สาเหตุของอาการเหน็บชา ที่คุณไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด!!


7,627 ผู้ชม


หลายคนอาจสงสัยว่าเหน็บชา  อาการเหน็บชา เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะป้องกันอาการเหน็บชาได้ด้วยวิธีใด เรามีคำตอบให้คุณทุกคำถาม

อาการเหน็บชา เกิดได้อย่างไร

อาการเหน็บชาเกิดขึ้นเมื่อมีแรงกดทับส่วนใดส่วนหนึ่งบนแขนหรือขา ทำให้เส้นเลือดไม่สามารถนำออกซิเจนและน้ำตาลกลูโคสไปยังเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาทได้ มีผลคือ เส้นประสาทไม่สามารถสื่อสัญญาณไปยังสมอง จึงทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บจี๊ดเหมือนถูกเข็มแทง


การป้องกันการขาดสารอาหารบางชนิดอาจ มีส่วนทำให้เกิดอาการเหน็บชาได้ ดังนั้นผู้ที่มีอาการเหน็บชาเป็นประจำ ควรกินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 1 จำพวกเมล็ดข้าวต่างๆ ที่ไม่ขัดขาว เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวแดง หรือข้าวโอ๊ต เนื้อหมู ตับ ไข่ ถั่ว มันเทศ รำข้าว และกินวิตามินบี 1 ปริมาณ 30 - 100 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งอาจใช้เวลา 1 - 2 เดือนกว่าอาการจะดีขึ้น แต่ถ้ายังไม่ทุเลา ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อหาสาเหตุอื่นๆ ที่มีปัจจัยสัมพันธ์กับอาการเหน็บชา เช่น โรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาหรือภาวะอุดตันของหลอดเลือด

สาเหตุของอาการเหน็บชา ที่คุณไม่ควรมองข้าม

ชาปลายเท้าและปลายมือเข้าหาลำตัว

-เกิดจากปลายประสาทอักเสบหรือเสื่อม

-ขาดวิตามินบี 1 บี 6 หรือ บี 12 จากโรค เช่น โรคไต มะเร็ง และจากยาหรือสารพิษ เป็นต้น

ชามือ (แต่เท้าไม่ชา)

-ชาปลายนิ้วมือเกือบทุกนิ้ว แต่นิ้วก้อยไม่ชาหรือชาน้อย มักเป็นกลางคืนหรือตอนตื่นนอน

-ในตอนกลางวันมักชามากในบางท่า เช่น ชูมือ ขี่มอเตอร์ไซค์ ถือโทรศัพท์ หรือใช้มือทำงานหนัก สาเหตุเกิดจากเอ็นกดทับเส้นประสาทตรงข้อมือ ต้องลดงานที่ใช้มือลง เลี่ยงท่าที่ทำให้ชา บางคนอาจต้องฉีดยาที่ข้อมือ

-ชานิ้วก้อย นิ้วนาง และขอบมือด้านเดียวกัน แต่ไม่เลยเกินข้อมือ เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับตรงข้อศอก ให้เลี่ยงท่าที่ทำให้ชา

-ถ้าชาเลยข้อมือขึ้นมาถึงศอก จะเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณกระดูกไหปลาร้า

ชาหลังมือไม่เกินข้อมือ โดยเฉพาะบริเวณง่ามระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่ต้นแขน ห้ามนั่งเอาแขนพาดพนักเก้าอี้

-ถ้าชาเลยขึ้นมาถึงแขน เกิดจากเส้นประสาทบาดเจ็บบริเวณรักแร้

-ชาเป็นแถบตั้งแต่แขนลงไปถึงนิ้วมือ เกิดจากกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท

ชาเท้า (แต่มือไม่ชา)

-ชาหลังเท้าขึ้นมาถึงหน้าแข้ง เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณใต้เข่าด้านนอก ให้เลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง ขัดสมาธิ พับเพียบ และห้ามใช้อะไรรองใต้ข้อพับเข่าเวลานอน

-ชาฝ่าเท้า เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่ตาตุ่มด้านในหรือในอุ้งเท้า ให้เลี่ยงท่าที่ทำให้ชาและลดการยืนหรือเดินนานๆ

-ชาทั้งเท้า (ข้างใดข้างหนึ่ง) มักชาขึ้นมาถึงใต้เข่า เกิดจากเส้นประสาทบาดเจ็บที่สะโพก

-ชาด้านนอกของต้นขา คล้ายยืนล้วงกระเป๋ากางเกง เส้นประสาทจะถูกกดทับที่ขาหนีบ ควรหลีกเลี่ยงการงอพับบริเวณสะโพก

-ชาเป็นแถบจากสะโพกลงไปถึงเท้า เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

อาการชาอื่นๆ

-ชาครึ่งซีก (ซ้ายหรือขวา) ชาครึ่งตัว(บนหรือล่าง) ชาบริเวณใบหน้าและศีรษะ หรือชาเป็นแถบบริเวณอื่นๆ

หลังจากที่ได้อ่านกันแล้ว เราก็ได้ทราบถึงสาเหตุของอาการเหน็บชากันไปแล้ว ถ้าคุณเกิดมีอาการเหน็บชาก็ลองสังเกตุอาการของตัวคุณเองและทำการผ่อนคลายบริเวณที่มีอาการเหน็บชา แต่ถ้าทำการผ่อนคลายแล้ว แต่คุณยังไม่หาย แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยว่าอาการเป็นอย่างไรแบะถึงขั้นอาการกระดูกเคลื่อนทัยเส้นประสาทหรือไม่ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี-healthfood.muslimthaipost.com

ที่มา: https://www.thaijobsgov.com/jobs=59430

อัพเดทล่าสุด