ขั้นตอนการจัดฟันวิธีจัดฟันพร้อมรูปจัดฟัน


1,384 ผู้ชม


จัดฟัน
Q : การจัดฟันคืออะไร ?
A : การจัดฟัน คือการทำให้ฟันที่เรียงตัวไม่เป็นระเบียบ เช่น ฟันซ้อนเก ฟันห่าง เป็นต้น ให้กลับมาจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งนอกจากจะมีผลทำให้ฟันเรียงตัวดูสวยงามแล้ว การทำความสะอาดช่องปาก ก็จะทำได้ง่ายขึ้น และรูปหน้าก็ยังดูสวยงามขึ้นอีกด้วย
dental
Q : การจัดฟันมีกี่วิธี ? อะไรบ้าง ?
A :

การจัดฟัน โดยทั่วไป ก็มีทั้ง ชนิดติดแน่น และชนิดถอดได้ หากแบ่งออกตามการติดเครื่องมือ ก็สามารถแบ่งได้เป็น

1. ชนิดติดแน่น ด้านหน้า ซึ่งแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.1 ชนิดที่เป็นโลหะ เครื่องมือที่ติดแน่นบนตัวฟันทำด้วยโลหะ มองเห็นได้ชัดเจน

1.2 ชนิดที่เป็นเซรามิค หรือ เรซิน ซึ่งสีของเครื่องมือจะใกล้เคียงกับสีของฟัน ให้ความสวยงาม

1.3 ระบบ Damon ซึ่งเป็นระบบที่มีฝาเปิด-ปิดเพื่อให้ลวดอยู่ภายในช่องของเครื่องมือ โดยที่ไม่ต้องใช้ยางรัดลวดเข้ากับเครื่องมือ (self-ligating) โดยหากเป็น Damon-2 จะเป็นโลหะล้วน มีกลไกการเปิด-ปิดฝาต่างจาก Damon-3 ซึ่งจะมีครึ่งล่างเป็นโลหะ และครึ่งบนเป็นเซรามิก และ Damon MX จะเป็นโลหะล้วน แต่ใช้กลไกการเปิดปิดฝาเหมือน Damon-3

2. ชนิดติดแน่น ด้านใน ช่วยในเรื่องของความสวยงาม เพราะไม่เห็นเครื่องมือเมื่อยิ้ม

3. ชนิดใส เช่น อินวิซไลน์ ( Invisalign ®) หรือ เอสซิก (Essix ®) เป็นการจัดฟันที่ไม่ต้องติดเครื่องมือจัดฟัน เครื่องมือที่ใช้จะเป็นพลาสติกแข็ง ใส ใช้สวมครอบทับบนฟันเอาไว้ ให้ความสวยงามเหมือนธรรมชาติมาก และง่ายต่อการดูแลฟันธรรมชาติในช่องปาก เพราะสามารถถอดเครื่องมือออกได้ในเวลารับประทานอาหารและเมื่อทำความสะอาดฟัน

บางครั้ง สภาพปัญหาไม่ได้เกิดจากเรื่องของฟันแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากโครงสร้างกระดูกขากรรไกรด้วย การจัดฟันแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ คงต้องมีการผ่าตัดเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูกร่วมด้วย

อนึ่ง การจัดฟันแต่ละรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น มีข้อบ่งชี้ และข้อห้าม ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นกับสภาพปัญหาของแต่ละคน ควรปรึกษาทันตแพทย์จัดฟัน เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมต่อไป

dental
Q : อะไรทำให้ฟันเรียงตัวไม่ดี ?
A :

โดยธรรมชาติแล้ว ฟันคนเราจะงอกขึ้นมาในช่องปากด้วยแรงที่มีอยู่ตามธรรมชาติของหน่อฟัน หากมีสิ่งกีดขวางการงอก ฟันก็จะงอกในตำแหน่งที่ธรรมชาติกำหนดไว้ไม่ได้ แต่จะพยายามหาทางเบี่ยงตัวเองออกไปด้านข้างเคียง เพื่อที่จะงอกขึ้นมาในช่องปากให้ได้

โดยทั่วไปแล้ว ฟันแท้ส่วนมากมักจะงอกขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ซึ่งรากของฟันน้ำนมจะละลายไป เนื่องจากถูกแรงดันขณะที่ฟันแท้งอกขึ้นมา ทำให้ฟันน้ำนมโยก และหลุดออกมาได้เองในที่สุด หากฟันน้ำนมไม่หลุด ฟันแท้ก็จะงอกซ้อนฟันน้ำนม อาจเป็นเหตุให้เกิดฟันซ้อนเกได้ในอนาคต

ในคนที่สูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลาอันควร เช่น ฟันผุมากจนต้องถอนออก ฟันแท้ข้างใต้จะไม่มีแนวทางให้ฟันขึ้น ก็อาจนำไปสู่การบิดเก หรืองอกไม่ตรงแนวได้ ส่วนฟันที่อยู่ข้างเคียงก็อาจงอกเอียงเข้ามา ทำให้เนื้อที่สำหรับฟันแท้แคบลง ที่ไม่พอให้ฟันขึ้น ก็ทำให้ฟันแท้งอกบิด ซ้อนเก วิธีป้องกัน ก็คือ ควรใส่เครื่องมือกันที่

(Space Maintainer) เพื่อป้องกันฟันล้ม รอจนกระทั่งใกล้เวลาฟันแท้งอก ค่อยถอดเครื่องมือออก

ในบางคน ขนาดของขากรรไกรเล็กกว่าขนาดของฟันทั้งหมดที่จะงอกขึ้นมา ทำให้เนื้อที่ไม่เพียงพอ ฟันที่งอกขึ้นมาทีหลังจึงไม่มีที่จะอยู่ ทำให้เกิดการซ้อนเกได้ หรือในทางกลับกัน หากขนาดของฟันเล็กกว่าขนาดของขากรรไกร ฟันก็จะงอกห่างๆ กัน ผู้ที่ถูกถอนฟันไป แล้วไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน เมื่อเวลาผ่านไปฟันที่เหลืออยู่

ก็จะเคลื่อนตัวไปตามช่องว่างที่มี อาจทำให้ฟันห่างได้ด้วยเช่นกัน

เนื้อเยื่อในช่องปากเอง บางครั้ง ก็เป็นตัวขัดขวางการงอกขึ้นมาชิดกันของฟัน เช่น เอ็นที่ยึดริมฝีปาก หรือเอ็นที่ยึดลิ้น ตำแหน่งที่ยึดเกาะนั้น อาจขวางการงอกมาชิดกันของฟัน ฟันก็จะห่างได้ การแก้ไขกรณีเช่นนี้ อาจต้องตกแต่งตำแหน่งการเกาะยึดของเอ็น ด้วยการผ่าตัด หรือใช้ Laser เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งการยึดเกาะ

นิสัยที่ผิดปกติบางอย่าง ก็อาจทำให้การเรียงตัวของฟันผิดปกติได้ เช่น การหายใจทางปาก , การดูดนิ้ว, การกลืนที่ผิดปกติ โดยเอาลิ้นมาดันฟันในขณะกลืน การดูดนิ้ว อาจทำให้ฟันหน้าบนยื่นเหยิน ฟันหน้าล่างหลุบเข้าด้านใน เพดานแคบกว่าปกติ ส่วน การกลืนที่ผิดปกติ อาจทำให้ฟันบนและล่างไม่สบกัน เพราะลิ้นมากีดขวางอยู่ และมีแรงจากลิ้นมาดันให้ฟันเคลื่อนตัวออกมาด้านหน้า ฟันจึงยื่น และห่างออกได้

dental
Q :

การจัดฟันต้องมีการถอนฟันทุกครั้งหรือไม่?

A :

โดยทั่วไปแล้ว การจัดฟันจำเป็นต้องมีการเคลื่อนตัวของฟัน หากในช่องปากไม่มีเนื้อที่พอให้ฟันเคลื่อนที่ไปได้ เช่นในกรณีฟันซ้อนเบียดตัวกัน ก็จำเป็นจะต้องมีการเพิ่มเนื้อที่เพื่อให้ฟันสามารถเคลื่อนที่ไปได้ ซึ่งอาจใช้การถอนฟัน หรืออาจเป็นการกรอลดขนาดของฟันลงเล็กน้อยก็ได้ แต่หากในช่องปากมีเนื้อที่มากพออยู่แล้ว เช่น เคยมีการถอนฟันไปแล้ว หรือฟันห่างอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกก็เป็นได้

dental
Q : แล้วถ้ามีฟันคุดล่ะ ต้องเอาออกก่อนจะจัดฟันด้วยหรือไม่ หรือว่าเอาออกทีหลังได้ ?
A :

ฟันคุด เป็นฟันที่ทันตแพทย์ไม่แนะนำให้เก็บเอาไว้อยู่แล้ว ดังนั้น ถึงแม้ไม่ได้จัดฟัน ก็แนะนำให้เอาฟันคุดออก ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก แต่ความจำเป็นที่จะเอาฟันคุดออกก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สภาพฟันและเหงือก ฯลฯ ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเป็นรายๆ ไป

การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในคนที่มีเครื่องมือจัดฟันอยู่จะยุ่งยากกว่าปกติ ที่ไม่มีเครื่องมือ ดังนั้น หากพบว่ามีฟันคุดที่ยากต่อการดูแลทำความสะอาด ก็มักจะได้รับคำแนะนำให้เอาออก ทั้งนี้ มิใช่เพื่อการจัดฟัน แต่เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นนั่นเอง แต่หากพบว่า ฟันคุดนั้นๆ มีทิศทางการงอกที่จะดันฟันที่เหลืออยู่ให้เคลื่อนที่ไป การเอาฟันคุดออกก่อน หรืออย่างน้อย ระหว่าง การจัดฟัน ก็น่าจะเป็นสิ่งที่พึงกระทำ เพราะหากไม่เอาฟันคุดออก หลังจัดฟันเรียบร้อย ก็มีโอกาสฟันเคลื่อนตัวไปจากตำแหน่งที่ต้องการ เกิดปัญหาฟันบิด ซ้อนเกกลับมาอีกได้ ทำให้ต้องกลับมาจัดฟันกันใหม่อีกรอบ ซึ่งการรักษาก็อาจยุ่งยากซับซ้อนขึ้นกว่าเก่า แต่ทั้งนี้ การใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน (Retainers)
ยังคงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการได้ แม้จะยังคงมีฟันคุด ก็จะช่วยให้การกลับไปซ้อนเก เกิดขึ้นได้ยากขึ้น
แต่ในที่สุดแล้ว ก็แนะนำให้เอาฟันคุดออก หากทิศทางของฟันคุดนั้น มีโอกาสจะดันฟันอื่นๆ ให้เคลื่อนได้

dental
Q :

เมื่อไหร่ต้องถอนฟันเพื่อการจัดฟัน?

A :

บางครั้ง การจัดฟันก็ต้องมีการถอนฟันเพื่อให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ฟันที่เรียงตัวเป็นระเบียบและทำให้รูปหน้าดูดีและสมดุลย์นั้นเป็นเป้าหมาย ของการจัดฟันทุกชนิด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีมีผลช่วยให้การจัดฟันก้าวหน้ายิ่งขึ้น ความจำเป็นในการถอนฟันจึงน้อยลง แต่ก็ยังคงมีอยู่บ้าง แล้วแต่กรณี

dental
Q :

จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องจัดฟัน?

A : หากการเรียงตัวที่ดีของฟัน จะทำให้การสบฟันดีขึ้น ความสัมพันธ์ของฟันและขากรรไกรดีขึ้น รวมทั้ง ทำให้สามารถทำความสะอาดเหงือกและฟัน และดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีขึ้น การจัดฟันก็น่าจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเรื่องเวลา และค่าใช้จ่าย ว่าสามารถรับผิดชอบได้หรือไม่ หากไม่สามารถให้เวลามารับการรักษาได้ หรือไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้ ก็อาจต้องพิจารณาถึงทางเลือกอื่นๆ ต่อไป
dental
Q :

แล้ววิธีจัดฟันแบบไหนดีที่สุด?

A : เนื่องจากแต่ละวิธี มีข้อจำกัดแตกต่างกัน ในแง่ของข้อบ่งชี้ ข้อห้าม รวมทั้งเรื่องราคา และเวลาที่ใช้ในการรักษา ดังนั้น อาจมีหลากหลายวิธีที่ดีและเหมาะสมสำหรับแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นกับอีกหลายปัจจัย ซึ่งต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบก่อนเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง ในคนแต่ละคน ก็มีสภาพปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การพิจารณาเลือกใช้วิธีในการจัดฟัน ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา และปัจจัยอื่นๆ ของแต่ละคนเป็นหลัก
dental
Q : ข้อดี-ข้อเสีย ของการจัดฟัน เป็นอย่างไรบ้าง ?
A :

การจัดฟัน เป็นการทำให้ฟันมีการเรียงตัวเป็นระเบียบสวยงามที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป ร่างดั้งเดิมของฟัน ดังนั้น ข้อดี คือ เป็นฟันของเราเอง ไม่ต้องเสริมเติมแต่งฟัน กระบวนการนวดเหงือกโดยธรรมชาติที่เนื่องมาจากอาหารที่เคลื่อนผ่านตัวฟัน จะยังคงเป็นปกติ เป็นผลดีต่อสภาพเหงือกและอวัยวะโดยรอบๆ ฟัน แต่ข้อเสียคือ ต้องใช้ระยะเวลานาน และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง รวมทั้งความยากในการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากขณะมีเครื่องมือจัดฟันอยู่ นอกจากนั้น เมื่อจัดฟันเสร็จเรียบร้อย
ก็ต้องใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน (Retainers) ในระยะยาว เพื่อคงไว้ซึ่งตำแหน่งของฟันที่ต้องการ หากวันใดไม่ได้ใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน ฟันอาจคืนกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมก่อนการจัดฟันก็เป็นได้

dental
Q :

เวลาที่ใช้ในการรักษาด้วยการจัดฟันเป็นอย่างไร?

A :

ส่วนมาก การจัดฟันจะใช้ระยะเวลารวมประมาณ 2 ปี อาจมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละสภาพปัญหา จากนั้น ก็ต้องใส่เครื่องมือคงสภาพฟันต่อ นานตราบเท่าที่อยากให้ฟันอยู่ในตำแหน่งหลังจัดฟัน

dental
Q : ค่าใช้จ่ายในการจัดฟัน เป็นอย่างไร ?
A : ค่าใช้จ่ายในการจัดฟัน จะเริ่มตั้งแต่ประมาณ 10,000 บาท ไปจนถึง 250,000 บาท ขึ้นกับชนิดของปัญหา วิธีการจัดฟันที่เลือกใช้ และชนิดของเครื่องมือที่ใช้ ทั้งนี้ แล้วแต่สถานที่ กฏระเบียบและหลักเกณฑ์ในการชำระค่ารักษา และช่วงเวลาการจัดรายการส่งเสริมการขายของแต่ละสถานที่
dental
Q :

แล้วถ้าไม่มีเวลามารักษาต่อเนื่องล่ะ จะทำอย่างไร?

A :

หากตัดสินใจเริ่มจัดฟันแล้ว คงต้องเสียสละเวลามาตามนัดทุกครั้ง เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด และเกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้ที่จะจัดฟันเอง ส่วนมาก จะนัดมารับการรักษาประมาณเดือนละครั้ง นานประมาณ 24 ครั้ง (2 ปี) และหากทราบว่าไม่สามารถมารับการรักษาต่อเนื่องได้ตั้งแต่แรกที่ตัดสินใจจะ จัดฟัน ควรพิจารณาจัดฟันในที่ที่สามารถไปได้ต่อเนื่องแทน หรืออาจพิจารณาวิธีการรักษาอื่นที่ไม่จำเป็นต้องมารับการรักษาต่อเนื่องด้วย ความถี่มากเท่า

หากทราบว่าไม่สามารถมารับการรักษาทางจัดฟันต่อเนื่องได้หลังจากที่ได้รับการ รักษาไปแล้วระยะหนึ่ง อาจพิจารณาส่งต่อการรักษาให้กับแพทย์ท่านอื่นที่อยู่ในบริเวณที่สามารถเดิน ทางไปรับการรักษาที่สะดวกกว่า

dental
Q :

สามารถจัดฟันได้ในทุกคนหรือไม่?

A : หากสภาพปัญหาที่เกิดจากฟันเพียงอย่างเดียว การจัดฟันสามารถช่วยได้อย่างแน่นอน แต่จะจำเป็นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ผู้ให้การรักษาและความยินยอมร่วมมือของผู้ป่วย ด้วย ส่วนสภาพปัญหาที่เกิดร่วมกันระหว่างฟันและ
กระดูกขากรรไกรนั้น การจัดฟันแต่เพียงอย่างเดียวอาจทำไม่ได้ เพราะไม่ได้แก้ปัญหาทั้งหมด อาจจำเป็นต้องร่วมกับการผ่าตัด ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยไม่ยอมผ่าตัด ก็อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงอาจต้องปล่อยให้เป็นอย่างที่เป็นต่อไป จนกระทั่งผู้ป่วยยินยอมผ่าตัด
dental
Q :

อายุมากแล้ว จะจัดฟันได้หรือไม่?

A :

อายุไม่ใช่อุปสรรคในการจัดฟัน เพียงแต่ว่า เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกก็แข็งแรงหนาตัวขึ้น ทำให้การเคลื่อนตัวของฟันยากขึ้น จึงทำให้เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนฟันนานขึ้น แต่หากจำเป็นต้องจัดฟัน ถึงจะอายุมากแล้ว ก็สามารถทำได้ ไม่มีปัญหา จากข้อมูลของสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งสหรัฐอเมริกาบอกไว้ว่า อายุที่เหมาะสมคือประมาณ 7 ปี วัยนี้ ฟันกรามแท้ซี่แรก และฟันแท้อีกหลายซี่เริ่มขึ้นมาในช่องปากแล้ว ทันตแพทย์จะสามารถตรวจ และประเมินสภาพของปัญหาที่อาจเกิดกับฟันและขากรรไกรได้ตั้งแต่เนิ่นๆนอกจาก นั้นกระดูกขากรรไกร ก็จะเจริญขึ้นมากพอที่ทันตแพทย์จัดฟันจะมองเห็นได้ว่าจะเกิดปัญหาการสบฟัน
ต่อไปในอนาคตหรือไม่ อายุที่เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็น 7 ปีเสมอไป แต่วัยนี้จะช่วยให้ผู้ปกกครองและทันตแพทย์ได้มีเวลาเฝ้าระวังพัฒนาการของ เด็ก และจะได้ตัดสินใจถึงวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการรักษา
วางแผนล่วงหน้า และป้องกันการเกิดปัญหาที่ซับซ้อน ยุ่งยากต่อไปได้ในอนาคต

dental
Q :

ควรเตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องการจัดฟัน?

A : หากต้องการจัดฟัน ควรมาพบทันตแพทย์จัดฟัน เพื่อได้รับคำปรึกษาถึงความจำเป็น และความเป็นไปได้ในการจัดฟัน และหากพิจารณาแล้วพบว่าสามารถจัดฟันได้ ก็ควรตรวจดูสภาพช่องปากโดยทั่วไป ว่ามีสภาพดีแล้วหรือยัง โดยหากมีเหงือกอักเสบ มีหินปูน ก็ต้องขูดหินปูน ทำความสะอาดฟันเสียก่อน หากมีฟันผุ ก็ต้องอุดเสียก่อน และหากฟันซี่ไหนที่ค้องรักษารากฟัน ก็ต้องทำให้เรียบร้อยเสียก่อนเช่นกัน ส่วนฟันที่ทันตแพทย์จัดฟันสั่ง ให้ถอนเพื่อการจัดฟัน ก็ควรต้องถอนก่อน แล้วค่อยเข้าสู่กระบวนการการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันต่อไป
dental
Q :

การจัดฟัน มีความเจ็บปวดหรือไม่?

A :

การจัดฟัน เป็นการเคลื่อนฟันจากตำแหน่งเดิม ไปสู่ตำแหน่งที่ต้องการ ดังนั้น ย่อมเกิดความเจ็บปวดขึ้นอย่างแน่นอน แต่ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นนั้น จะไม่ยาวนานมากนัก ส่วนมาก จะปวดอยู่เพียง 3-4 วันหลังจากให้แรงกระทำต่อฟันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะไม่เจ็บปวดอะไรอีก จนกระทั่งมีการให้แรงกระทำอีก

นอกจากนั้น อาจเกิดการเจ็บเนื้อเยื่ออ่อน เนื่องจากการทิ่มแทงของเครื่องมือที่ติดอยู่ที่ฟัน ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดย หากลวดยาวเกินไป ก็ทำการตัดลวดออกให้มากที่สุด หรืออาจใช้ขี้ผึ้งหุ้มรอบบริเวณเครื่องมือที่ทิ่มแทงเนื้อเยื่ออยู่ ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้

dental
Q : การดูแลปฏิบัติตนหลังจากการจัดฟัน ต้องทำอย่างไรบ้าง?
A :

ในขณะที่มีเครื่องมือจัดฟันอยู่ จะต้องดูแลรักษาความสะอาดและรักษาสุขภาพอนามัยในช่องปากให้ดี การแปรงฟันจะต้องแปรงให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ควรใช้ไหมขัดฟันทุกซอกฟัน ซึ่งทั้งการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันนั้น อาจต้องใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดอื่นๆ มาช่วยด้วย จึงจะสามารถทำให้ทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

ส่วนเมื่อจัดฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เครื่องมือจัดฟันก็จะถูกถอดออกไปด้วย ฟันก็จะไม่มีอะไรยึดเอาไว้ จึงสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้อีก ดังนั้น จึงควรใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวแล้ว และเครื่องมือเอง รวมทั้งฟันที่จัดแล้ว ก็ต้องมีการดูแลรักษา และทำความสะอาดเป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน

dental
Q :

โตแล้วค่อยจัดฟัน จะสายเกินไปมั้ย ?

A : เป็นที่น่าแปลกในที่จำนวนคนไข้ที่เข้ารับการจัดฟันส่วนมากแล้วเป็นโตเป็น ผู้ใหญ่แล้ว สุขภาพ ความสุข และความเชื่อมั่นในตนเองมีความสำคัญต่อวัยผู้ใหญ่อย่างยิ่ง ไม่มีใครที่จะ “แก่เกินไป” สำหรับการจัดฟันหรอก !
dental
Q :

ฟันของลูกจะเรียงตัวได้เองเมื่อลูกโตขึ้นหรือไม่?

A :

ส่วนมากแล้ว ฟันจะไม่เรียงตัวได้เอง ช่องว่างสำหรับฟันด้านหน้ามักไม่เพิ่มขนาดเลยเมื่อเด็กโตขึ้น ในคนส่วนมาก หลังจากฟันกรามแท้ซี่แรกงอกโผล่พ้นเหงือกแล้ว ช่องว่างด้านหน้ามักจะเริ่มค่อยๆ ลดลงเสียด้วยซ้ำ

dental
Q : มีอาหารอะไรที่ห้ามกินบ้างหรือเปล่าเวลาจัดฟัน ?
A :

มีแน่นอน เมื่อเริ่มติดเครื่องมือจัดฟัน ทันตแพทย์มักจะให้คู่มือการดูแลสุขภาพช่องปากขณะใส่เครื่องมือจัดฟันกลับไป ปฏบัติด้วย ในนั้น จะมีเรื่องเกี่ยวกับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น น้ำแข็ง ลูกอมที่แข็ง ผักสด และอาหารเหนียวๆ (เช่น ลูกอมเหนียวหนึบทั้งหลาย) หากปฏิบัติตามได้ ก็จะช่วยลดการนัดหมายมาพบทันตแพทย์ด้วยเรื่องฉุกเฉินได้ เช่น เครื่องมือจัดฟันหลุดออกมา

dental
Q : ใส่เครื่องมือจัดฟันแล้วไปโรงเรียนได้เมื่อไหร่ ?
A : ไปได้เลยทันที ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องหยุดเรียนเพียงเพราะได้ใส่เครื่องมือจัดฟันไปแล้ว
dental
Q :

สามารถจัดฟันในเด็กที่ยังมีฟันน้ำนมอยู่ได้หรือไม่ ?

A :

ได้ ปัญหาของฟันและขากรรไกรบางทีต้องรีบรักษาเสียแต่เนิ่นๆ อย่างไรก็ตาม หากเด็กยังไม่สมควรที่จะรับการรักษา ทันตแพทย์จะนัดเพื่อติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กต่อไปเรื่อยๆ จนถึงเวลาที่เหมาะสมที่จะเริ่มให้การรักษา

dental
Q : การรักษาระยะแรก ตั้งแต่ยังเด็ก เป็นอย่างไร ?
A :

การรักษาระยะแรก (Phase One) คือการเริ่มการรักษาในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ประมาณ 7 ถึง 10 ปี ซึ่งจะทำในกรณีจำเป็นเท่านั้น โดยใช้เวลารวมประมาณ 12-21 เดือน วัตถุประสงค์ของการรักษาระยะแรกนี้มีดังต่อไปนี้

  • เพื่อทราบถึงปัญหาตั้งแต่ระยะแรก จะได้ป้องกันมิให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตในภายหลัง
  • เพื่อสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนให้ขากรรไกรที่มีฟันซ้อนเกกันนั้นมีการเจริญ ขึ้น เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ของขากรรไกรบนและล่างให้ดีขึ้น
  • ท้ายที่สุด ก็เพื่อเพิ่มความมั่นใจในตนเอง เสริมบุคคลิกภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับวัยต่อไปเมื่อเด็กโตขึ้น
    dental
Q :

เหล็กจัดฟันที่ติดบนตัวฟัน นำกลับมาใช้ใหม่หรือไม่?

A :

ไม่อย่างเด็ดขาด! เหล็กจัดฟันของคนไหน ก็เป็นของคนนั้น เราจะไม่นำมาใช้ในคนอื่นๆ อีกอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ เพื่อให้การรักษาได้ผลที่ดีที่สุดนั่นเอง

dental
Q :

ระหว่างจัดฟัน ยังต้องหาหมอฟันทั่วไปอีกหรือไม่?

A : จำเป็นอย่างยิ่ง ! การตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำยังคงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะมีเหล็กจัดฟันอยู่ ทันตแพทย์จะช่วยตรวจทำความสะอาดให้ และจะแจ้งให้ท่านทราบว่าจำเป็นจะต้องมาพบบ่อยแค่ไหนด้วย
dental
Q :

ต้องฉีดยาชาหรือไม่เวลาจัดฟัน?

A :

ไม่เลย ไม่ต้องใช้ยาชาในการจัดฟันแต่อย่างใด

dental
Q : เล่นกีฬาได้ตามปกติหรือไม่ ?
A :

ได้เสมอ แต่อาจทำฟันยางไว้สำหรับเล่นกีฬาเพื่อป้องกันการกระทบกระแทกกับเหล็กจัดฟัน ทันตแพทย์จะมีฟันยา
งที่ทำขึ้นเฉพาะบุคคลให้ท่านหากต้องการ

dental
Q :

จะจัดฟันได้หรือไม่ ถ้าใส่ครอบฟัน และมีฟันที่หายไปบางซี่ด้วย?

A :

ได้เสมอ ฟันที่ทำครอบไว้ ก็เปรียบเสมือนฟันปกติที่มีวัสดุอุดฟันนั่นเอง และเมื่อมีฟันหายไปบางส่วน การจัดฟันก็จะสามารถช่วยให้ฟันที่เหลืออยู่เรียงตัวกันให้ดี เพื่อที่จะพิจารณาดูว่ามีเนื้อที่เหลืออยู่หรือไม่ และถ้าม
ี ก็จะได้ใส่ฟันทดแทนในบริเวณนั้นๆ ได้

dental
Q : อะไรเป็นสาเหตุของฟันซ้อนเก ?
A :

ฟันซ้อนเก นิสัยการดูดนิ้ว การกลืนที่ผิดปกติ เอาลิ้นมาดันฟัน การหลุดไปก่อนเวลาอันสมควรของฟันน้ำนม การหายใจทางปาก ซึ่งมักทำให้เกิดโรคทางต่อมน้ำเหลือง เช่น อดีนอยด์ (adenoid) และ ทอนซิล (tonsil) เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เกิดฟันอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องทั้งสิ้น นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของกรรมพันธุ์ ฟันเกิน ฟันขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป การที่ไม่มีการสร้างฟัน ช่องห่าง ขากรรไกรเล็ก ต่างก็ทำให้เกิดปัญหาฟันซ้อนเกได้ทั้งสิ้น

dental
Q :

เมื่อไหร่จึงจะเหมาะสมในการให้เด็กรับการจัดฟัน?

A สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำว่า เด็กทุกคนควรได้รับการตรวจกับทันตแพทย์จัดฟันเมื่ออายุไม่เกิน 7 ปี แต่อย่างไรก็ตาม การสบฟันที่ผิดปกติ หรือการกัดฟันที่ผิดเพี้ยนไปจากที่ควร สามารถเริ่มเห็นได้เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี ปัญหาทางทันตกรรมจัดฟันหลายๆ ปัญหาจะแก้ไขได้ง่ายขึ้นหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ มากกว่ารอจนการเจริญของขากรรไกรเริ่มช้าลง การรักษาตั้งแต่แรกจะช่วยลดความจำเป็นในการผ่าตัดหรือการแก้ไข ใดๆ ที่ยุ่งยากซับซ้อนในระยะหลัง และบ่อยครั้งที่การรักษาแต่เนิ่นๆ จะสามารถลดความจำเป็นในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในระยะหลังได้อีกด้วย
ระยะที่ 1 – การรักษาระยะแรก : การรักษาในระยะนี้ครอบคลุมเด็กวัย 2-6 ปี วัยนี้เราจะมุ่งเกี่ยวกับการเจริญของขากรรไกรที่น้อยเกินไป การหลุดร่วงของฟันน้ำนม และนิสัยที่ผิดปกติ เช่น การดูดนิ้วมือ เป็นต้น การเริ่มการรักษาในระยะนี้มักจะประสพความสำเร็จและสามารถลดความ ต้องการในการจัดฟันหรือแม้แต่การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดในอนาคตได้ด้วย แม้ไม่ทุกกรณีก็ตาม
ระยะที่ 2 – ระยะฟันผสม : ระยะนี้ครอบคลุมเด็กวัย 6 – 12 ปี ซึ่งมีฟันหน้าแท้และฟันกรามซี่แรกขึ้นมาในช่องปากแล้ว การรักษาจะมุ่งไปที่ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติของขากรรไกรและปัญหาการเรียงตัว ที่ผิดปกติของฟัน ระยะนี้เป็นระยะที่ดีที่สุดที่จะเริ่มให้การรักษา เพราะเนื้อเยื่อแข็งและอ่อนของเด็กจะตอบสนองได้ดีกับแรงในการจัดฟันและแรง ที่ให้ต่อกระดูก
ระยะที่ 3 – ระยะฟันแท้ : ระยะนี้จะมุ่งไปที่ฟันแท้และการพัฒนาการของความสัมพันธ์ในการสบฟัน
dental
Q :

ทำไมการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันตั้งแต่อายุยังน้อยจึงสำคัญ?

A

จากการวิจัยพบว่า ปัญหาทางทันตกรรมจัดฟันที่ซับซ้อนหลายปัญหาจะสามารถแก้ไขได้ง่ายขึ้น หากโครงสร้างของกระดูกร่างกายยังคงอยู่ในช่วงเวลาเจริญเติบโตและ ยืดหยุ่นได้ การแก้ไขปัญหาที่โครงสร้างของร่างกายในช่วงอายุยังน้อยจะทำให้สามารถเตรียม สภาวะในปาก
ให้เหมาะสมกับการงอกของฟันแท้ที่เราต้องการให้เป็นได้ หากมีเนื้อที่มากพอ ฟันแท้ก็จะสามารถงอก
ขึ้นมาได้เรียงเป็นระเบียบดี และหากฟันงอกขึ้นมาเรียงตัวได้ดี โอกาสเกิดการซ้อนเกหลังเอาเครื่องมื
อจัดฟันออกก็จะลดลง ได้มากอย่างชัดเจน หลังจากฟันแท้ขึ้นครบ ซึ่งมักเป็นช่วงอายุ 12-14 ปี การติดเครื่องมือจัดฟันทั้งปากจะช่วยจัดให้เกิดการเรียงตัวและการสบฟันอย่าง สมบูรณ์แบบใน ทุกราย
ละเอียดมากขึ้น ดังนั้น ในระยะแรกของการจัดฟันก็จะเร็วและง่าย การรักษาระยะนี้มักใช้เวลาประมาณ 12-18 เดือน และจะไม่เริ่มจนกว่าฟันแท้จะขึ้นครบ การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันชนิดสองระยะนั้น จะช่วยให้เกิดผลที่ดียิ่งขึ้น และจะช่วยให้ลดโอกาสที่จะต้องถอนฟันแท้หรือแม้แต่การผ่าตัดขากรรไกรอีกด้วย การรักษาที่กระทำในช่วงที่ยังม
ีฟันน้ำนมอยู่จะเรียกว่า ระยะแรก (Phase 1) ระยะท้ายของการรักษาหลังจากที่ฟันแท้งอกขึ้นครบจะเรียก ระยะที่ 2 (Phase 2)

dental
Q :

จะเจ็บปวดมั้ย?

A เมื่อฟันเคลื่อนที่ไปในระยะแรก อาจเกิดความรู้สึกไม่ค่อยสบายนัก ซึ่งจะเป็นเพียงแค่ 24-72 ชั่วโมงเท่านั้น แล้วความรู้สึกก็จะค่อยๆ กลับสู่สภาวะปกติเมื่อผ่านระยะเวลาในการจัดฟันไปแล้วระยะหนึ่ง หากปวด ก็สามารถทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ไทลินอล หรือ บรูเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวดได้
ที่มา  www.dentist51.com

อัพเดทล่าสุด