ภัยเงียบมะเร็งลำไส้ใหญ่


3,504 ผู้ชม

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไม่อาจอธิบายได้แน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค แต่สันนิษฐานได้ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง...



โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไม่อาจอธิบายได้แน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค แต่สันนิษฐานได้ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พันธุกรรมหากมีญาติสายตรงคือ พ่อ แม่ หรือพี่-น้อง ที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น และปัจจัยเสี่ยงแวดล้อม เช่น อาหารที่รับประทน ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง คือ อาหารที่มีไขมันสูง หรือ เนื้อแดง เป็นต้น ส่วนอาหารอื่นๆ เช่น อาหารที่ผ่านการแปรรูปของหมักดอง แหนม ไส้กรอก เป็นต้น

การตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มที่มีอาการ
โดยอาการที่เกิดจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จะมีหลากหลาย ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งที่เกิดเป็นมะเร็ง เช่น ถ่ายอุจจาระแล้วมีเลือดมีมูกปนออกมา ปวดท้องเป็นๆ หายๆ ถ่ายอุจจาระผิดปกติไปจากเดิม มีภาวะโลหิตจางที่หาสาเหตุอื่นแล้วไม่พบ ในกลุ่มนี้ ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

2.กลุ่มที่ไม่มีอาการ
 
ในกลุ่มนี้คือไม่มีประวัติญาติพี่น้องสายตรงที่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขับถ่ายปกติ ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุ 50 ปี สามารถตรวจคัดกรองได้ 2 วิธี

1) การตรวจอุจจาระ

เป็นการตรวจหาเลือดที่ปนออกมาในอุจจาระ เพราะบางครั้งเลือดที่ออก อาจจะมองไม่เห็นด้วยสายตา การตรวจทำได้โดยใช้สารเคมีตรวจเพื่อหาเลือด หรือ องค์ประกอบของเลือดที่ปนอยู่ในอุจจาระ เป็นการตรวจที่มีความไวสูง สามารถตรวจพบได้แม้มีปริมาณเลือดเพียงเล็กน้อย ถ้าตรวจพบว่าสงสัยมีเลือดปนมาในอุจจาระ ต้องตรวจเพิ่มเติมต่อ เพื่อหาว่ามีรอยโรคอยู่ในทางเดินอาหารหรือไม่ ทำได้โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนักด้วยการตรวจอุจจาระ ควรทำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง

2) การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

เป็นการตรวจที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถตรวจพบก้อนเนื้องอกที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ได้ แม้จะมีขนาดเล็กและยังไม่แสดงอาการและ เมื่อตรวจพบก้อนเนื้อก็จะตัดชิ้นเนื้อผ่านกล้อง เพื่อนำไปส่งตรวจพิสูจน์ว่าเป็นก้อนเนื้อร้ายหรือไม่ และป้องกันไม่ให้กลายเป็นมะเร็งได้ในอนาคต ถ้าการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ไม่พบความผิดปกติ อาจพิจารณาส่องตรวจซ้ำทุก 10 ปี ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือการดูแลสุขภาพ มีการศึกษาพบว่า ถาลดการรับประทานอาหารไขมันลง 10% เพิ่มไฟเบอร์ในมื้ออาหารให้มากขึ้น เพิ่มกากใยในอาหารที่รับประทาน อาหารที่ไม่ผ่านการขัดสี การเพิ่มกากใยในลำไส้ทำให้เราขับถ่ายดีขึ้น ถ้าเราขับถ่ายปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

แม้จะไม่มีอาการก็ตาม ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะบางครั้งถึงแม้ไม่มีอาการผิดปกติ แต่อาจจะมีติ่งเนื้ออยู่ในลำไส้ใหญ่ การตัดติ่งเนื้อออกด้วยการส่องกล้องจะเป็นการป้องกันไม่ให้ติ่งเนื้องอกนี้โตขึ้น และกลายเป็นมะเร็งในที่สุด
ที่มา                 health.haijai.com

อัพเดทล่าสุด