เคลียร์แบบชัดๆ สิ่งใดบ้างที่อิสลามกินได้ สิ่งใดที่อิสลามห้ามกิน


4,779 ผู้ชม

หลาย ๆ ท่านอาจเข้าใจผิดว่าในสิ่งที่อิสลามห้ามรับทานไม่ใช่เป็น หมูเพียงอย่างเดียวแต่...


ฮาลาลและฮารอมในอิสลาม

อัลลอฮฺทรงให้ความจำเริญ แก่มนุษย์ทั้งมวล ด้วยอาหารหลากหลายชนิดบนโลก และพระองค์ทรงอนุญาต ให้มนุษย์บริโภคสิ่งที่อนุมัติ (หะล้าล) และสิ่งที่ดีๆ ซึ่งมีมากมาย ซึ่งอัลลอฮฺได้ทรงตรัสไว้ มีความหมายว่า "มนุษย์เอ๋ย! จงบริโภคสิ่งอนุมัติที่ดี จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน และจงอย่าตามบรรดาก้าวเดิน ของชัยฏอน แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า" (อัลบะเกาะเราะฮฺ 168)
อาหารที่อัลลอฮฺทรงห้ามนั้นมีน้อย ซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้ มีความหมายว่า " จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ฉันไม่พบว่า ในสิ่งที่ถูกให้เป็นโองการแก่ฉันนั้น มีสิ่งต้องห้ามแก่ผู้บริโภค ที่จะบริโภคมัน นอกจากสิ่งนั้น เป็นสัตว์ที่ตายเอง หรือเลือดที่ไหลออก หรือเนื้อสุกร แท้จริงมันเป็นสิ่งโสมม หรือเป็นสิ่งละเมิด ซึ่งถูกเปล่งนาม อื่นจากอัลลอฮฺที่มัน ถ้าผู้ใดได้รับความคับขัน โดยมิใช่เป็นผู้แสวงหา และมิใช่ผู้ละเมิดแล้วไซร้ แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้น เป็นผู้ทรงอภัยโทษ เป็นผู้ทรงเอ็นดูเมตตา" (อัลอันอาม 6-145) 
ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามรับประทานสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารที่มีเขี้ยวเล็บ, นกทุกชนิดที่มีกรงเล็บ (บันทึกโดยมุสลิม 6/60) และท่านได้ห้ามทานเนื้อลาบ้าน (บันทึกโดย al-Mukhari in al-Fath, no. 4215)
อาหารทั่วไปในปัจจุบันนี้ บางชนิดหะรอมชัดเจน เช่น เนื้อจากสัตว์ที่ตายเอง โดยไม่ได้เชือด อย่างถูกต้อง ตามหลักการอิสลาม และเนื้อสุกร อาหารบางชนิด ประกอบด้วยส่วนผสม ที่หะรอม หรือส่วนผสม ที่ผลิตจากอาหารหะรอม ซึ่งเราต้องตรวจสอบว่า มันมาจากอะไร เพื่อที่จะตัดสินได้ว่า มันหะล้าลหรือหะ รอม ส่วนเจลาตินนั้น มีที่มาจากหนัง กระดูกหรือเนื้อเยื่อ ของสัตว์ที่หะรอม เช่น สุกร เจลาติน ที่ได้มาจากคอลลาเจน ของสุกรนั้น หะรอม แม้ว่าสุกรจะเปลี่ยนสภาพ เป็นเกลือแล้วก็ตาม ซึ่งในทัศนะที่ถูกต้องนั้น ถือว่าหะรอม เพราะที่มาของมัน คือสุกรซึ่งหะรอม 
ไขมัน ที่เราใช้ในอาหารนั้น มีที่มาจากพืชหรือสัตว์ ถ้ามาจากพืชนั้น แน่นอนว่าหะล้าล ถ้าหากมันไม่ได้ผสม กับสิ่งที่ไม่สะอาด (นะญิส) หรือมีสิ่งปนเปื้อนอื่นใด แต่ถ้าเป็นไขมันจากสัตว์ ซึ่งอาจจะเป็นสัตว์ ที่อนุญาตให้รับประทาน หรือสัตว์ที่ไม่อนุญาต ก็ได้ ถ้าหากมันมาจากสัตว์ที่หะล้าล ก็อยู่ในหุกุ่ม (กฎเกณฑ์) เดียวกับเนื้อของสัตว์นั้น แต่ถ้ามันมาจากสัตว์ที่หะรอม (เช่น สุกร) เราก็ต้องพิจารณาว่า มันใช้ในอาหาร หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น 
* ถ้าหากใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร เช่น สบู่ นักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกัน แต่ทัศนะที่ถูกต้องคือหะรอม 
* ถ้าหากใช้ในอาหาร เช่น ไขมันหมูที่ใช้ในขนมหวาน หรืออาหารอื่นนั้น หะรอม 
สำหรับ เนยแข็ง (cheese) ถ้าทำจากนมของสัตว์ ที่ไม่อนุญาตให้รับประทาน นักวิชาการมีมติเอกฉันท์ ที่ไม่อนุญาตให้ทานเนยแข็งนั้น แต่ถ้าทำจากนมของสัตว์ ที่อนุญาตให้รับประทาน และใช้เอนไซม์เรนเน็ต ที่ได้จากสัตว์ที่เชือด อย่างถูกต้อง ตามหลักการอิสลาม และไม่มีส่วนผสม ที่เป็นนะญิส (ไม่สะอาด) ก็รับประทานได้ สำหรับเรนเน็ตได้มาจากสัตว์ตาย (ตายเองโดยไม่ได้เชือดอย่างถูกต้อง) นักวิชาบางท่าน มีความเห็นว่ารับประทานได้ แต่ในทัศนะที่ถูกต้อง คือมันหะรอมเช่นกัน, ส่วนเรนเน็ตจากสัตว์ ที่เป็นนะญิส เช่น สุกร นั้น ไม่ควรรับประทาน (ดู Ahkaam al-At’imah fi’l-Sharee’ah al-Islamiyyah by al-Tareeqi, p. 482) 
มีหลายกรณี ที่ไม่ชัดเจนสำหรับมุสลิม คือไม่รู้ที่มาของวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งทางที่ดี คือให้เกรงกลัวอัลลอฮฺ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่สงสัย ดังหะดีษที่รายงาน โดยท่าน บุคอรีย์ และมุสลิม ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา จาก ท่านอบีอับดิลลาฮินนัวะมาน บุตรของชีริน ร. ด. ย อันฮุมา ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซู้ลลั้ลลอฮ์ (ซ,ล) ได้กล่าวว่า แท้จริงสิ่งที่อนุญาตนั้นชัดเจน และสิ่งที่ห้ามนั้นก็ชัดเจน แต่ในระหว่างทั้งสองนั้น มีประการที่สงสัยเกิดขึ้น ในกฎข้อบังคับของมัน และผู้คนโดยมากแล้ว ไม่ทราบความแน่นอนของมัน ฉะนั้น ผู้ใดที่กลัวว่าตัวของเขา จะตกเข้าไปอยู่ในสิ่งที่สงสัยแล้ว ก็จงให้ศาสนาของเขา และศักดิ์ศรีของเขา พ้นเสียจากตำหนิติเตียนเถิด และผู้ใดได้ตกเข้าไปอยู่ ในสิ่งหรือประการที่สงสัยแล้ว ก็เท่ากับเขาได้ตกเข้าไปอยู่ ในสิ่งนั้น หรือประการที่ห้ามแล้ว ประดุจดังคนเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเขาทำการเลี้ยงสัตว์ อยู่ในที่รอบๆ สถานที่หวงห้าม มันก็ใกล้ ที่จะเข้าไปในที่นั้นแล้ว โปรดทราบเถิดว่า แท้จริงทุกๆเจ้าของ ที่เป็นผู้ปกครองนั้น เขาหวงห้าม โปรดทราบเถิดว่า และแท้จริงการห้ามของอัลลอฮ์นั้น คือบรรดาสิ่งที่ห้ามของพระองค์ โปรดทราบเถิดว่า และแท้จริงในร่างกายนั้น มีเนื้อยู่ก้อนหนึ่ง ในเมื่อมันดีแล้ว ร่างกายทั้งหมดก็ดี แต่ในเมื่อมันเสียแล้ว ร่างกายทั้งหมดก็เสีย โปรดทราบเถิดว่า เนื้อก้อนนั้นก็คือ หัวใจ (รายงานโดยท่าน บุคอรีย์ และมุสลิม)
ส่วนผู้ที่ตกลงไปในการกระทำ สิ่งที่คลุมเครือ เขาก็ได้ตกลงไปในเรื่องที่ต้องห้าม เช่นเดียวกับผู้ที่เลี้ยงปศุสัตว์ ในที่ดินที่ต้องห้าม (เช่นสวนของคนอื่น) ไม่ช้ามันก็จะเข้า (ไปกิน) ใน(สวน) นั้น จงจำไว้ว่า ผู้ปกครองทุกคน มีขอบเขตที่ต้องห้าม จงจำไว้เถิดว่า ที่อัลลอฮฺทรงห้ามนั้น คือสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงอนุมัติ จงจำไว้ว่า ในร่างกายนั้น มีเนื้อก้อนหนึ่ง เมื่อมันดี ร่างกายนั้น ก็ดีด้ว ยแต่เมื่อมันเสีย ร่างกายก็จะเสียไปด้วย จงจำไว้ว่ามันคือ หัวใจ " (หะดีษนี้บันทึกโดยบุคอรีและมุสลิม) 
จากหะดีษข้างต้นเรา ได้บทเรียนว่า อาหารโดยทั่วไปนั้น หะล้าล นอกจากสิ่งที่มีความชัดเจนว่า มันหะรอม เช่น สัตว์ตายเอง, เลือด, สัตว์ที่ถูกเชือด เพื่ออื่นจากอัลลอฮฺ, สัตว์ที่เชือด โดยไม่ได้กล่าวพระนามของอัลลอฮฺ ฯลฯ ถ้าหากว่ามันชัดเจนว่า มีส่วนผสมจากสิ่งหะรอม ในอาหารนั้น ก็จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง อาหารนั้น ถ้าคุณไม่แน่ใจว่า มันหะรอมหรือไม่ (โดยปราศจากการกังวลเกินไป หรือการกระซิบกระซาบจากชัยฏอน) มันก็เป็นการดีกว่า ที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น เพื่อป้องกันไว้ก่อน ด้วยความยำเกรงอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ยิ่ง

สิ่งที่ศาสนาอิสลามห้ามรับประทาน

1) สัตว์ดุร้ายที่ห้ามรับประทาน ได้แก่ สัตว์ที่มีเขี้ยวงาแข็งแรง และใช้เขี้ยวงานั้นทำร้าย เช่น สุนัข สุกร หมาป่า หมีแมว ช้าง เสือ เสือโคร่ง เสือดาว และลิง เป็นต้น ส่วนสัตว์ที่มีเขี้ยวงาที่ไม่แข็งแรง และไม่ถึงขั้นที่จะใช้ทำร้ายได้ ก็ไม่ห้ามรับประทาน
2) ห้าม (ฮะรอม) รับประทาน สัตว์ทุกชนิดที่สุนัตให้ฆ่ามัน เช่น งู แมงป่อง อีกา เหยี่ยว หนู และสัตว์ที่ห้ามรับประทาน ไม่ว่าชาวอาหรับจะเห็นว่าน่ารับประทานหรือไม่ก็ตาม
3) สัตว์บกตัวเล็กๆ และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด เป็นสิ่งที่ฮะรอม เช่น มด แมลงวัน ด้วง แมลงที่กินมูลสัตว์ หนอน ตัวเรือด เหา จิ้งหรีด จิ้งจก เป็นต้น สัตว์ที่มีเหล็กในและมีพิษ เช่น ผึ้ง ต่อ แตน เป็นต้น ยกเว้น ตั๊กแตน เม่น แย้ หนูจิงโจ้ ส่วนหนอนในน้ำส้มและหนอนผลไม้นั้นศานสนาอภัยให้ ถ้าหากรับประทานไปพร้อมกับน้ำส้มหรือน้ำผลไม้
4) นกที่ฮะรอม ได้แก่ นกแก้ว นกยูง แร้ง บุฆอซะห์ นกสีขาวบินช้าตัวเล็กว่าเหยี่ยว มีกงเล็บไม่แข็งแรง คุตตอฟ นกชนิดหนึ่งที่หลังดำท้องขาวอยู่ตามบ้านเรือน ในฤดูฝนบินว่องไว และค้างคาว เป็นต้นฯ
5) สิ่งที่เปี้อนนะยิส(สิ่งสกปรก) และไม่สามารถทำความสะอาดได้ ได้แก่ ของเหลวทุกชนิดที่มีนะยิส ตกลงไป เช่น น้ำส้มและน้ำมันเป็นต้นนายิสที่สำคัญที่อยู่  7  ชนิด คือ
1. สุนัขและสุกร
2. สุรา ของมึนเมา  และแอลกอฮอล์
3. ซากสัตว์ หมายถึง สัตว์ที่ตายโดยไม่ได้เชือดตามหลักการอิสลามยกเว้น ปลาและตั้กแตน
4. เลือดที่หลั่งริน น้ำเหลือง น้ำหนอง ยกเว้นอวัยวะที่คล้ายเลือดแต่ไม่ใช่เลือด เช่น ตับและม้าม
5. ปัสสาวะ อุจจาระ และอาเจียน ของมนุษย์และสัตว์ที่ไม่สามารถบริโภคได้
6. ส่วนที่แยกออกจากสัตว์ขณะที่สัตว์นั้นยังมชีวิตยกเว้นผมและขน
7. นมสัตว์ที่เนื้อของมันไม่อนุมัติให้รับประทาน เช่น นมลา นมแมว นมสุกร นมสุนัข ซึ่ง ถือเสมือนเนื้อของสัตว์เหล่านั้น จึงจัดเป็นนายิส
นายิสหากสร้างความสกปรกให้แก่ภาชนะ เครื่องใช้ เสื้อผ้า หรือสถานที่แล้วจำเป็นต้องทำความสะอาดตามหลักการที่ได้กำหนด ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วถือว่าเป็นความผิดหรือไม่ฮาลาล

 6)สิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เข่น ก้อนหิน ดิน กระจก ยาพิษ ฝิ่น ยาเสพติ เป็นต้นฯ 

อัพเดทล่าสุด