตรงกลาง แอ่นลำตัวไปด้านหลังให้มากที่สุด บิดมาด้านขวา พร้อมกับวาดตะบองเรี่ยพื้นกลับมาด้านหน้า โยก 5 ครั้ง แล้วหมุนย้อนกลับไปด้านซ้ายเหมือนเดิม กลับมาอยู่ในท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 5 รอบ
ประโยชน์  ยืด เหยียดกล้ามเนื้อหลายมัด คือกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหลังในแนวตรงและเฉียง กล้ามเนื้อเหยียด ข้อสะโพก กล้ามเนื้อหลังในแนวตรงและแนวเฉียง กล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้อที่ใช้งอข้อสะโพก รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทั้งก้ม แอ่น และบิดตัว

==========
ท่าที่ 8 ☀  เตะตรง-เท้าเหยียด
==========

              

ยก ตะบองขึ้นสูงระดับไหล่หรือสูงกว่านั้น ก้าวเท้าซ้ายไปด้านหลัง ย่อเข่าขวา ขย่มเพื่อให้ได้แรงเหวี่ยง เตะเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้าให้สูงที่สุด โดยให้ปลายเท้าเหยียด ลดเท้าซ้ายลงสปริงตัวสลับขา เตะเท้าขวาเหมือนเดิม ทำซ้ำ 50 ครั้ง

==========
ท่าที่ 9 ☀  เตะตรง-เท้าตั้งฉาก
==========

         

เตะเหมือนท่าที่ 8 แต่ให้ปลายเท้าตั้งฉากขึ้นมาขณะเตะ

==========
ท่าที่ 10 ☀  เตะวนจากนอกเ้ข้าใน-เท้าเหยียด

==========

         

เตะวนเป็นวงกว้าง และขึ้นสูงสุดจากนอกเข้าใน ปลายเท้าเหยียด

==========
ท่าที่ 11 ☀  เตะวนจากในออกนอก-เท้าตั้งฉาก

==========

         

เตะวนเป็นวงกว้างจากในออกนอก ให้ปลายเท้าตั้งฉาก
ประโยชน์  ของท่าที่ 8–11

เพิ่ม พลังแอโรบิก(หัวใจ หลอดเลือด และปอด) เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอข้อสะโพก กล้ามเนื้อ หน้าท้องส่วนล่าง กล้ามเนื้อน่อง รวมทั้งการยืดเหยียด กล้ามเนื้อสะโพกด้านหลัง เพิ่มความแข็งแรงในการ กระดกข้อเท้า และการหุบ-กาง ของข้อสะโพก

==========
ท่าที่ 12 ☀  ท่าแถม

==========

         

ใช้ แขนคล้องตะบองพาดไว้ด้านหลังที่ระดับเอว มือประสานกันไว้ด้านหน้า เขย่ง–ย่อ–สปริงตัวขึ้นลงช้า ๆ 3 ครั้ง จากนั้นลดส้นเท้าลงบนพื้น(ขณะที่ เขย่ง–ย่อ–สปริงตัว ให้ยืนอยู่บนปลายเท้า) เตรียมพร้อมที่จะ เขย่ง–ย่อ–สปริงตัวต่อไป ทำซ้ำ 50 ครั้ง
ประโยชน์  สร้าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดเข่า กล้ามเนื้อหน้าขา และกล้ามเนื้อน่อง ซึ่งมีความสำคัญมากในการทรงตัวของผู้สูงอายุ ช่วยลดโอกาสของการหกล้ม กระดูกสะโพกหัก หรือกระดูกสันหลังยุบ

ข้อควรระวัง ใน ผู้ที่มีปัญหาปวดข้อเข่าหรือลูกสะบ้า ให้ย่อลงเพียงเล็กน้อย โดยข้อเข่างอไม่เกิน 45 องศา สำหรับผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ให้ยืนเต็มฝ่าเท้า

ที่มา  https://share.psu.ac.th

อัพเดทล่าสุด