มารู้จัก สสส ว่า สสส.คือ หน่วยงานด้านไหน?


960 ผู้ชม


รู้จัก สสส.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐ วิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 อยู่ภายใต้การ กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี มีรายได้จากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ทำหน้าที่ จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับกลุ่มบุคคล องค์กร และชุมชนทั่วไป (ภาคี สร้างเสริมสุขภาพ) โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีสุขภาพดีครบสี่ด้าน กาย จิต ปัญญา สังคม เพื่อร่วมสร้าง ประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยไม่จำกัดกรอบวิธีการ และยินดีเปิดรับแนวทาง ปฏิบัติการใหม่ๆ ที่เป็นความคิด สร้างสรรค์สามารถนำไปสู่การขยายค่านิยมและการสร้างพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ แก่ประชาชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง ซึ่งนับเป็นองค์กรด้านสุขภาพรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับมติของ สมัชชาสุขภาพโลก ด้านการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (World Health Assembly Resolution 12.8 : Health Promotion and Health Life-Style)

บทบาทหลัก

ร่วมมือกับภาคีในการกำหนดนโยบายสาธารณะ และมาตรการสร้างเสริมสุขภาพอย่างจริงจังร่วมมือกับภาคี ในการพัฒนาความรู้ และจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพพัฒนาขีดความ สามารถบุคลากร และการบริหารจัดการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในองค์กรทุกระดับส่งเสริมบทบาทของ สื่อเพื่อ ปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมของประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพเสริมพลังแก่องค์กรของรัฐในการ แก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นฉับพลันให้ขับเคลื่อนได้อย่างทันเวลา

หมายเหตุ

  • สสส. จัดงบประมาณตั้งต้นหรือสมทบ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ แต่มิใช่จัดงบประมาณให้ในลักษณะงานประจำหรือสิ่งที่มิได้พัฒนาแนวคิด แนวทางใหม่ ๆ
  • สสส. ไม่มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติการประจำ หรือปฏิบัติการซ้ำซ้อนกับส่วนราชการ หรือองค์กรเอกชนใด
  • สสส. ไม่มีภารกิจโดยตรงในการให้บริการสุขภาพ แต่อาจสนับสนุนให้การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพสอดรับกับนโยบายสุขภาพ แห่งชาติ

โครงสร้างองค์กร

  • สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (Health Risk Control I Section)
  • สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ (Health Risk Control II Section)
  • สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (Healthy Community Strengthening Section)
  • สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (Healthy Child, Youth, and Family Promotion Section)
  • สำนักรณรงค์สื่อสารสังคม (Social Communication and Campaign Section)
  • สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (Health Innovation and Opportunity Promotion Section)
  • สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ (Health Systems Development Section)
  • สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร (Healthy Organization Promotion Section)
  • สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (Population Health Promotion section)
  • สำนักพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ (Policy and Strategy Section)
  • สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (Partnership and International Relations Section)
  • ฝ่ายตรวจสอบภายใน (Internal Audit Unit)
  • ฝ่ายอำนวยการ (Administration Unit)
  • ฝ่ายสื่อสารองค์กร (Corporate Communication Unit)
  • ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Unit)
  • ฝ่ายบริหารงานบุคคล (Human Resources Unit)
  • ฝ่ายบัญชีและการเงิน (Financial and Accounting Section)

หมายเหตุ*

  • พ.ร.บ. สสส. กำหนดให้มีระบบตรวจสอบเข้มข้นที่สุด นอกจากการตรวจสอบโดย สตง. เช่นเดียวกับหน่วยงานรัฐภาคอื่นแล้ว ยังมีการตรวจ สอบโดยคณะกรรมการประเมินผลที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี และ การตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารโดยคณะกรรมการ สสส. โดยทุกปี สสส. ต้องรายงานตรงกับคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาอีกด้วย

ยุทธศาสตร์ไตรพลัง และ ความสุข 4 ด้าน กาย จิต สังคม ปัญญา

สสส. ได้เป็นต้นแบบ สนับสนุนให้เกิดการก่อตั้งองค์กรเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพคล้ายกับ สสส. ให้กับนานา ประเทศ ได้แก่ ลาว อินโดนีเซีย มองโกเลีย มาเลเซีย เวียดนาม คาซัคสถาน บังคลาเทศ เกาหลีใต้ และซามัว ล่าสุด สสส. ได้รับเลือกเป็นประธานเครือข่าย สสส. โลก และยังได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาการสร้าง เสริมสุขภาพโลก (IUHPE World Conference 2013) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดสัมมนาลักษณะนี้ใน ประเทศกำลังพัฒนาแถบทวีปเอเซีย

ที่มา  www.thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด