40 หะดิษฺ สำหรับเดือนรอมฎอน (5)


2,141 ผู้ชม

40 หะดิษฺ สำหรับเดือนรอมฎอน เป็นการรวบรวมหะดิษฺต่าง ๆ ของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งเกี่ยวกับคุณค่าของเดือนรอนฎอน รวมทั้งอะมัลต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้ปฏิบัติในเดือนอันประเสริฐนี้ ...


40 หะดิษฺ สำหรับเดือนรอมฎอน (5)

40 หะดิษฺ สำหรับเดือนรอมฎอน เป็นการรวบรวมหะดิษฺต่าง ๆ ของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งเกี่ยวกับคุณค่าของเดือนรอนฎอน รวมทั้งอะมัลต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้ปฏิบัติในเดือนอันประเสริฐนี้

หะดีษบทที่ 21

ความประเสริฐของการอ่านอัลกุรอานในเดือนรอมฏอน

عَنْ عاَئِشَةَ قَالَتْ : لاَ أَعْلَمُ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمِ قَرَأَ القُرْآنَ كُلُّهُ فِيْ لَيْلَةٍ وَلاَ قاَمَ لَيْلَةً حَتَّى الصَّباَحِ وَلاَ صاَمَ شَهْراً كاَمِلاً قَطُّ غَيْرَ رَمَضاَنَ

ความว่า จากท่านหญิงอาอิชะฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮากล่าวว่า "ฉันไม่เคยทราบว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อ่านอัลกุรอานทั้งเล่มในคืนเดียว หรือยืนละหมาดตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หรือถือศีลอดหนึ่งเดือนเต็มนอกจากในเดือนรอมฎอนเท่านั้น" (บันทึกโดยอันนะซาอีย์ 1641)

คำอธิบายหะดีษ

ส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอานอย่างสม่ำเสมอ และละหมาดในยามกลางคืนนั้นส่งเสริมให้กระทำทุกค่ำคืนในเวลา 1/3 สุดท้ายของคืน แต่เนื่องจากรอมฏอนนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยความบะเราะกะฮ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนดังกล่าวเป็นเดือนแห่งการประทานอัลกุรอานแก่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และท่านรอซูลได้อ่านอัลกุรอานหนึ่งเที่ยวจบ (เคาะตัม) ภายในคืนเดียวเท่านั้น(คำอธิบายส่วนนี้น่าจะเป็นความเข้าใจผิดต่อสำนวนหะดีษ - บ.ก.) ... อาจเป็นไปได้ว่าท่านอ่านในขณะละหมาดกิยามุลลัยล์ ซึ่งท่านได้ปฏิบัติตั้งแต่ตอนค่ำจนถึงหัวรุ่งขณะที่ในตอนกลางวันนั้นท่านรอซูลได้ถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน การศิยาม (ถือศีลอด) การกิยาม (ละหมาดกลางคืน) และการอ่านอัลกุรอาน ทั้งสามประการนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในเดือนรอมฏอน เพื่อให้ได้มาซึ่งความประเสริฐและความบะเราะกะฮ อันมากมาย

บทเรียนจากหะดีษ

1. ความประเสริฐของการอ่านอัลกุรอาน การถือศีลอดและการกิยามุลลัยล์ในเดือนรอมฎอน เพราะการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นแบบอย่างของท่านรอซูล

2. ท่านรอซูลอ่านอัลกุรอานและดำรงการละหมาดในเดือนรอมฎอนอย่างเคร่งครัด

3. ส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอานให้จบเท่าที่สามารถจะทำได้ เพราะอัลกุรอานถูกประทานลงมาในเดือนดังกล่าว

4. เวลาในการอ่านอัลกุรอานที่ดีที่สุดคือ เวลากลางคืน

5. หะดีษข้างต้นได้กล่าวถึงความประเสริฐของกิยามุลลัยล์ในเดือนรอมฎอน

6. การอ่านอัลกุรอาน การกิยามุลลัยล์ และการถือศีลอดในตอนกลางวันของรอมฎอน การงานทั้งสามอย่างนั้นจะเป็นเบ้าหลอมในการสร้างบุคลิกภาพและจิตวิญญาณของมุสลิม

หะดีษบทที่ 22

ศีลอดและอัลกุรอานสามารถช่วยเหลือท่านได้

عَنْ عَبْدِاللهِ بْنِ عُمْرِو بْنِ العاَصِ رَضِىَ اللهُ عَنْهُماَ : أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمِ قاَلَ : الصِّياَمُ وَالْقُرْآنُ يَشْفَعاَنِ لِلْعَبْدِ يَوْمَ القِياَمَةِ . يَقُوْلُ الصِّياَمُ : أَىْ رَبِّ مَنَعْتُهُ الطَّعاَمَ وَالشَّهَواَتِ بِالنَّهاَرِ فَشَفَّعْنِى فِيْهِ وَيَقُوْلُ القُرْآنُ : أَىْ رَبِّ مَنَعْتُهُ النَّوْمَ بِالْلَيْلِ فَشَفَّعْنِى فِيْهِ . قاَلَ فَيُشَفَّعاَنِ

ความว่า จากอับดุลลาฮฺ บิน อัมรู (บินอัล-อาศ)เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "การถือศีลอดและอัลกุรอานจะให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวในอาคิเราะห์ ศีลอดจะกล่าวว่า "โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน! ฉันทำให้เขาต้องอดอาหารและอดทนจากอารมณ์ใฝ่ต่ำในตอนกลางวัน ดังนั้น (อนุญาต) ให้ฉันให้ความช่วยเหลือแก่เขาเถิด"และอัลกุรอานกล่าวว่า "โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน! ฉันทำให้เขาต้องอดหลับอดนอนในตอนกลางคืน ดังนั้น (อนุญาต) ให้ฉันให้ความช่วยเหลือแก่เขาเถิด" ท่านรอซูล กล่าวว่า จากนั้นทั้งสองก็ได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เขา"(ผู้ที่ถือศีลอดและอ่านอัลกุรอาน) (บันทึกโดยอะห์มัด 2/174 อัตเตาะบะรอนี มัจญ์มะอฺ อัซซะวาอิด 3/1818: ริญาล อัตเตาะบะรีย์ ริญาลุ อัศ-เศาะหี๊ห์)

บทเรียนจากหะดีษ

1. หะดีษนี้อธิบายถึงความประเสริฐของการถือศีลอดและการอ่านอัลกุรอาน

2. การถือศีลอดของบ่าวนั้น ก็เพื่อที่เขาจะได้มีความอดทนจากการกิน การดื่ม และควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำ เนื่องจากแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ

3. การอ่านอัลกุรอานทำให้บ่าวของอัลลอฮฺมีความอดทนจากการหลับนอนในยามค่ำคืน เพื่อใช้เวลาในการอ่านอัลกุรอาน ทำความเข้าใจเนื้อหาและท่องจำด้วยความซาบซึ้ง

4. อัลลอฮฺทรงอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือกฏธรรมชาติ เช่น ถือศีลอด และอัลกุรอานสามารถพูดกับอัลลอฮฺได้

5. ไม่มีผู้ใดมีอำนาจและสามารถให้ความช่วยเหลือใดๆ แก่บ่าวของพระองค์ นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากพระองค์

6. ใช้ให้ถือศีลอดและอ่านอัลกุรอานอย่างเต็มความหมาย พร้อมกับรักษามารยาทในขณะอ่านอัลกุรอานเพื่อได้รับความช่วยเหลือในอาคิเราะฮฺ

7. เวลาที่ประเสริฐที่สุดในการอ่านอัลกุรอานคือ เวลากลางคืน

8. ใช้ให้ระลึกถึงอาคิเราะฮฺ และความน่าสะพรึงกลัวของอาคิเราะฮฺ พร้อมกับให้เตรียมความพร้อมสำหรับวันนั้น

หะดีษบทที่ 23

การให้อาหารละศีลอดแก่ผู้อื่น

عَنْ سَلْماَنَ قَالَ : خَطَبَناَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمِ فِيْ آخِرِ يَوْمٍ مِنْ شَعْباَنَ ، فَقاَلَ : أَيُّهاَ النَّاسُ قَدْ أَظَلَّكُمْ شَهْرٌ عَظِيْمٌ ، شَهْرٌ مُباَرَكٌ ، شَهْرٌ فِيْهِ لَيْلَةٌ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرِ ، جَعَلَ اللهُ صِياَمَهُ فَرِيْضَةً وَقِياَمَ لَيْلِةِ تَطَوُّعاً . مَنْ تَقَرَّبَ فِيْهِ بِخِصْلَةٍ مِنَ الْخَيْرِ كاَنَ كَمَنْ أَدَّى فَرِيْضَةً فِيْماَ سَواَهُ ، ومن أدى فيه فريضة كان كمن أدى سبعين فريضة فيما سواه وَهُوَ شَهْرُ الصَّبْرِ، وَالصَّبْرُ ثَوَابُهُ الجَنَّةُ وَشَهْرُ المُواَسَاةِ وَشَهْرٌ يَزْداَدُ فِيْهِ رِزْقُ المُؤْمِنِ .مَنْ فَطَّرَ فِيْهِ صاَئِماَ كاَنَ مَغْفِرَةَ لِذُُنُوْبِهِ وَعِتْقَ رَقَبَتِهِ مِنْ النَّارِ . وَكاَنَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصَ مِنْ أَجْرِهِ شَيْءٌ . قاَلُوا : لَيْسَ كُلُّناَ نَجِدُ ماَ يَفْطِّرُ الصَّائِمَ . فَقاَلَ : يُعْطِى اللهُ هَذاَ الثَّوَابَ مَنْ فَطَّرَ صاَئِماً عَلىَ تَمْرَةٍ أَوْ شَرْبَةِ مَاءٍ أَوْ مَذْقَةِ لَبَنٍ وَهُوَ شَهْرٌ أَوَّلُهُ رَحْمَةٌ وَأَوْسَطُهُ مَغْفِرَةٌ وَآخِرُهُ عِتْقٌ مِنَ النَّارِ

"จากซัลมานกล่าวว่า : ท่านรอซูล (ศ็อล) ได้คุตบะห์แก่พวกเราในวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน ท่านกล่าวว่า : โอ้มนุษย์ทั้งหลาย แท้จริงได้เยือนมาถึงพวกเจ้าซึ่งเดือนที่ยิ่งใหญ่ เดือนแห่งความบะเราะกะห์ เดือนที่มีค่ำคืนอัลเกาะดัรซึ่งมีความประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน พระองค์อัลลอฮทรงบัญญัติการถือศีลอดเป็นฟัดูและการกิยาม (ละหมาดในค่ำคืน) เป็นสุนัต ผู้ใดที่อยู่เคียงข้างอัลลอฮด้วยความดีงามแล้ว เขาจะได้รับผลบุญเหมือนผู้ที่กระทำอะมั๊ลฟัรดูในเดือนอื่น ๆ และผู้ใดที่กระทำอะมั๊ลฟัรดู เขาจะได้รับความประเสริฐเหมือนผู้ที่กระทำอะมั๊ล ฟัรดูจำนวนเจ็ดสิบอย่างในเดือนอื่น และเดือนรอมฎอนเป็นเดือน (ผู้ที่ถือศีลอดมีความอดทน มีความเห็นอกเห็นใจ เป็นเดือนแห่งการเพิ่มพูนริซกีย์สำหรับผู้ศรัทธาผู้ใดที่ให้อาหารสำหรับละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน แท้จริงเขาจะได้รับการอภัยโทษ คอของเขาจะปลอดภัยจากไฟนรก และเขาจะได้รับผลบุญเหมือนอย่างคนที่ถือศีลอดไม่ลดแม้แต่น้อย บรรดาเศาะฮาบะห์จึงถามว่า : พวกเราทุกคน ไม่ม่ส่งของที่จะให้ละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอด ท่านรอซูลจึงตอบว่า อัลลอฮทรงให้ผลบุญ (อันยิ่งใหญ่) นี้ให้แก่ผู้ที่ให้ละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอด แม้จะเป็นลูกอินทผลัมเพียงเม็ดเดียวก็ตาม หรือน้ำเพียงอึกเดียว หรือนมที่ผสมน้ำหนึ่งแก้ว และรอมฎอนยังเป็นเดือนที่ในช่วงต้นเป็นเราะห์มัต ในช่วนกลางเป็นการอภัยโทษ และช่วงท้านเป็นการหลุดพ้นจากไฟนรก" (รายงานโดยอัตติรมีซีย์ 807 กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสันเศาะหีห์)

عَنْ زَيْدِ بْنِ خَالِدِ الْجُهَنِى قاَلَ : قاَلَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمِ : مَنْ فَطَّرَ صاَئِماً كاَنَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ غَيْرَ أَنَّهُ لاَ يَنْقُصُ مِنْ أَجْرِ الصَّائِمِ شَيْئاً

ความหมาย : จากซัยด์ บิน คอลิด อัลญุห์นีย์ เล่าว่า ท่านรอซูล (ศ็อล) กล่าวว่า ผู้ใดที่ให้อาหารละศีลอดแก่ผุ้ที่ถือศีลอดแล้ว แท้จริงเขาจะได้รับผลบุญเสมือนกับผู้ที่ถือศีลอด โดยไม่ได้ลดแม้แต่น้อย"

บทเรียนที่ได้จากหะดีษ

1. ความประเสริฐของเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่มีเกียรติสูงส่งและมีความบะเราะกะห์

2. ความยิ่งใหญ่ของเดือนรอมฎอนนั้น อันเนื่องจากมีสาเหตุที่สำคัญคือ ในเดือนนี้จะมีค่ำคืนอัลเกาะดัร ซึ่งมีความประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน และยังเป็นเดือนที่บัญญัติให้มุสลิมทุกคนถือศีลอด อันเป็นหนึ่งในห้าของรุก่นอิสลาม นอกจากนั้นแล้วยังส่งเสริมให้มีการกิยาม (ละหมาดตะรอวีห์) ซึ่งการละหมาดนี้จะไม่มีในเดือนอื่นๆ ยกเว้นในเดือนรอมฎอนเท่านั้น

3. การประกอบความดีงามในเดือนรอมฎอน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นฟัรดูหรือที่เป็นสุนัต ก็จะได้รับผลบุญที่เท่าทวีคูณ

4. การประกอบอิบาดะห์ถือศีลอดจะเป็นการหล่อหลอมจิตใจให้มีความอดทน และผลของการอดทนเขาจะได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮด้วยสวรรค์

5. นอกจากนั้นแล้ว การถือศีลอดยังสามารถทำให้จิตใจมีความเห็นอกเห็นใจ และมีความรักใคร่ซึ่งกันและกันในหมู่ชาวมุสลิมด้วยกัน

6. ในเดือนรอมฎอนอัลลอฮจะทรงเพิ่มพูนริซกีย์แก่ผู้ศรัทธา ด้วยเหตุนี้เขาจึงสามารถที่จะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่พี่น้องของเขาได้

7. ความประเสริฐของผู้ที่ที่ให้ละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอด เขาจะได้รับผลบุญอย่างเต็มเปี่ยม เหมือนคนที่ถือศีลอด โดยไม่ได้ลดแม้แต่น้อย

8. ส่งเสริมให้มีการยอกย่องสรรเสริญแก่ผู้ที่ถือศีลอด ไม่ว่าเขาจะเป็นคนที่ร่ำรวยหรือยากจน

9. นอกจากพระองค์จะให้ผลบุญแล้ว บาปต่างๆ ก็จะได้รับการอภัยโทษ และเขาตจะถูกปลดปล่อยจากความทรมานของไฟนรกอีกด้วย

10. อาหารหรือเครื่องดื่มที่จัดเตรียมให้แก่ผู้ที่ถือศีลอดนั้น จะ ต้องมาจากทรัพย์สินที่หะลาล

11. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นเป็นลักษณะของผู้ที่เป็นมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนรอมฎอน

12. สังคมอิสลามเป็นสังคมที่มีความรักใคร่ปรองดองกัน มีการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและ

หะดีษบทที่ 24

ความประเสริฐของการเศาะดาเกาะฮฺในเดือนรอมฎอน

عَنْ أَنَسٍ قَالَ : سُئِلَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمِ أَيُّ الصَّوْمِ أَفْضَلُ بَعْدَ رَمَضَانَ ؟ قَالَ : شَعْبَانُ لِتَعْظِيْمِ رَمَضَانَ . فَأَيُّ الصَّدَقَةِ أَفْضَلُ ؟ قَالَ : صَدَقَةٌ فِي رَمَضَانَ

ความว่า จากอนัส (เราฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามว่า การถือศีลอดประเภทใดที่ประเสริฐที่สุดรองลงมาจากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน? ท่านรอซูลตอบว่า การถือศีลอดสุนัตในเดือนชะบาน เพื่อเป็นการให้เกียรติเดือนรอมฎอน ท่านรอซูลถูกถามอีกว่าเศาะดะเกาะฮฺประเภทใดดีที่สุด? ท่านตอบว่าเศาะดะเกาะฮฺในเดือนรอมฎอน" (บันทึกโดยอัตติรมีซีย์ 657 กล่าวว่าเป็นหะดีษเฆาะรีบ)

บทเรียนจากหะดีษ

1. กล่าวถึงความประเสริฐของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

2. ส่งเสริมให้ต้อนรับเดือนรอมฎอนอย่างสมเกียรติ ด้วยการถือศีลอดสุนัตในเดือนชะบาน

3. ส่งเสริมให้มีการเศาะดาเกาะฮฺให้ทานในเดือนรอมฎอน

4. การเศาะดาเกาะฮฺในเดือนรอมฎอนประเสริฐกว่าเศาะดาเกาะฮฺในเดือนอื่นๆ

หะดีษบทที่ 25

ดุอาอฺของผู้ที่ถือศีลอดจะไม่ถูกปฏิเสธ

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم : ثَلاَثَةٌ لاَ تُرَدُّ دَعْوَتُهُمْ ، الإِمَامُ العَادِلُ وَالصَّائِمُ حَتَّى يُفْطِرَ وَدَعْوَةُ المَظْلُوْمِ

ความว่า จากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ท่านรอซูล กล่าวว่า "คนสามจำพวก ที่ดุอาอฺของเขาจะไม่ถูกปฏิเสธคือ อิหม่าม (ผู้ปกครอง) ที่ยุติธรรม คนที่ถือศีลอดจนกระทั่งเขาละศีลอด และดุอาอฺของผู้ที่ถูกอธรรม" (บันทึกโดยอิบนุ มาญะห์1752 อัลบัยหะกีย์ 8/163 อัตติรมีซีย์ 5/578 กล่าวว่า : เป็นหะดีษหะซัน)

บทเรียนจากหะดีษ

1. หะดีษกล่าวถึง คนสามจำพวกที่อัลลอฮฺจะไม่ปฏิเสธดุอาอฺของพวกเขา
- ดุอาอฺของอิหม่ามที่ยุติธรรม
- ดุอาอฺของผู้ถือศีลอดที่รักษามารยาทที่ดีงามมีเจตนาที่บริสุทธิ์
- ดุอาอฺของคนที่ถูกอธรรม

2. ความช่วยเหลือของอัลลอฮฺจะยังคงอยู่กับคนที่กระทำความดี

3. ความประเสริฐของผู้ถือศีลอด อิหม่ามที่ยุติธรรม และผู้ที่ถูกอธรรม

4. คุณลักษณะของอัลลอฮมีความสูงส่ง(อิซซะห์) และอัลลอฮจะทรงปกป้องบ่าวของพระองค์

5. การปกป้องที่แท้จริงมาจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียวเท่านั้น

6. ความโปรดปรานของอัลลอฮฺจะครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง

7. ส่งเสริมให้มีการขอดุอาอฺในขณะที่ถือศีลอดและเมื่อละศีลอด

อัพเดทล่าสุด