สมุนไพรไทย สรรพคุณ วิธีใช้ รูปภาพสมุนไพรไทย สรรพคุณนานาชนิด


1,567 ผู้ชม


พริกขี้หนู

ชื่อสมุนไพร พริกแต้ พริกนก พริกน้ำเมี่ยง ดีปลี พริกขี้นก หมักเพ็ด มะระตี้ มือส่าโพ
ลักษณะทั่วไป พริกขี้หนูเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 60 ซ.ม. ใบมีขนาดเล็ก ปลายใบแหลมดอกสีขาว ผลกลมยาว
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ผล มีสารแคบไซซิน สรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบ วิธีใช้ นำพริกขี้หนูแห้งบด 1 ส่วน ผสมขี้ผึ้ง วาสลินที่ละลายแล้ว 5 ส่วน ก็จะได้ขี้ผึ้งขันเหมาะใช้ทาแก้เคล็ด ขัดยอก บวม ฟกช้ำดำเขียวผลกินสด ช่วยขับลม กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร เจริญอาหารแก้อาเจียน บิด ปวดบวมเนื่องจากเย็นจัด รักษาผิวหนัง เช่น หิด กลาก คนที่เป็นโรคตา หรือคอแห้งไม่ควรใช้

ข่า

ส่วนที่ใช้เป็นยา
เหง้าแก่สด มีรสเผ็ดปร่า ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้เหง้าแก่สดหนัก 5 กรัม
ถ้าแห้ง 2 กรัม ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร จนกว่าอาการท้องอืดเฟ้อจะหาย
ขนาดและวิธีใช้
สำหรับ รักษากลากเกลื้อน เหง้าข่าแก่ตำ แช่ในเหล้าโรงไว้ 1 คืนใช้น้ำยาทาบริเวณที่เป็น โดยก่อนทาให้ใช้ไม้ไผ่บาง ๆ
ที่ได้ฆ่าเชื้อแล้ว (ทำเช่นเดียวกับการใชกระเทียมรักษากลากเกลื้อน) ขูดบริเวณที่เป็นให้ผิวหนังแดง ๆ ทาบ่อย ๆ วันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย
สรรพคุณ
ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยขับลม การที่ข่า สามารถลดอาการท้องอืดเฟ้อ และช่วยขับลมได้ เพราะในเหง้าข่าแก่มีน้ำมันหอมระเหยออกฤทธิ์ขับลม
- รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน การที่เหง้าข่าแก่ สามารถรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อนได้ เพราะมีสารออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ เป็นน้ำมันหอมระเหย

กระเทียม
ส่วนที่ใช้เป็นยา
หัวใต้ดิน มีรสเผ็ดร้อน ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้กระเทียม 5-10 กลีบ รับประทาน หลังอาหาร หรือพร้อมอาหาร
ขนาดและวิธีใช้
สำหรับรักษากลากเกลื้อน ฝานกระเทียมถูบ่อย ๆ บริเวณที่เป็นหรือตำแล้วขยี้ทาบริเวณที่เป็น ก่อนจะทายาใช้ไม้บาง ๆ เล็ก ๆ ที่ได้ฆ่าเชื้อโรคแล้ว (โดยการแช่ในแอลกอฮอล์ 70% หรือต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที) ขูดบริเวณที่เป็น ให้ผิวหนังแดง ๆ
สรรพคุณ
- ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด การที่กระเทียมสด ช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยขับลม
- รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน การที่กระเทียมรักษากลาก เกลื้อนได้ เพราะในกระเทียม มีสารที่ออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา สารนั้นมีชี่อว่า "อัลลิซิน" ( ALLICIN )

ข้อเสนอแนะ
ห้ามรับประทานกระเทียมขณะท้องว่าง

ฝรั่ง
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ใบที่โตเต็มที่หรือผลดิบฝรั่งที่มีรสฝาดมันหอมเล็กน้อย
ขนาดและวิธีใช้
ใช้ใบ 10-15 ใบ คั่วพอเหลือง ต้มกับน้ำ 2| ถ้วยแก้ว ให้เดือดนาน10-15 นาที ดื่มครั้งละ หนึ่ง
ส่วน สอง แก้ว จากนั้นให้ดื่มอีก1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 ชั่วโมง หรือจะใช้ผลหั่นตากแดด เอาเมล็ดออกบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ถึง หนึ่ง เศษหนึ่งส่วนสอง ช้อนชา ชง น้ำเดือดดื่ม
สรรพคุณ
ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย การที่ใบฝรั่งและผลดิบ ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ เพราะทั้งใบ และผลดิบมีสารแทนนิน ซึ่งมีรสฝาดแก้ท้องเสียได้
ข้อเสนอแนะ
- ถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้ท้องผูก
- ถ้าใช้จำนวนมาก และใช้ติดต่อกันนานเกินไปอาจจะเป็นผลเสียต่อตับ
- ระวังก่อนนำมาใช้ ล้างให้สะอาด เพราะอาจติดสารฆ่าแมลงมาด้วย

กล้วยน้ำว้า
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ผลกล้วยห่าม ฝานตากแดด ให้แห้ง บดเป็นผง จะใช้ กล้วยหักมุกห่ามแทน ยิ่งดี
ขนาดและวิธีใช้
ใช้ผล กล้วยห่าม 3 - 4 ช้อนชา หรือ 5 - 7 กรัม ผสมน้ำ หรือน้ำผึ้ง หนึ่ง ถึง สอง ช้อนโต๊ะ ดื่มวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และ ก่อนนอน
สรรพคุณ
ใช้ป้องกัน บำบัด โรคแผล ใน กระเพาะอาหาร การที่ ผงกล้วยดิบ สามารถ ป้องกัน การเกิด แผลใน กระเพาะอาหาร ได้ เพราะในกล้วย จะมีสาร ไปกระตุ้น ให้เซลล์ใน เยื่อบุกระเพาะ หลั่งสาร MUCIN ออกมา ช่วยเคลือบกระเพาะ - รักษา อาการ ท้องเสีย การที่ กล้วยห่าม สามารถ แก้อาการ ท้องเสีย ได้ เพราะมี สารแทนนิน

ข้อเสนอแนะ
รับประทาน กล้วยดิบ แล้ว ถ้ามีอาการ ท้องอืดเฟ้อ ป้องกัน โดยใช้ กล้วยดิบ ร่วมกับขิง หรือกระวาน

กานพลู
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ดอกที่โตเต็มที่ แต่ยังไม่บาน มีรสเผ็ดร้อน ซ่า กลิ่นหอม
ขนาดและวิธีใช้
ดอกแห้ง 5-8 ดอก ต้มน้ำพอเดือด ดื่มแต่น้ำ ถ้าบดเป็นผง 0.12-0.6 กรัม ชงน้ำสุกดื่ม ในเด็กอ่อนใช้ดอกแห้ง 1 ดอก ทุบแช่ไว้ในกระติกน้ำใช้ชงนม
สรรพคุณ
ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยขับลม การที่ดอกกานพลูช่วยขับลม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย

บัวบก
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ใบสดมีรสหอมหวานขมเล็กน้อย
ขนาดและวิธีใช้
ใช้ใบบัวบกสด 1 กำมือ หรือ 3-5 กรัม ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย คั้นน้ำ
ชโลมทาบริเวณที่เป็นแผลให้ชุ่มตลอดเวลาใน ระยะแรก หรือจะใช้พอกแผลก็ได้ ต่อจากนั้น ทาวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย
สรรพคุณ
รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก การที่ใบบัวบกสามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ เพราะในใบบัวบกมีกรด MADECASSIC กรด ASIATIC และสาร ASIATICOSIDE
ซึ่งเป็นสารกลัยโคไซด์ ออกฤทธิ์ช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโต ของเชื้อแบคทีเรีย และยังลดการอักเสบได้ด้วย

ข้อเสนอแนะ
- ไม่ควรใช้สมุนไพรนี้กับแผลที่มีขนาดใหญ่ และแผลที่หนังแท้ หรือเนื้อถูกทำลายเพราะแผลที่ใหญ่ และลึกอาจติดเชื้อได้ง่าย
- ต้องล้างสมุนไพรให้สะอาด และแช่ด่างทับทิม เพราะถ้าไม่สะอาด แผลอาจติดเชื้อได้ง่าย

กระชาย
ส่วนที่ใช้เป็นยา
เหง้าและราก มีรสเผ็ดร้อน ขม
ขนาดและวิธีใช้
ใช้เหง้า หรือรากประมาณครึ่งกำมือ
น้ำหนักสด 5-10 กรัม แห้ง 2-5 กรัม ทุบพอแตก ต้มกับน้ำพอเดือดดื่มแต่น้ำ
สรรพคุณ
ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด การที่กระชายช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อได้ เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยช่วยขับลม ช่วยให้ กระเพาะ และลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น

กระเทียม
ส่วนที่ใช้เป็นยา
หัวใต้ดิน มีรสเผ็ดร้อน
ขนาดและวิธีใช้
สำหรับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้กระเทียม 5-10 กลีบ รับประทาน หลังอาหาร หรือพร้อมอาหาร
ขนาดและวิธีใช้
สำหรับรักษากลากเกลื้อน ฝานกระเทียมถูบ่อย ๆ บริเวณที่เป็นหรือตำแล้วขยี้ทาบริเวณที่เป็น ก่อนจะทายาใช้ไม้บาง ๆ เล็ก ๆ ที่ได้ฆ่าเชื้อโรคแล้ว (โดยการแช่ในแอลกอฮอล์ 70% หรือต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที) ขูดบริเวณที่เป็น ให้ผิวหนังแดง ๆ
สรรพคุณ
- ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด การที่กระเทียมสด ช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อ ได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยขับลม
- รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน การที่กระเทียมรักษากลาก เกลื้อนได้ เพราะในกระเทียม มีสารที่ออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา สารนั้นมีชี่อว่า "อัลลิซิน" ( ALLICIN )
ข้อเสนอแนะ
ห้ามรับประทานกระเทียมขณะท้องว่าง

ขี้เหล็ก
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอก ดอกตูมแห้ง และแก่น
ขนาดและวิธีใช้
สำหรับ อาการท้องผูก ใช้ ใบอ่อน ดอกและแก่นแห้ง ประมาณ 4 - 5 กำมือ น้ำหนัก 20 - 25 กรัม ใส่น้ำให้ท่วมเติมเกลือเล็กน้อย ต้ม 10 - 25 นาที
ดื่มก่อนอาหารเช้า หรือก่อนนอน ให้หมดในครั้งเดียว
ขนาดและวิธีใช้
สำหรับอาการเบื่ออาหาร ใช้ใบ ยอดอ่อน และดอก ต้มเดือด เคี่ยว 5 - 10 นาที เทน้ำทิ้ง และต้มใหม่เอาเนื้อสำหรับจิ้มน้ำพริก หรือแกงรับประทาน
สำหรับอาการนอนไม่หลับ ใบอ่อนและดอกตูมแห้ง 150 กรัม เติมเหล้าโรงพอท่วม
แช่ทิ้งไว้ 5 -7 วัน คนบ่อย ๆ กรองเอากากออก ดื่มครั้งละ 1 - 2 ช้อนชาก่อนนอน
สรรพคุณ
- แก้อาการท้องผูก การที่ส่วนต่าง ๆ ของขี้เหล็ก ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ เพราะมีสารสำคัญพวกแอนทราควิโนนหลายชนิด ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย
- ช่วยเจริญอาหาร การที่ใบและดอกขี้เหล็ก ช่วยเจริญอาหารได้ เพราะมีสารที่มีรสขม จึงช่วยกระตุ้นทำให้อยากอาหาร
- ช่วยให้นอนหลับ การที่สารสกัดด้วยเหล้าโรงของใบอ่อน และดอกตูมแห้งของขี้เหล็ก สามารถช่วยให้นอนหลับได้ เพราะมีสารพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง
ช่วยทำให้นอนหลับ แต่ไม่ไช่ยานอนหลับโดยตรง
ข้อเสนอแนะ
การใช้สมุนไพรแก้อาการท้องผูก
1. สมุนไพรพวกนี้ ให้ใช้ในขณะที่มีอาการท้องผูก ห้ามใช้ประจำ เพื่อจุดประสงค์ต้องการ ให้มีรูปร่างระหง และควรรับประทานยาสมุนไพรก่อนนอน
2. ขนาดที่ใช้อาจเพิ่มหรือลดลงได้เล็กน้อยขึ้นอยู่กับ "อายุ" เด็ก หรือผู้ที่ธาตุเบา ควรใช้ขนาดลดลง ถ้าผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว หรือ ธาตุหนัก ควรเพิ่มสมุนไพรเล็กน้อย
3. ห้ามใช้ในบุคคลที่กำลังตั้งครรภ์แก่

กระวานไทย
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ผลแก่แห้ง มีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม
ขนาดและวิธีใช้
ผลบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1 1/2 - 2 1/2 ช้อนชา ประมาณ 2-4 กรัม ชงด้วยน้ำอุ่น ดื่มหลังอาหาร หรือขณะมีอาการ
สรรพคุณ
ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม การที่กระวานช่วยขับลมได้ เพราะในเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหย

ขิง
ส่วนที่ใช้เป็นยา
เหง้าแก่สด มีรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม
ขนาดและวิธีใช้
ใช้ขิงแก่สดขนาด 2 หัวแม่มือ หรือน้ำหนัก 5 กรัม ล้างให้สะอาด ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละ 1/3 ถ้วยแก้ว วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการ
ไอระคายคอจากเสมหะ
วิธีที่ 1. เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ฝนกับน้ำมะนาว กวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร
วิธีที่ 2. เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ตำ เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำแทรกเกลือ ใช้กวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร
สรรพคุณ

ใช้ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน การที่เหง้าขิงแก่สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เพราะในเหง้าขิงแก่ มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย GINGEROL และ SHOGAOL เป็นสารช่วยป้องกัน การคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม การที่เหง้าขิงแก่ ลดอาการท้องอืดเฟ้อ และช่วยขับลมได้ เพราะในเหง้าขิงแก่มีน้ำมันหอมระเหย ช่วยลดอาการไอ และระคายคอ จากการมีเสมหะ การที่เหง้าขิงแก่ สามารถลดอาการไอ และระคายคอจากการมีเสมหะเพราะมีสารออกฤทธ์เป็นสารชนิดเดียวกันกับ ที่ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน คือ GINGEROL และ SHOGAOL

ขมิ้นชัน
ส่วนที่ใช้เป็นยา
เหง้าแก่จัดรสฝาดเฝื่อนกลิ่นหอม
ขนาดและวิธีใช้
ใช้เหง้าแก่ตากแห้ง บดเป็นผง ขนาด 500 มิลลิกรัม ปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง หรือจะใส่แคปซูล รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
- ใช้เหง้าขมิ้นแก่สดฝนกับน้ำสุก หรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรืออักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
สรรพคุณ
ใช้ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร การที่เหง้าขมิ้นชัน สามารถป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ เพราะในเหง้า มีสารเคอร์คิวมิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้หลั่งสาร MUCIN ออกมา เคลือบกระเพาะอาหาร
- แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม การที่ผงขมิ้นสามารถขับลม บรรเทาอาการ ท้องอืดเฟ้อได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหย เป็นน้ำมันสีเหลือง
- สำหรับรักษาฝี แผลพุพอง การที่ขมิ้นชัน สามารถรักษาฝี แผลพุพองได้ เนื่องจากในขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และมีสารสีเหลือง ชื่อ เคอร์คิวมินมีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย
- ใช้ลดอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย การที่ขมิ้นชัน สามารถลดอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ เนื่องจากในขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย และมีสารสีเหลือง
ชื่อ เคอร์คิวมิน มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
ข้อควรระวัง
1. การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไปจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
2. คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยา

กะทือ
ส่วนที่ใช้เป็นยา
เหง้าแก่สด หรือแห้ง มีรสขม ขื่น เผ็ดเล็กน้อย
ขนาดและวิธีใช้
ใช้เหง้าสดขนาด 20 กรัม ย่างไฟพอสุก ตำ เติมน้ำปูนใส ประมาณ 1/2 แก้ว (110 มิลลิลิตร) ดื่มแต่น้ำ ขณะที่มีอาการ
สรรพคุณ
ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม การที่กะทือสามารถขับลมได้ เพราะในเหง้าแก่ มีน้ำมันหอมระเหย

ลูกยอ
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ผลโตเต็มที่ มีรสขมเล็กน้อย เอียน
ขนาดและวิธีใช้
ใช้ผลดิบ หรือห่ามฝานเป็นชิ้นบาง ๆ ย่าง หรือคั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลือง ใช้ครั้งละ 2 กำมือ น้ำหนักประมาณ 10 - 15 กรัม
ต้มหรือชงน้ำดื่มจิบ แต่น้ำบ่อย ๆ ขณะที่มีอาการ ถ้าดื่มครั้งละมาก ๆ จะทำให้อาเจียน
สรรพคุณ
ใช้บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน การที่ผลโตเต็มที่แต่ยังไม่สุกของยอ ช่วยบรรเทาอาการ คลื่นไส้อาเจียนได้ เพราะมีสาร ASPERULOSIDE ซึ่งออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน

ฟักทอง
ส่วนที่ใช้เป็นยา
เมล็ดฟักทองจากผลที่แก่ รสมัน หวานเล็กน้อย
ขนาดและวิธีใช
ใช้เมล็ดฟักทอง 60 กรัม แกะเนื้อในบด ผสมนม และน้ำให้ได้ ปริมาตร 2 ถ้วยแก้ว แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมง
หลังจากให้ยาครั้งสุดท้าย 2 ชั่วโมง รับประทานน้ำมันละหุ่งตามเพื่อให้ระบาย
สรรพคุณ
ใช้สำหรับขับพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน การที่เมล็ดฟักทองจากผลแก่ สามารถขับพยาธิลำไส้ได้
เพราะมีสารชื่อ "CUCURBITIN" เป็นสารออกฤทธิ์ฆ่าพยาธิลำไส้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.phuketjettour.com

 

อัพเดทล่าสุด