การมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์


1,429 ผู้ชม


sex ขณะตั้งครรภ์ ควรหรือไม่?  
การมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์  เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์

ใน ชีวิตคู่และธรรมชาติของคนเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องของเพศสัมพันธ์เป็นเรื่อง สำคัญที่มนุษย์ถวิลหา และเมื่อถึงเวลาที่ภรรยาตั้งครรภ์มันเป็นช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง แต่จะทำอย่างไรดีเล่าในเมื่อความต้องการตามธรรมชาติยังคงมีอยู่...
ตลอด 9 เดือนที่ผู้หญิงท้อง ระหว่างนั้นเป็นช่วงที่สรีระร่างกายที่กำลังตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง มากและรวดเร็ว ดังนั้น 9 เดือนที่ตั้งครรภ์ คู่ชีวิตมักมีคำถามมากมายตามมา...เช่นสมควรมีเพศสัมพันธ์กันได้หรือไม่ ถ้ามีได้สามารถมีได้ถึงอายุครรภ์เท่าไร การมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ลูกเจ็บหรือไม่ มันยังจำเป็นไหมที่สามีจะต้องสวมถุงยางอนามัย มันเป็นเรื่องธรรมดาหรือไม่ที่ตั้งครรภ์แล้วทำให้ความสนใจทางเพศลดน้อยลงไป ????
จริงๆ แล้วไม่มีข้อบ่งชี้ว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้วห้ามมีเพศสัมพันธ์ !!
คือยังสามารถมีได้จนกว่าคุณและคู้ของคุณจะรู้เองว่ายังไหวกันอยู่หรือไม่...
อย่าง ไรก็ตามคุณก็ควรรักษาทัศนคติที่ดีในการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเอาไว้ก่อน แม้ว่าคุณจะตั้งครรภ์แล้ว เพราะถึงแม้วาการตั้งครรภ์แล้วการปฏิสนธิจะไม่เกิดอีก แต่คุณอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตัวคุณเองและคู่ชีวิตและลูกของคุณเอง จงพึงระวังให้มาก
การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่รูปร่างทางกายภาพของ คุณเปลี่ยนไปพร้อมๆ กับอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน คุณอาจรู้สึกเครียด สับสน ซึมเศร้า อาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ เมื่อคุณเข้าใจแล้วควรจะเล่าให้คู่ของคุณเข้าใจด้วยว่าวันนี้คุณอารมณ์ไหน เพราะอะไร ทำให้เข้าใจกันมากขึ้น การที่คุณจะมีปฏิบัติการทางเพศอย่างเหมาะสม ซึ่งก็มีข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์และสำคัญต่อสุขภาพครรภ์ของคุณมาบอกกัน หากว่าคุณจะมีเพศสัมพันธ์
  • จำไว้เลยว่าความปรารถนาทางเพศของคุณ รวมทั้งคู่ของคุณอาจเปลี่ยนไประหว่างที่คุณตั้งครรภ์ ด้วยจาก รูปร่าง อารมณ์ ความสะดวกของท่าทางต่างๆ ดังนั้นจึงควรศึกษาความคาดหวังซึ่งกันและกันในเรื่องนี้กันให้ดีก่อน เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาขณะปฏิบัติการ

  • อย่าฝืนใจตัวเอง แต่ควรบอกสามีคุณดีๆ ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณไม่ต้องการหรือไม่มีอารมณ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ที่คุณอาจมีอาการแพ้ท้องคลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลีย และความต้องการทางเพศลดลง แต่ผู้หญิงบางคนก็จะมีความต้องการทางเพศเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงที่ 2 ของระยะตั้งครรภ์ช่วงประมาณเดือนที่ 4-6 ซึ่งจะทำให้รู้สึกดีขึ้นเพราะอาการแพ้ท้องจะลดลง อาจเป็นช่วงที่ดีของบางคนเพราะมีน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดมากขึ้น และไวต่อความรู้สึกมากขึ้น แต่ด้วยสรีระร่างกายที่เปลี่ยนไปความใหญ่โตของครรภ์อาจจะเป็นอุปสรรคของการ ปฏิบัติการพอสมควรนับจากระยะนี้

  • หากว่าคุณยังมีความสามารถ ที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ ก็อาจจะต้องมีการปรับท่าทางบ้าง เพราะนอกจากครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นแล้ว เต้านมของคุณก็อาจจะไวต่อความรู้สึก เจ็บปวดคัดตึงมากขึ้นกว่าปกติเมื่อถูกสัมผัส โดยเฉพาะในช่วงครรภ์ 3 เดือนแรก และแน่นอนที่สุดคุณต้องบอกเรื่องนี้ให้กับสามีของคุณทราบด้วย

  • เป็น การดีที่คุณ และสามีจะปรึกษากับแพทย์ถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งแพทย์จะมีคำแนะนำดีๆ ให้คุณปฏิบัติตัน และพึงระวัง เพราะบางสภาพอาการของหญิงตั้งครรภ์ไม่เหมาะที่จะมีเพศสัมพันธ์ แต่ควรระวังดูแลครรภ์ให้แข็งแรงปลอดภัยมากกว่า อาการต่างๆ ที่ควรเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ ได้แก่

  • มีเนื้องอกมดลูก

  • เคยมีประวัติการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด

  • มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ถุงน้ำคร่ำแตก

  • รกขวางหรือค้ำอยู่เหนือคอมดลูก

  • เคยแท้งบุตร(โดยธรรมชาติ)มาก่อน

  • มีสัญญาณอันตรายเตือนว่ามีโอกาสแท้งบุตร

  • เพราะความผิดปกติของระบบภายในของคุณเมื่อมีเพสสัมพันธ์อาจทำให้มดลูกบีบตัวอย่างแรงจนทำให้แท้ได้
  • สิ่ง ที่เป็นข้อห้ามระหว่างที่คุณตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ คือ ห้ามใช้อุปกรณ์ใดๆ ที่แปลกปลอม โดยเฉพาะที่สั่นได้เข้าสอดเข้าไปในช่องคลอด เพราะมันอาจจะไปกระทบกระเทือนทำความเสียหายกับถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มทารกไว้ จนได้รับอันตรายได้

  • อย่าลืมว่าการบอกความรู้สึกซึ่งกันและกันของคุณสองคนขณะมีปฏิบัติการก็เป็นเรื่องพึงกระทำเพื่อให้ได้รู้จังหวะ ไปด้วยกันอย่างสวยงาม

  • ที่ แน่ๆ อย่ามองข้ามหรือละเลย "มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยต้องปกป้องทุกครั้ง" เพราะมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกหลายชนิดที่ไม่รีรอขอเกาะอาศัยและขยาย เผ่าพันธุ์ทันทีที่คุณเผลอ หรือลืมป้องกัน เช่น โรคเริม ซิฟิลิส เอดส์ โกโนเรีย ไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น หรือแม้ว่าคุณหรือคู่ของคุณมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่เดิมคุณก็จำเป็น ต้องรีบรักษาให้หายขาดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกจากความสุขสุขภาพดีของของคุณสองคนแล้ว ความปลอดภัยของทารกในครรภ์คือสิ่งที่คุณต้องคำนึงถึงเหนือสิ่งอื่นใด

  • หากว่า คุณเรียนรู้ให้ถ่องแท้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ดังกล่าว แล้ว พร้อมใจหันหน้าปรึกษาและพูดคุยกันถึงเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ การร่วมกันปรับเปลี่ยนหาเทคนิค ท่าทางต่างๆ ที่เหมาะสม ทะนุถนอมระมัดระวังเป็นพิเศษ ก็น่าจะทำให้คุณยังสามารถมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ได้อย่างมีความสุข ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ คู่สามีภรรยาได้ใกล้ชิดเข้าใจกันมากขึ้นอีกด้วย
    ที่มา /women.sanook.com

    อัพเดทล่าสุด