5 เรื่องน่ารู้กับการใช้ปรอทวัดไข้ เมื่อลูกไม่สบาย


3,944 ผู้ชม

ช่วงฤดูฝนแบบนี้ ลูกมักไม่สบายกันได้ง่ายๆ ซึ่งการดูแลลูกไม่สบายในเบื้องต้น คุณแม่จะต้องวัดอุณหภูมิร่างกายของลูกก่อนเป็นอันดับแรก...


ช่วงฤดูฝนแบบนี้ ลูกมักไม่สบายกันได้ง่ายๆ ซึ่งการดูแลลูกไม่สบายในเบื้องต้น คุณแม่จะต้องวัดอุณหภูมิร่างกายของลูกก่อนเป็นอันดับแรก โดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส แต่หากวัดได้อุณหภูมิที่สูงกว่านี้แสดงว่าลูกไม่สบาย การวัดไข้ให้กับลูกคุณแม่สามารถทำได้โดยการใช้ปรอทวัดไข้

1. การใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ใช้วัดทางหู เมื่อลูกไม่สบายหน้าที่ผ่านมา  

วิธีใช้ : ใส่ที่รูหู โดยดึงใบหู ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม (ดึงขึ้น และเบน ไปทางด้านหลังเล็กน้อย) ควรทำการวัดซ้ำ อย่างน้อยหนึ่งหรือสองครั้ง และหาเป็นค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ (เหมาะสำหรับเด็กวัย 3 ขวบขึ้นไป เนื่องจากมีความไวต่ออุณหภูมิของหูได้ดีมาก เพราะใช้เทคโนโลยีในการตรวจหาความร้อนด้วยอินฟราเรด)

2. การใช้ปรอทวัดทางก้น เมื่อลูกไม่สบายหน้าที่ผ่านมา  

วิธีใช้ : ตรวจสภาพของปรอทว่าอยู่ในสภาพปกติพร้อมที่จะใช้งานได้ ให้หล่อลื่นปลายของปรอทที่มีกระเปาะปรอทอยู่ด้วยวาสลิน ให้ลูกอยู่ในท่านอน (คว่ำ, หงาย หรือ ตะแคง) ค่อยๆ สอดปรอทเข้าทางรูก้น ประมาณครึ่งนิ้ว และให้เวลาประมาณ 2 นาที ก่อนดึงออกมาอ่าน (ปรอทวัดไข้ทางก้นเหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด – 4 ขวบ ซึ่งการวัดด้วยปรอทวัดทางก้นจะให้ค่าที่มีความแม่นยำสูง)

3. การใช้ปรอทวัดทางปาก หรือรักแร้ เมื่อลูกไม่สบายหน้าที่ผ่านมา  

วิธีใช้ : ตรวจสภาพของปรอทก่อนการใช้ทุกครั้ง เอาปลายกระเปาะของปรอท ให้เด็กอมไว้ใต้ลิ้น และปิดปาก หรือหนีบรักแร้ เป็นเวลาประมาณ 2-3 นาที (ปรอทวัดไข้ทางปาก หรือรักแร้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ขวบขึ้นไป)

4. การใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล เมื่อลูกไม่สบายหน้าที่ผ่านมา

วิธีใช้ : เหมือนกับปรอทวัดแบบทั่วไป (เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล เหมาะสำหรับทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ อ่านได้ง่ายเพราะเป็นตัวเลข และมีความแม่นยำกว่าปรอทแก้วเล็กน้อย)

5. การใช้แถบเทปวัดไข้ เมื่อลูกไม่สบายหน้าที่ผ่านมา

วิธีใช้ : เอาแถบเทปทาบลงบนหน้าผาก หากมีเหงื่อควรเช็ดให้แห้งก่อน แล้วค่อยวางทาบไว้จนกว่าจะเห็นตัวเลขขึ้นที่แถบ (เหมาะสำหรับเด็กทุกวัย แต่ค่าที่ได้อาจจะมีความคลาดเคลื่อนมากกว่าเครื่องวัดแบบอื่นๆ เล็กน้อย) หากลูกมีไข้สูงควรพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ หรือดูแลลดไข้ไม่ถูกวิธี ลูกอาจมีอาการชักจากไข้ขึ้นสูงได้ ซึ่งจะส่งผลอันตรายต่อร่างกายค่ะ

ที่มา: th.theasianparent.com