ปัญหาโรคไข้เลือดออก


2,891 ผู้ชม


ปัญหาโรคไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออกในเด็ก อาการของไข้เลือดออกในเด็ก

ปัญหาโรคไข้เลือดออก

ปัญหาโรคไข้เลือดออกปีนี้หนักแน่

คลิกเพื่อดูขนาดจริง
ข่าวด่วน!!!“สถานการณ์ไข้เลือดออกระบาดแรง”
ร้อนนี้ ระวัง! ไข้เลือดออก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ว่า กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วง 7 สัปดาห์ ปี 53 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ถึงสิ้นเดือน ก.พ.53 พบว่า ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นมาก มีจำนวนถึง 4,425 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 51 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ซึ่งมีรายงาน 2,914 คน และมีผู้เสียชีวิต 3 คน ซึ่งเป็นดัชนีที่ทำให้กระทรวงสาธารณสุข จะต้องเร่งดำเนินการป้องกันควบคุมโรค เนื่องจาก เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์คาดว่า ปีนี้ แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยจะสูงขึ้น
“ปัญหาโรคไข้เลือดออกปีนี้หนักแน่”
ก็สรุปว่า ปีนี้ประเทศไทยของเราจะมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากมาย ถ้าเราไม่ร่วมแรง ร่วมใจกันป้องกัน อย่างจริงจัง ลูกหลานของเราจะได้มีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออกลดตามมาด้วย
“การร่วมแรงร่วมใจกันป้องกัน กันอย่างจริงจัง” ทำได้อย่างไร
หัวใจสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จได้ก็คือ “ ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา” การมีส่วนร่วมนั้นหมายถึง การมีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา เห็นความสำคัญของปัญหา ร่วมเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ร่วมวางแผนในการแก้ปัญหา ร่วมดำเนินการในการแก้ปัญหา ร่วมตรวจสอบและร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาเรื่องโรคไข้เลือดออกนั้น ทำได้ง่ายมากถ้าพวกเราทุกคนมีส่วนร่วม ต้องเริ่มจากการตั้งใจเรียนรู้ให้เข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้ดีพอเสีย ก่อน แล้วเราจะรู้ว่าเราจะทำอย่างไรให้ลูกหลานของเรารอดพ้นจากโรคไข้เลือดออกได้
เดิมทีโรคไข้เลือดออกจะเป็นเฉพาะหน้าฝน แต่ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกจะเป็นได้ตลอด ทั้งปี โรคไข้เลือดออกเกิดจากการถูกยุงลายกัด เดิมลูกน้ำจะเปลี่ยนเป็นยุงลายได้ต้องใช้เวลา 8-10 วัน แต่ปัจจุบันลูกน้ำจะเปลี่ยนเป็นยุงลายได้ต้องใช้เวลาเพียง 5 วัน ยุงลายชอบกัดในช่วงเวลา 8.00-17.00 น เมื่อยุงลายมีเชื้อโรคไข้เลือดออกไปกัดคน เชื้อโรคไข้เลือดออก จะกระจายเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็วต่อจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากถูกกัดก็จะเริ่มป่วย
ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ไข้สูงอยู่ 2-3 วัน จากนั้นไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว และระยะนี้จะเป็นระยะที่มีเลือดออก บางรายอาจมีเลือดกำเดาไหลหรือเลือดออกตามไรฟัน ปวดท้องและอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระดำ ผู้ป่วยจะตัวซีด มือเท้าเย็น หายใจหอบ ซึมลงไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติ ซึ่งเป็นอาการระยะช็อค หากให้การช่วยเหลือไม่ทัน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในระยะนี้ สำหรับในรายที่ผู้ป่วยอาหารไม่หนัก ยังไม่เข้าถึงระยะช็อค ให้การช่วยเหลือทันเวลา ผู้ป่วยจะฟื้นไข้ และหายเป็นปกติ ภายใน 7-10 วัน
การรักษาโรคไข้เลือดออก ทำได้อย่างไร
อาการในระยะแรกของโรคไข้เลือดออก ไข้หวัด และอีกหลายโรคคล้ายคลึงกันคือ มีไข้ จึงแยกกันยากแต่โชคดีที่การปฏิบัติในระยะแรกของไข้หวัดและโรคไข้เลือดออก ปฏิบัติเหมือนกัน ดังนั้นถ้ามีคนในบ้านป่วยเป็นไข้ ควรปฏิบัติดังนี้คือ
1. ดื่มน้ำมาก ๆ
2. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณซอกคอ ซอกรักแร้ และบริเวณขาหนีบ เพราะเป็นที่ร้อนมากที่สุด
3. ให้กินยาลดไข้ พาราเซท หรือที่เรียกกันติดปากว่า ยาพารา นั่นเอง “ห้ามให้ยาลดไข้ชนิดอื่นโดยเด็ดขาด” เพราะถ้าเป็นโรคไข้เลือดออก ยาลดไข้ชนิดอื่นนั้นจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยต้องเสียชีวิตลงไปเพราะสาเหตุนี้
4. ให้กินอาหารตามปกติและควรดื่มน้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำต้มผัก น้ำต้มข้าวใส่เกลือเล็กน้อย หรือผงน้ำตาลเกลือแร่ที่เรียกว่า โอ อาร์ เอส ของสถานีอนามัยหรือของโรงพยาบาล ผสมน้ำดื่มเวลาหิว
5. ถ้าปฏิบัติตามดังกล่าวแล้ว อาการไม่ดีขึ้น เช่น ดื่มน้ำได้น้อยลงหรือไม่ได้เลย เช่น อาเจียนออกหมด ซึมลง หรือมีอาการอื่นที่น่าสงสัย ควรรีบไปสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลโดยเร็วเพื่อจะได้รับการรักษาทันเวลา
การป้องกันคงดีกว่าการรักษา ซึ่งสามารถทำได้ง่ายมากโดยทำดังนี้คือ
พวกเราทุกคน สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกได้ โดยร่วมกันกำจัดหรือลดแหล่ง
เพาะพันธ์ยุงลายที่อยู่ทั้งในและนอกบ้านเรือนและระวังอย่างให้ถูกยุงลายกัด แหล่งที่ยุงลายบ้านชอบวางไข่มากที่สุดได้แก่ จานรองขาตู้กันมด แจกันในบ้านหรือศาลพระภูมิ จานรองกระถางต้นไม้ โอ่งน้ำใช้ โอ่งน้ำดื่ม ถังซีเมนต์ ห้องน้ำ โอ่งซีเมนต์ขนาดใหญ่ ถังเก็บน้ำ และภาชนะอื่น ๆ ภายนอกบ้าน ซึ่งการป้องกันทำได้ดังนี้คือ
1. ใส่เกลือประมาณ 2 ช้อนชา หรือผงซักฟอก หรือน้ำส้มสายชู หรือเติมน้ำเดือดลงในจานรองขาตู้กันมด อย่างน้อยทุกๆ 4 วัน เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย
2. ต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกัน ไม่ว่าในบ้านหรือศาลพระภูมิ อย่างน้อยทุกๆ 4 วัน ควรเทน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งทุกกระถาง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรือใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ ถังน้ำหรือภาชนะที่ใส่น้ำใช้ในห้องน้ำห้องส้วม ควรทำความสะอาดอย่างน้อยทุกๆ 4 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเหนือระดับน้ำประมาณ 1-2 เซนติเมตร เพราะเป็นบริเวณที่ยุงลายชอบวางไข่
3. ปิดฝาตุ่มน้ำกิน น้ำใช้ ให้มิดชิดและครอบปิดตลอดเวลา อย่าให้ยุงลายลงวางไข่ได้
4. ในกรณีน้ำใช้ ถ้าไม่สามารถปิดฝาภาชนะที่ใส่ให้มิดชิดได้ หรือไม่สามารถปิดตลอดเวลาได้ ให้ใส่ยาฆ่าลูกน้ำ หรือทรายอะเบทที่ห่อด้วยผ้าที่น้ำซึมผ่านได้ดี (ทรายอะเบท 1 ช้อนชาต่อน้ำ 5 ปี๊ป) สามารถป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายได้นานประมาณ 3 เดือน หรือใส่ปลาหางนกยูงในอ่างน้ำหรือตุ่มน้ำที่ปิดฝาไม่ได้ ตุ่มละ 2-3 ตัว เพื่อให้ปลากินลูกน้ำ ไม่ควรใส่
ทรายอะเบทในน้ำดื่ม เพราะทำให้มีกลิ่นไม่น่ารับประทาน
5. อย่าปล่อยให้น้ำขังบริเวณในและนอกบ้าน ควรกลบ ถม หรือระบายทิ้งเสีย เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่
6. ภาชนะที่ไม่ใช้แล้วเช่นตุ่มน้ำ ชาม กระป๋อง กะลา กระบอกไม้ไผ่ ยางรถยนต์ ฯลฯ ควรนำไปทิ้งหรือฝังดิน เพื่อไม่ให้มีน้ำขัง
7. อย่าให้ยุงกัดในช่วงเวลา 8.00-17.00 น. ควรให้เด็กนั่งเล่นหรือนอนในที่สว่าง ๆ ถ้าจะให้ดีควรนอนกางมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด
8. เมื่อพบว่าในบ้านเรือนมียุงชุกชุม ถ้าทำได้ อาจหาซื้อสารพ่นยาฆ่ายุงมาใช้ และเมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาพ่นสารเคมีกำจัดยุงในหมู่บ้านหรือชุมชน ควรให้ความร่วมมือและทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ควรปิดภาชนะที่มีอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มให้มิดชิด และไม่ควรให้มีคนอยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะคนชราและเด็ก เมื่อมีการพ่นสารเคมี เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีแปดเปรื้อน และคนจะได้ไม่เกิดอันตราย
ไข้เลือดออก เป็นปัญหาของพวกเราทุกคน ถ้าพวกเรา ไม่ร่วมแรง ร่วมใจกันอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ปัญหานี้ก็คงไม่สามารถแก้ไขได้สำเร็จ ลูกหลานของเราก็จะต้องเป็นเหยื่อของฆาตกรรายนี้ได้
พวกเราคงไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้นใช่ไหมครับ
ถ้าเราทอดทิ้งปัญหาโรคไข้เลือดออกมากเท่าไร
ลูกหลานของเราก็มีโอกาสได้รับภัยจากโรคร้ายน้ำมากเท่านั้น
ร่วมแรง ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกๆ 4 วัน
เพื่อความสุขของทุกคนในครอบครัวตลอดไป
ขอส่งท้ายด้วยชีวิตจริงของ “น้องปาล์ม” อายุ 12 ขวบ ซึ่งคุณแม่นั้นเป็นครู ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้ง ๆ ที่แม่พาลูกไปรักษากับหมอที่โรงพยาบาล แต่โชคร้ายเพราะอาการรุนแรงสุดความสามารถของแพทย์ที่จะรักษาได้ แม่ได้กล่าวว่า “สิ่งที่ลูกของแม่ได้รับมันทรมานเหลือเกิน ลูกใจเด็ดมาก แม้ตัวใกล้จะตาย ก็ยังมีสติอยู่ตลอดเวลา จนถึงนาทีสุดท้าย” และได้ฝากบทกลอน อาลัยคิดถึงลูกว่า
รู้ลูกดี ก็ต่อเมื่อ ไม่มีลูก
ใจพันผูก ลูกรัก น่าสงสาร
เจ้าต้องจบ ชีวิตยัง เยาวมาลย์
ด้วยวัยวาน สิบสองปี ศรีกาญจนา
ขอให้บทเรียนชีวิตของ “น้องปาล์ม” จงเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเห็นความสำคัญของโรคไข้
เลือดออก เพื่อจะได้ร่วมแรง ร่วมใจ ช่วยกันให้ลูกหลายของเรา รอดพ้นจากภัยโรคร้ายนี้ให้ได้ ทุกคนนะครับ
โรงเรียนเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญ
ในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก
เนื่องจากผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก กลุ่มอายุที่เป็นมากที่สุดคือ 5-14 ปี
โรงเรียนป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างไร
โรงเรียนเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้ เลือดออกในชุมชนและโรงเรียน ของตนเอง กิจกรรมหลักที่โรงเรียนสามารถดำเนินงานเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
ได้แก่
1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึง ภัยของโรคไข้เลือดออก และรู้จักวิธีป้องกันและแนะนำผู้ใกล้ชิดที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้
2. ทำให้โรงเรียนปลอดลูกน้ำและยุงลาย โดยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำยุงลาย
3. ช่วยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน
4. ให้ความร่วมมือช่วยเหลือบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
แม้สามารถทำให้โรงเรียนปลอดภัยจากยุงลายหรือไม่เป็นแหล่งเชื้อโรคไข้เลือด ออก แต่นักเรียนก็ยังมีโอกาสติดเชื้อจากที่บ้านหรือชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย โรงเรียนสามารถช่วยส่งเสริมการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่บ้านและชุมชนได้เป็น อย่างดี ด้วยวิธีดังนี้คือ
1. ให้การบ้านนักเรียน ครูมอบหมายการบ้านให้นักเรียนสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้อยยุงลายที่ บ้านของตนเองและของเพื่อนบ้าน ในช่วงเดียวกับการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน
2. นำนักเรียนร่วมกิจกรรมรณรงค์ในชุมชน เด็กนักเรียนซึ่งเป็นที่รักและเอ็นดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง มักได้รับการต้อนรับด้วยดีจากประชาชน ตลอดจนนักเรียนจะมีโอกาสได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม และยังได้รับประสบการณ์ในการกำจัดยุงลายเพื่อเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนใน ห้องเรียนอีกด้วย
การจัดกิจกรรมดังกล่าว ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องจึงจะได้ผล
หากทำได้ ควรจัดให้มีทุกเดือน
บทสรุป
การเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ส่งผลกระทบตามมามากมาย เช่น เป็นภาระของครอบครัว มีผลต่อการเรียน ต่อการทำงานและค่าใช้จ่ายในการรับบริการ การรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของครอบครัวผู้ป่วย ตลอดจนอาจมีผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนวันอันสมควร
ด้วยเหตุนี้ปัญหาโรคไข้เลือดออกจึงเป็นปัญหาที่พวกเราทุกคนในสังคม ควรที่จะช่วยกันแก้ไขอย่างจริงจัง ในการที่จะได้ป้องกันและลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย และเพื่อลดผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพของประชาชนจากการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับชาติ
การที่จะแก้ปัญหาเรื่องโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. ประชาชนชาวไทยทุกคน จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง
2. จะต้องมีการร่วมแรง ร่วมใจกันในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง จริงใจ และต่อเนื่อง จากทุกหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชน ประสานงานกับความร่วมมือจากชุมชนและประชาชนในชุมชน
ช่วยกันนะครับเพื่อลูกหลานอันเป็นที่รักของเราจะได้ไม่เจ็บป่วยและเสียชีวิตไปด้วยโรคร้ายนี้

นายแพทย์สุรศักดิ์ โควสุภัทร์
นายแพทย์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหนองคาย   

อาการไข้เลือดออกในเด็ก

อาการทางคลินิกของโรคไข้เลือดออก

            หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการคล้ายไข้เดงกี่ (dengue fever หรือ DF) ไปจนถึงมีอาการรุนแรงมากจนถึงช็อกและถึงเสียชีวิตได้ โรคไข้เลือดออกมีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลังดังนี้

1. ไข้สูงลอย 2-7 วัน
2. มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง

3. มีตับโต กดเจ็บ

 4. มีภาวะการไหลเวียนล้มเหลว/ภาวะช็อก

อาการไข้ผู้ ป่วยโรคไข้เลือดออกทุกรายจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้อาจสูงถึง 40-41 องศาเซลเซียส ซึ่งบางรายอาจมีชักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชักมาก่อน หรือในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง (flushed face) และตรวจดูคอก็อาจพบมี injected pharynx ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรืออาการไอ ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคจากโรคหัดในระยะแรกและโรคระบบทางเดินหายใจได้ เด็กโตอาจบ่นปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา ในระยะไข้นี้ อาการทางระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย คือ เบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งในระยะแรกจะปวดทั่วๆไปและอาจปวดที่ชายโครงขวาในระยะที่มีตับโต ส่วนใหญ่ไข้จะสูงลอยอยู่ 2-7 วัน ประมาณร้อยละ 15 อาจมีไข้สูงนานเกิน 7 วัน และบางรายไข้จะเป็นแบบ biphasic ได้ อาจพบมีผื่นแบบ erythema หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้

อาการเลือดออกที่ พบบ่อยที่สุดคือที่ผิวหนัง โดยจะตรวจพบว่าเส้นเลือดเปราะ แตกง่าย โดยการทำ tourniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆกระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) อาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อกในรายที่มีภาวะช็อก อยู่นาน

ตับโต  ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย ตับจะนุ่มและกดเจ็บ ภาวะช็อกประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง มีภาวะการไหลเวียนล้มเหลวเกิดขึ้น เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด/ช่องท้องมาก เกิด hypovolemic shock ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน) ผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบา เร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงโดยมี pulse pressure แคบเท่ากับหรือน้อยกว่า 20 มม.ปรอท (ปกติ 30-40 มม.ปรอท) ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกส่วนใหญ่จะมีความรู้สติ พูดรู้เรื่อง อาจบ่นกระหายน้ำ บางรายอาจมีอาการปวดท้องเกิดขึ้นอย่างกะทันหันก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดเป็นภาวะทางศัลยกรรม ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง รอบปากเขียว ผิวสีม่วงๆ ตัวเย็นชืด จับชีพจรและวัดความดันไม่ได้ (profound shock) ความรู้สติเปลี่ยนไป และจะเสียชีวิตภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังเริ่มมีภาวะช็อก หากว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาช็อกอย่างทันท่วงทีและถูกต้องก่อนที่จะเข้าสู่ ระยะ profound shock ส่วนใหญ่ก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ในรายที่ไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดลงผู้ป่วยอาจจะมีมือเท้าเย็นเล็กน้อยร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของ ชีพจรและความดันเลือด ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการไหลเวียนของเลือด เนื่องจากการรั่วของพลาสมาออกไปแต่ไม่มากจนทำให้เกิดภาวะช็อก     ผู้ป่วยเหล่านี้เมื่อให้การรักษาในช่วงระยะสั้นๆก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

ขณะนี้ ยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไข้เลือดออก การรักษาโรคนี้เป็นการรักษาตามอาการและประคับประคอง ซึ่งได้ผลดีถ้าให้การวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก แพทย์ผู้รักษาจะต้องเข้าใจธรรมชาติของโรคและให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด จะต้องมี nursing care ที่ดีตลอดระยะเวลาวิกฤตประมาณ 24-48 ชั่วโมงที่มีการรั่วของพลาสมา

การดูแลรักษาผู้ป่วย มีหลักปฏิบัติดังนี้

     1. ในระยะไข้สูง บางรายอาจมีการชักได้ถ้าไข้สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน จำเป็นต้องให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกร็ดเลือดเสียการทำงาน จะระคายกระเพาะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญอาจทำให้เกิด Reye syndrome ควรให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราวเวลาที่ไข้สูงเท่านั้น (เพื่อให้ไข้ที่สูงมากลดลงเหลือน้อยกว่า 39 องศาเซลเซียส) การใช้ยาลดไข้มากไปจะมีภาวะเป็นพิษต่อตับได้ ควรจะใช้การเช็ดตัวช่วยลดไข้ด้วย

      2. ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำและเกลือโซเดียมด้วย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือ สารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มครั้งละน้อยๆ และดื่มบ่อยๆ

      3. จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ช็อกมักจะเกิดพร้อมกับไข้ลดลงประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วยเป็นต้นไป ทั้งนี้แล้วแต่ระยะเวลาที่เป็นไข้ ถ้าไข้ 7 วันก็อาจช็อกวันที่ 8 ได้ ควรแนะนำให้พ่อแม่ทราบอาการนำของช็อก ซึ่งอาจจะมีอาการเบื่ออาหารมากขึ้น ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำเลย หรือมีอาการถ่ายปัสสาวะน้อยลง มีอาการปวดท้องอย่างกะทันหัน กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ควรแนะนำให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการเหล่านี้

      4. เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้การรักษาได้ แพทย์จะตรวจเลือดดูปริมาณเกร็ดเลือดและ hematocrit และอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกร็ดเลือดและ hematocrit เป็นระยะๆ เพราะถ้าปริมาณเกร็ดเลือดเริ่มลดลงและ hematocrit เริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือด และอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย

      5. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกที่ยังมีไข้ สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้ยาไปรับประทาน และแนะนำให้ผู้ปกครองเฝ้าสังเกตอาการตามข้อ 3 หรือแพทย์นัดให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลเป็นระยะๆ โดยตรวจดูการเปลี่ยนแปลงตามข้อ 4 ถ้าผู้ป่วยมีอาการแสดงอาการช็อก ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย และถือเป็นเรื่องรีบด่วนในการรักษา

อาการของไข้เลือดออกในเด็ก

โรคไข้เลือดออก อัตรายสำหรับเด็กเล็ก ถึง 15 ขวบ

 โรคติด เชื้อที่สำคัญโรคหนึ่งในช่วงฤดูฝนที่พบได้บ่อยคือ โรคไข้เลือดออก โรคนี้นับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทย เนื่องจากมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้ทุกปี บางปีก็พบการระบาดใหญ่ และโรคมีความรุนแรงทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้เป็นจำนวนมาก เช่น ในปี พ.ศ.2530 มีรายงานผู้ป่วยถึง 92,005 ราย มีผู้เสียชีวิต 414 ราย ประชาชนจึงควรรู้จักโรคนี้ไว้บ้างเพื่อที่จะสามารถป้องกันและให้การดูแลผู้ ป่วยได้อย่างถูกต้อง


โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญและพบได้บ่อยคือ ไวรัสเดงกี่(Dengue Virus) ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีอาการรุนแรงมักติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ไวรัสอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุคือ ไวรัสชิกุนกุนยา(Chikungunya Virus) ซึ่งพบน้อยกว่าและมีอาการไม่รุนแรง ไวรัสทั้งสองชนิดติดต่อมาสู่คนได้ต้องอาศัยยุงเป็นพาหะ ยุงที่เป็นพาหะสำคัญคือยุงลาย ซึ่งชอบหากินในเวลากลางวันโดยการกัดและดูดเลือด ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เกิดจากการถูกยุงลายที่มีเชื้อดังกล่าวกัด โรคไข้เลือดออกมักพบเป็นในเด็กอายุตั้งแต่2ปีถึง14ปี ช่วงอายุอื่นอาจพบได้บ้างแต่ค่อนข้างน้อย โรคนี้มักจะระบาดมากในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน เพราะเป็นช่วงที่มีฝนตกชุก มีแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพิ่มขึ้น นอกจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้วโรคนี้ยังพบได้ประปรายทุกเดือน


ลักษณะอาการของโรค
สามารถแบ่งระยะของโรคไข้เลือดออกได้เป็น3 ระยะคือ
1. ระยะไข้สูง อาการของโรคเริ่มจากเด็กจะมีไข้สูงประมาณ 39-40 องศาเซลเซียส เมื่อให้กินยาลดไข้ ไข้มักจะไม่ลดลง เด็กมักมีหน้าแดงๆ ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก บางรายอาจมีอาการอาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีจุดเลือดออกเล็กๆตามผิวหนัง อาการไข้ส่วนใหญ่มักเป็นอยู่ประมาณ3-5 วัน จากนั้นไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว

2. ระยะช็อกหรือระยะเลือดออก
หลังจากไข้ลดจะมีอาการอาเจียน กินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวาเนื่องจากตับโตขึ้น ซึมลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว ปัสสาวะน้อยลง บางรายอาจมีอาการเลือดออกผิดปกติ เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำหรือถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง รายที่อาการรุนแรงมาก อาจคลำชีพจรและวัดความดันโลหิตไม่ได้ ถ้าได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที เด็กอาจเสียชีวิตได้ ระยะนี้จะกินเวลา24-28ชั่วโมง นับจากไข้เริ่มลดลงมาปกติ ถ้าสามารถประคับประคองให้เด็กผ่านระยะนี้ไปได้ เด็กจะพ้นอันตรายและเข้าสู่ระยะที่3
3. ระยะฟื้นตัว ระยะนี้อาการของเด็กโดยทั่วไปจะดีขึ้น สังเกตได้จากเด็กจะเริ่มทานอาหารได้ ไม่อาเจียน อาการปวดท้องเริ่มลดลงเนื่องจากตับที่โตค่อยๆ เล็กลง เด็กจะดูสดชื่นขึ้น และจะหายปกติในที่สุด
เด็กที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกไม่จำเป็นต้องมีอาการรุนแรงเสมอไป มีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงดังกล่าวข้างต้น ซึ่งต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่แล้วมักมีอาการไม่รุนแรง เด็กพวกนี้หลังจากมีอาการไข้สูงอยู่3-5 วัน พอไข้ลดลงอาการทั่วไปก็จะดีขึ้นและกลับมาเป็นปกติใน1-2 วัน
การรักษาไข้เลือดออก
-ไม่มียาเฉพาะ รักษาตามอาการ พยายามให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้ามีความสงสัย ว่าไข้ยังสูง มีตัวแดง เกิดในหน้าฝน ต้องรีบนำไปเทสต์ทันที
-ห้ามให้เด็กรับประทานยา แอสไพริน หรือยาแก้อักเสบอื่น ๆ เพราะอาจทำให้เลือดออกในกระเพาะได้ ถ้าไข้ไม่ลง ให้เช็ดตัว และให้พาราเซตามอล ในกรณีที่ไข้ไม่ยอมลง ให้หมั่นเช็ดตัว อย่าให้พาราเซตามอลเกินขนาด
การป้องกันไข้เลือดออก
1. ระวังไม่ให้ถูกยุงกัด โดยให้เด็กนอนในห้องที่มีมุ้งลวด หรือมีมุ้งครอบตัวเด็ก
2. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ควรปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้มิดชิดเพื่อไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่หรืออาจใส่ทรายอะ เบทลงในภาชนะใส่น้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำก็ได้
3. เด็กที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในระยะ5 วันแรกของโรค(ซึ่งเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสอยู่ในกระแสเลือด) ไม่ควรให้ถูกยุงกัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
4. วัคซีนป้องกันโรคขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยไม่มีใช้ในปัจจุบัน

Link
https://www.healthcorners.com
https://healthy.moph.go.th
https://www.tinyzone.tv

อัพเดทล่าสุด