หลักการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ถูกต้องถูกวิธี


1,926 ผู้ชม


หลักการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ คือเป็นกลุ่มบุคคลที่ใช้อายุเป็นหลักในการแยกจากบุคคลอายุอื่น ๆ โดยถือเอาอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นหลักว่า เป็นผู้สูง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และจิตใจแตกต่างไปจากผู้ที่มีอายุต่ำกว่าหลายประการ โดยมีการเสื่อมคลายลงของระบบต่าง ๆ ของร่างกายเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การประกอบการต่าง ๆ ของผู้สูงอายุจึงแตกต่างไปจากลุ่มอายุที่ต่ำกว่าไปบ้างเป็นธรรมดา โดยเฉพาะเรื่อง การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ

แม้ในกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกันเอง คนที่มีอายุอยู่ระหว่าง 60 ถึง 70 ก็แตกต่างไปจากกลุ่ม 70 - 80 และคนกลุ่ม 80 - 90 ก็มีความเปลี่ยนแปลงของร่างกายแตกต่างกันไปอีกจาก 70 - 80

นอกจากนั้น ใคร่ให้ข้อสังเกตว่า แม้แต่คนที่มีอายุเท่ากัน รุ่นราวคราวเดียวกัน ก็มีความแตกต่างกันในลักษณะ ภาพทางกาย และจิต ดังนั้น ผู้สูงอายุจะต้องคำนึงถึงตัวเองว่า ตัวเองนั้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงเท่าใด ตัวเราเอง จะรู้สมรรถภาพของตนเอง มากกว่าคนอื่น ในการออกกำลัง เห็นคนอื่นทำได้ แต่เมื่อร่างกายเราไม่สมบูรณ์เข็งแรงเท่าเขา จะให้ทำได้อย่างคนอื่นเขา ย่อมเป็นไปไม่ได้ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโดยทั่วไป จำเป็นต้องนำไปปรับหรือประยุกต์ใช้สำหรับแต่ละบุคคลต่อไป ตามความเหมาะสม

การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ คืออะไร?

การออกกำลังกาย ก็คือ การที่ร่างกายมีการหด-ยืดของกลุ่มเนื้อของร่างกายซึ่งบางที่ก็มี การเคลื่อนไหวของข้อ บางทีก็ไม่มีการเคลื่อนของข้อต่อ บางทีก็มีบางทีก็ไม่มีการลงนำหนักต่อโครงสร้างของร่างกาย ในชีวิตประจำวันของคนเรามี การออกกำลังกาย อยู่เสมอ ดังนี้ คือ

ก. การออกกำลังกาย จากทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เดินเข้าห้องน้ำ อาบน้ำ กินอาหาร สีฟัน กวาดบ้าน ฯลฯ

ข. การออกกำลังกาย เพื่อประกอบการงานตามอาชีพ คนที่ประกอบการงานใช้กำลังกายมาก ได้แก่ กรรมกร ก่อสร้าง-ขุดดิน-เลื่อยไม้-ตีตาปู-ยกของ ฯลฯ เกษตร เช่น ชาวไร่ชาวนา ก็ใช้กำลังกาย ในการประกอบอาชีพค่อนข้างมากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้บริหาร ใช้กำลังกายค่อนข้างน้อย อาจเป็นเพียง เดิน นั่ง พูด เท่านั้น

ค. การออกกำลังกาย เพื่อเล่นกีฬา กีฬาคือ การออกกำลังกาย ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีกฎเกณฑ์การเล่น แล้วแต่ ๆ ละชนิดของกีฬา แตกต่างกันไปมากมาย กีฬาเมื่อเล่น ๆ ไป ก็มีการแข่งขันเพื่อจะเอาชนะซึ่งกัน และกัน เพื่อความเป็นเยี่ยม จึงเกิดมีการแข่งขันกีฬา ระดับต่าง ๆ จนสุดท้ายระดับโลก คือ กีฬาโอลิมปิก

ง. การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย ชนิดนี้ แตกต่างจาก ก. ข. ค. ในข้อที่ว่า เป็น การออกกำลังกาย ที่ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้

- เป็น การออกกำลังกาย ที่มีความหนักพอสมควร ไม่มากเกินไป (เหนื่อยมาก) ไม่น้อยเกินไป (ไม่รู้สึกเหนื่อยเลย) ในเวลาที่นานพอในแต่ละครั้ง ที่จะทำให้ร่างกายเกิดประโยชน์ และมีความถี่ (ความสม่ำเสมอใน การออกกำลังกาย ) ที่เหมาะสมที่ทำให้ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง

- เป็น การออกกำลังกาย ที่ฝึกให้มีความอดทน, ความแข็งแรง, ความยืดหยุ่น ความทรงตัว ความแคล่วคล่องว่องไวของร่างกายดี

- เป็น การออกกำลังกาย ที่มีความอภิรมย์ (ไม่เคร่งเครียด)

- เป็น การออกกำลังกาย ที่ไม่มีการแข่งขันกับคนอื่น

จะเห็นว่า ในการทำกิจวัตรประจำวัน ความหนักของ การออกกำลังกาย ไม่มากพอที่จะทำให้เกิดประโยชน์แก่สุขภาพของร่างกาย การออกกำลังกาย ทำงานตามอาชีพ บางอาชีพก็หนักเกินไป บางอาชีพก็เบาเกินไป และส่วนใหญ่มีความเคร่งเครียดเพื่อให้งานเสร็จตามเป้าหมาย จึงไม่มีความอภิรมย์ การออกกำลังกาย เพื่อเล่นกีฬามักจะเกิดการแข่งขัน บางเกมกีฬา เช่น ฟุตบอล มวย มีการปะทะทำให้บางครั้งรุนแรงเกินไป และเคร่งเครียดเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม หรือเพื่อความเป็นเลิศ ดังนั้น การทำกิจวัตรประจำวัน การออกกำลังกาย ทำงานตามอาชีพ การเล่นกีฬา จึงไม่ใช่ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพโดยแท้ เราออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง

Resource : https://sportsci.swu.ac.th

 

อัพเดทล่าสุด