สายตาสั้น เกิดจากอะไร แนะการรักษาสายตาสั้น


4,648 ผู้ชม


สายตาสั้น (Myopia, Nearsightedness) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยประมาณ 25% ของเด็กในวัยเรียน อาจเกิดขึ้นเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ และสายตาทั้ง 2 ข้างอาจจะสั้นไม่เท่ากันก็ได้ โดยผู้ป่วยจะมีอาการมองเห็นได้ชัดเจนในระยะใกล้ ๆ แต่จะมองเห็นได้ไม่ชัดในระยะไกล ๆ โรคนี้มักพบเป็นกันหลายคนในหมู่ญาติพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน และมักพบได้ในคนเมืองมากกว่าคนชนบทและเพศหญิงสายตาสั้นมากกว่าเพศชาย

การมีสายตาปกติจะต้องประกอบไปด้วยอวัยวะที่ช่วยการหักเหแสงได้สัดส่วนกับความยาวของดวงตา ส่วนของตาที่ทำหน้าที่หักเหของแสงคือ กระจกตาและแก้วตา ซึ่งในคนปกติจะมีกำลังหักเหแสงของดวงตาประมาณ 63 ไดออปเตอร์ (เกิดจากกระจกตา 43 ไดออปเตอร์ และจากแก้วตา 20 ไดออปเตอร์) และมีความยาวของลูกตาประมาณ 24 มิลลิเมตร

ผู้ที่มีสายตาสั้น แสงจากวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ ๆ จะสามารถตกลงบนจอตาได้พอดีตามกฎและหลักการของการหักเหของแสง ดังนั้นผู้ที่มีสายตาสั้นจึงมองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ๆ ได้อย่างชัดเจนเป็นปกติ สายตาสั้นอาจเกิดจากกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ จึงทำให้มีกำลังหักเหแสงมากเกินไป ลำแสงจึงไปรวมกันก่อนถึงจอประสาทตา แต่ในบางรายอาจจะเกิดจากการมีลูกตายาวผิดปกติจนทำให้ลำแสงรวมกันก่อนถึงจอประสาทตาก็ได้

เราคงคุ้นตากับคนใส่แว่นใช่ไหมคะ ถ้าเป็นเด็กๆ รวมไปถึงวัยรุ่นส่วนมากจะเกิดจาก อาการสายตาสั้น แต่ถ้าเป็นวัยกลางคนขึ้นไปจนถึงคนมีอายุ ก็จะใส่เพราะว่า อาการสายตายาว
เรารู้จักคำว่า สายตาสั้น กันมานาน แต่เราทราบไหมคะว่า สายตาสั้น เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้องสงสัยเหล่านี้กัน

สายตาสั้น เกิดจากอะไร

หลายคนเข้าใจว่า สายตาสั้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้สายตาที่ผิดวิธี เช่น การจ้องมองโทรศัพท์นานๆ ดูโทรทัศน์ใกล้ๆ อ่านหนังสือนานๆ เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว อาการสายตาสั้น นั้นเกิดจากลักษณะเฉพาะบุคคลหรือเป็นพันธุกรรม

โดยทั่วไปแล้ว คนที่มีสายตาปกติจะมีการทำงานร่วมกันของกระจกตา เลนส์ตา เมื่อมองวัตถุใดวัตถุหนึ่งภาพวัตถุนั้นจะผ่านกระจกตาเข้ามาและผ่านเลนส์ตาอีกครั้ง ลำแสงจะหักเหทำให้ภาพไปตกที่จอประสาทตาพอดี

ส่วนคนที่มี สายตาสั้น ภาพของวัตถุที่ผ่านกระจกตาและเลนส์ตาจะรวมตัวก่อนที่จะถึงจอประสาทตา ทำให้คนที่ สายตาสั้น ไม่สามารถมองวัตถุที่อยู่ไกลได้ชัดนั่นเอง

วิธีแก้ปัญหา สายตาสั้น

สำหรับคนที่มีสายตาสั้น โดยผ่านการตรวจสายตาด้วยจักษุแพทย์แล้วจำเป็นที่ต้องใส่แว่น หรือใส่คอนแทคเลนส์ที่จะช่วยปรับให้สายตาสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ชัดเหมือนคนที่มีสายตาปกติ
โดยเลนส์ที่นำมาใช้ทำแว่นสำหรับคน สายตาสั้น คือ เลนส์เว้าที่จะช่วยปรับให้ภาพวัตถุไปตกที่จอประสาทตาเหมือนคนที่สายตาปกติ ส่งผลให้คนที่สายตาสั้นมองเห็นภาพวัตถุที่อยู่ไกลได้ชัดเหมือนคนปกตินั่นเอง


การเหนื่อยล้าของสายตา

ส่วนคนที่มีการใช้โทรศัพท์นานๆ ดูทีวีใกล้ๆ อ่านหนังสือ มองแสงจ้า จะก่อให้เกิดการล้าของสายตา และอาจจะก่อให้เกิดการปวดหัวตามมา

ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจผิดว่า นั่นเป็นสัญญาณของอาการ สายตาสั้น วิธีแก้ไขควรที่จะพักสายตาจากสิ่งที่จ้องอยู่ และพยายามลดพฤติกรรมเหล่านั้น

รวมทั้ง การรับประทานอาหารบำรุงสายตาที่ประกอบไปด้วยวิตามินเอ สารที่ก่อให้เกิดสีเหลือง สีแดงในผักผลไม้ ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานของเซลล์ ที่ทำหน้าที่ในการมองเห็น

ดวงตา เป็นหน้าต่างของหัวใจ ดังนั้นเราควรที่จะ ถะนุถนอมดวงตาของเราให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าหากมีการผิดปกติของสายตา เช่น สายตาสั้น ก็ควรหาวิธีแก้ไขให้ถูกวิธี

แต่ถ้าสายตายังปกติ แต่รู้ตัวว่า มีการใช้สายตาหนัก จนก่อให้เกิดการเหนื่อยล้าของสายตา ก็ควรหยุดพักการใช้สายตาบ้าง และควรดื่มน้ำมากๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสายตา เช่น ผักผลไม้ที่มีสีเขียว เหลือง และแดง เป็นต้น

https://www.thaijobsgov.com/jobs=60800

อัพเดทล่าสุด