เตือนภัย!!ยาอันตรายยอดแย่ที่มีส่วนผสมของ “ยาต้านแบคทีเรีย”


เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2559 ที่ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดแถลงข่าว เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย

พบว่ามีรายงานการวิจัยระบุ ในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา อย่างน้อยปีละ 20,000-38,000 คน ส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 46,000 ล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมหรือเกินความจำเป็น และในปัจจุบันยังมีทะเบียนตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมอย่างแพร่หลายตามท้องตลาด

เเละได้ทบทวนรายการยาต้านแบคทีเรียในประเทศเพื่อคัดเลือกรายการยาที่ควรถอนทะเบียนตำรับยาออกจากประเทศไทยพบว่า มีตั้งแต่ยาอมที่ไม่ควรมีส่วนผสมของยาต้านเชื้อแบคทีเรีย เพราะ 80% ของอาการเจ็บคอไม่ได้เกิดจากเชื้อดังกล่าวและอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาในลำไส้

เช่นเดียวกับยาแก้ท้องเสียที่ 80% เกิดจากเชื้อไวรัส โดยยาอมที่มีส่วนประกอบของยาปฏิชีวนะ (ยาต้านแบคทีเรีย) โดยเฉพาะสูตรยาที่มีนีโอมัยซิน (Neomycin) เพราะยาปฏิชีวนะนีโอมัยซินไม่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเจ็บคอ แต่ออกฤทธิ์ได้ต่อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ เมื่อกลืนยาลงไปจะชักนำให้เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะกลุ่มที่มีชื่อว่าอะมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycoside) ทั้งกลุ่ม ซึ่งยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้เป็นยาที่ใช้ช่วยชีวิตคนที่ติดเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด

และมีผลทำให้การรักษายุ่งยากเพราะต้องรักษาด้วยยาที่แพงกว่าปกติหรืออาจต้องฉีดยาวันละหลายครั้ง ซึ่งผู้ป่วยต้องเดินทางมาโรงพยาบาลหรือต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อฉีดยาแทนที่จะใช้ยารับประทานอยู่ที่บ้าน ต้นตอของปัญหาคือเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่มากเกินความจำเป็นและใช้อย่างไม่ถูกต้อง เพราะสามารถหาซื้อยาเหล่านี้ได้ทั่วไป

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ เมื่อเริ่มมีอาการที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ เช่น มีไข้ และอาการทางระบบทางเดินหายใจ หรือท้องเสีย ถ่ายเหลว ควรให้การรักษาประคับประคองตามอาการอย่างเหมาะสม เช่น ให้ยาแก้ไอ ยาลดอาการคัดจมูก ลดไข้ ในช่วงที่มีอาการเท่านั้น ไม่ควรให้ยาบรรเทาอาการในช่วงที่ไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านแบคทีเรียมารับประทานเอง เพราะอาจเสี่ยงต่อเชื้อดื้อยารุนแรงจนรักษาไม่ได้ในอนาคต

และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบบัญชียายอดแย่ที่มีส่วนผสมของยาต้านเชื้อแบคเรียได้ที่ www.thaidrugwatch.org หรือ www.thaihealth.or.th

https://www.thaijobsgov.com/jobs=65514

อัพเดทล่าสุด