ถ้าไม่อยากฟอกไตตอนแก่ อยู่ให้ห่างสิ่งนี้ไว้ อะไรบ้างที่ไม่ควรทำ


ผู้ป่วยโรคไตในระยะแรกมักจะไม่มีอาการแสดงใดๆ เนื่องจากไตสามารถปรับการทำงานให้สมดุลได้แม้เหลือเพียง 50 เปอร์เซ็นต์จากปกติ แต่เมื่อใดที่การทำงานของไตลดเหลือ 25 เปอร์เซ็นต์ จะเริ่มแสดงอาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ซีด คันตามตัว บวมตามใบหน้า แขนขา ปัสสาวะมากตอนกลางคืน จึงควรตรวจร่างกายประจำปีเพื่อคัดกรองโรคไตในเบื้องต้น
โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไต เช่น อายุมากกว่า 60 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือดอื่นๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเกาต์ มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ หลายครั้ง และผู้ป่วยที่ทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน หากผู้ป่วยโรคไตรู้จักทะนุถนอมไตจะทำให้มีชีวิตยืนยาวโดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการล้างไต ฟอกเลือด และปลูกถ่ายไต
วิธีการตรวจหาความผิดปกติและป้องกันโรค
1. ตรวจร่างกายประจำปี เพื่อคัดกรองโรคไตในเบื้องต้น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไต เช่น
– ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
– ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือดอื่นๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเกาต์
– ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต ผู้
– ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ หลายครั้ง
– ผู้ป่วยที่ทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
– ผู้ที่สัมผัสกับสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน

2. ชะลอความเสื่อมของไต
หากผู้ป่วยโรคไตรู้จักทะนุถนอมไตอย่างถูกวิธีจะทำให้พวกเขามีชีวิตยืนยาวโดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการล้างไต ฟอกเลือด และปลูกถ่ายไต วิธีการถนอมไตมีดังต่อไปนี้ ได้แก่
– ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ คือ ระดับต่ำกว่า 130/80 มิลิเมตรปรอท
– ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน
– ควบคุมและหลีกเลี่ยงอาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ เพื่อไม่ให้ระดับของเสียในร่างกายเพิ่มขึ้น
– เน้นการทานโปรตีนจากเนื้อปลาและไข่ขาว เนื่องจากย่อยง่ายและมีคุณค่าทางอาหารสูง
– หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม ของหมักดอง ขนมขบเคี้ยวต่างๆ และอาหารสำเร็จรูป โดยเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและอาการบวม
– หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน เช่น กะทิ เนื้อติดมัน ของทอด ไข่แดง อาหารทะเล เป็นต้น เพราะถ้าหากมีไขมันในเลือดสูงจะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและเป็นผลเสียต่อไต
– งดสูบบุหรี่
– ออกกำลังกายเบาๆที่จะช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น เช่น บริหารร่างกายอยู่กับที่ เดิน เป็นต้น
– ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ วันละประมาณ 8 -10 แก้ว

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารหวาน มัน เค็ม ดื่มน้ำสะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ซื้อยาทานเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จะเป็นการป้องกันที่ดีที่จะช่วยให้คุณมีร่างกายที่แข็งแรง ไตแข็งแรงได้ตลอดไป
ที่มา                   www.deethojai.com 

อัพเดทล่าสุด