สารพัดประโยชน์ของ 'เกาลัค'


2,285 ผู้ชม


เกาลัด  หรือเชสนัท (Chestnut)  ภาษาจีนเรียกว่า  “เลียกก้วย”  “ไต่เลียก”  หรือ “ปังเลียก”  เป็นพืชจำพวกถั่ว หรือพืชเมล็ดเปลือกแข็ง  ที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก ให้ไขมันต่ำ และอุดมด้วยวิตามินบี มีแร่ธาตุ  โพแทสเซียม และกรดโฟลิก  เช่นเดียวกับอัลมอนด์  และมะม่วงหิมพานต์   ผลเกาลัดมีลักษณะค่อนข้างกลม  สีเขียวมีขนแหลม  เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลและแตกออก  ภายในมีเมล็ด  และใช้ส่วนเนื้อในเมล็ดกินเป็นอาหารในประเทศจีนนิยมกินเกาลัดทั้งดิบและสุก  ชาวจีนถือว่าเกาลัดเป็น  “ราชาแห่งเมล็ดพันธุ์พืช”  จึงมีการปลูกอย่างแพร่หลายในจีนและผลิตสำหรับส่งออกเมื่อนำเกาลัดไปคั่วในทรายร้อน ๆ  จะมีรสหวานอร่อย


เกาลัคเป็นพืชที่มีลำต้นขนาดใหญ่  และเมล็ดมีปริมาณเนื้อในมาก  ทั้งยังมีรสชาติดี  สามารถนำมารับประทานได้  จนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในต่างชาติ  เช่น  จีน  ญี่ปุ่น  สำหรับในประเทศไทยแล้ว  เกาลัคยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าใดนัก  และยังมีขายเฉพาะบางพื้นที่  มีมากในบริเวณตลอดถนนเยาวราช เพราะเกาลัคเป็นผลไม้อันเป็นที่นิยมของประชาชนคนไทยเชื้อสายจีน


ในประเทศกึ่งร้อนตั้งแต่ประเทศจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  อิตาลี  จะมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นและอุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเกาลัค  จึงมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศดังกล่าว  โดยเกาลัคที่ปลูกนั้นจะมีขนาดลำต้นสูงใหญ่  และให้ผลผลิตที่ยาวนาน  ปกติแล้วเกาลัคจะให้ผลผลิต  เมื่อมีอายุได้ประมาณ 7 ปี  คือเริ่มผลิดอกที่เป็นสีขาวนวลราวเดือนมิถุนายน  จากนั้นดอกจะค่อย  ๆ พัฒนากลายเป็นผลที่มองดูไกล ๆ แล้วจะมีลักษณะคล้ายกับผลเงาะที่มีขนสีเขียวปกคลุมโดยรอบ  ซึ่งจะพัฒนาจนมีขนาดโตเท่ากับผลเงาะโรงเรียน  จากนั้นเมื่อผลแก่ผิวนอกที่เป็นหนามคลุมก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล  และปริแยกออกเผยให้เห็นเม็ดเกาลัค  ที่มีลูกกลม ๆ สีน้ำตาลดำ  เรียงตัวกันอยู่ภายใน 3 - 5 เม็ด  เมื่อนำไปคั่วและแกะเปลือกสีน้ำตาลดำออกมา  ก็จะพบกับเนื้อในที่เป็นสีขาวขุ่น   นำมาทานแล้วจะมีรสชาติมันเคี้ยวเพลินจนยากที่จะอดใจไหว  นอกจากความอร่อยมันเคี้ยวเพลินแล้ว  เกาลัคยังมีประโยชน์อีกมากมาย  ดังนี้ค่ะ

     • เกาลัดมีฤทธิ์อุ่น รสหวาน มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้าม และกระเพาะอาหาร บำรุงลม แก้ร่างกายอ่อนแอ

     • แก้ไอ ละลายเสมหะ แก้อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเดิน

     • ห้ามเลือด ช่วยการไหลเวียนเลือด

     • แก้อาการถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล

     • แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และอาเจียนเป็นเลือด


วิธีการทำเกาลัค  

     • ต้มเกาลัด 500 กรัมกับน้ำตาลทราย 180 กรัม จนเปื่อยนิ่ม แล้วนำมายีและกดด้วยแม่พิมพ์ กินเป็นขนมหรือของว่างสำหรับเด็กที่มีกระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแอ และยังเหมาะกับผู้ป่วยหรือผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรงอีกด้วย

     • กินเกาลัดแห้ง 7 เมล็ดต่อวัน กับโจ๊กไตหมู ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังและปวดเท้าได้ หรือกินเกาลัดดิบ แก้คออักเสบ

     • เผาเปลือกเกาลัดแล้วนำมาบดเป็นผงให้ได้ 6 กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง 30 กรัม กินรักษาริดสีดวงทวาร

     • ต้มเกาลัด 60 กรัมกับพุทราจีนแห้ง 4 ผล และหมูเนื้อแดง กินบำบัดอาการหอบหืดหรือไอ


วิธีที่คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานกัน  ได้แก่
 

      •  เกาลัดคั่วในเม็ดทราย

       เกาลัดคั่วที่เห็นกันมาก ๆ มักจะมีเม็ดสีดำเล็ก ๆ คั่วรวมอยู่ด้วย บางคนอาจจะคิดว่าเป็นเมล็ดกาแฟจริง ๆ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่

          เม็ดสีดำเล็ก ๆ นั้น คือ เม็ดทรายขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เป็นทรายที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือที่เห็นตามตู้ปลาสีออกน้ำตาล พ่อค้าหรือแม่ค้าจะนำเอาทรายแห้งใส่ลงไปในกระบะใบใหญ่ พอทรายร้อนระอุได้ที่จนเป็นสีดำ ก็จะนำเอาลูกเกาลัดใส่ลงไป บางร้านเติมน้ำตาลทรายคั่วรวมกันให้ได้รสหวาน บางร้านเพิ่มกลิ่นหอมด้วยการใส่เมล็ดกาแฟคั่วลงไป  เหตุผลที่ต้องใช้เม็ดทรายเพราะเม็ดทรายช่วยเก็บความร้อนไว้ได้นาน ซึ่งดีสำหรับการทำให้เกาลัดสุกถึงเนื้อผลด้านใน และหากสังเกตกันดี ๆ เนื้อผลของเกาลัดนั้นจะไม่ติดกับเปลือก

          ดังนั้นการใช้ทรายที่ร้อนระอุตลอดเวลาจะช่วยให้เนื้อเกาลัด ค่อย ๆ สุก แต่ต้องหมั่นคนเพื่อไม่ให้เกาลัดไหม้ ซึ่งจะคั่วกันนาน 30-40 นาที เม็ดทรายนั้นใช้ได้นานกว่า 1 เดือน เรียกว่าคั่วเกาลัดได้หลายกระทะ จนทรายที่เป็นเม็ดเริ่มป่นเป็นผง แล้วจึงจะเปลี่ยนไปใช้เม็ดทรายชุดใหม่ต่อไปนี้ก็เข้าใจใหม่ว่า เกาลัดนั้นคั่วในทราย ไม่ใช่เมล็ดกาแฟอย่างที่เข้าใจกัน


ข้อควรระวัง

         -  ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร  เช่น  ท้องอืดบ่อย ๆ อาหารไม่ย่อย  ไม่ควรรับประทานเกาลัค

         -  ผู้ที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ  ร้อนใน  ตาบวม  ไม่ควรรับประทานเกาลัค

แหล่งที่มา: www.chinatownyaowarach.com

อัพเดทล่าสุด