การฝังเข็ม แพทย์ทางเลือก ฝั่งเข็ม ลดอาการปวด ปวดประจำเดือน


1,115 ผู้ชม


การฝั่งเข็ม ดูจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการรักษาในยุคปัจจุบันซึ่งการฝั่งเข็มนั้นมีขั้นตอนและหลายวิธี สำหรับวันนี้เป็นการฝั่งเข็มเพื่อลดอาการปวดประจำเดือนของคุณผู้หญิงกันค่ะ         การฝั่งเข็ม ดูจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการรักษาในยุคปัจจุบันซึ่งการฝั่งเข็มนั้นมีขั้นตอนและหลายวิธี สำหรับวันนี้เป็นการฝั่งเข็มเพื่อลดอาการปวดประจำเดือนของคุณผู้หญิงกันค่ะ 
แพทย์ทางเลือก ฝั่งเข็ม ลดอาการปวดประจำเดือน

แพทย์ทางเลือก ฝั่งเข็ม ลดอาการปวดประจำเดือน

การฝั่งเข็ม สำหรับคุณผู้หญิงนั้นประจำเดือนดูจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคุณใช่ไหมล่ะค่ะ บางเดือนคุณอาจจะต้องทรมานกับการปวดท้อง

หรือบางทีอาจจะร้ายแรงไปกว่านั้นคือการปวดไปตามที่ต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าจะปวดท้องน้อย ปวดเอว หรืออาการอื่นๆ ที่มีผลข้างเคียงในการรักษาโดยทั่วไป อาศัยการประคบอุ่นบริเวณท้องน้อย รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว ในกรณีที่รุนแรงอาจต้องใช้ยาฮอร์โมนเพศรักษา ซึ่งก็ยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
ฝังเข็มลดปวดได้อย่างไร
ในด้านการแพทย์ทางเลือกนั้น เราสามารถใช้การฝังเข็มมารักษาอาการปวดประจำเดือนได้ เนื่องจากการฝังเข็มมีฤทธิ์ปรับการทำงานของฮอร์โมนเพศให้กลับสู่สภาพสมดุล กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งมีมดลูกและรังไข่อยู่ภายในให้ไหลเวียนดีขึ้น ลดการคั่งของเลือด และทำให้กล้ามเนื้อผนังมดลูกและรังไข่คลายตัว จึงช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้
แพทย์จะใช้เข็มเล็กๆ ปักกระตุ้นจุดรับสัญญาณประสาท บริเวณแขนขาและท้องน้อย กระตุ้นประมาณ 30 นาที โดยทั่วไปจะรักษาในช่วงก่อนประจำเดือนจะมาประมาณ 2 สัปดาห์ กระตุ้นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อยับยั้งมิให้เกิดอาการปวดประจำเดือนขึ้นมาหรือบรรเทาอาการไม่ให้รุนแรง อย่างไรก็ตาม จำนวนเข็มและจำนวนครั้งในการฝังเข็มรักษานั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หากอาการปวดเพียงเล็กน้อยใช้ วิธีฝังเข็ม 1-2 ครั้ง อาการก็จะดีขึ้น แต่หากเป็นอาการปวดจากโรคร้ายจะต้องรักษาด้วยวิธีการให้ยาปรับฮอร์โมน หรือผ่าตัดส่องกล้อง จึงจะเป็นการดีที่สุด
ผู้ที่จะเข้ารับการฝังเข็ม จะต้องนอนหลับให้เต็มที่ในคืนก่อนมารับการฝังเข็ม ควรรับประทานอาหารก่อนมารับการรักษา แต่อย่าให้อิ่มเกินไป สวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ เพื่อความสะดวกในการฝังเข็ม
ระหว่างการปักเข็มผู้ป่วยอาจเกิดความรู้สึกได้ 2 แบบ คือ รู้สึกหนักๆ หน่วง ๆ ตื้อๆ ในจุดฝังเข็มในระหว่างที่เข็มปักคาอยู่ และหรือรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าแล่นแปลบๆ ไปตามเส้นลมปราณ เนื่องจากแพทย์จะปักเข็มไว้ข้างๆ เส้นประสาทบางเส้น
เพื่อผลการรักษาที่ดี แพทย์จะปักเข็มไว้ 20-30 นาที โดยอาจกระตุ้นด้วยมือหรือกระแสไฟฟ้า ในระหว่างการคาเข็ม ผู้ป่วยต้องพยายามอย่าขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็มเพราะเข็มจะบิดในกล้ามเนื้อ แม้ไม่เกิดอันตรายแต่อาจทำให้เจ็บมากขึ้นและมีเลือดออกตอนถอนเข็ม อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยสามารถขยับตัวได้บ้างเล็กน้อย แต่ถ้าหากมีอาการผิดปกติใดๆ เช่น รู้สึกหวิวๆ หน้ามืดจะเป็นลม แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ให้แจ้งแพทย์ในทันที
หลังจากการฝังเข็มแล้ว ควรดื่มน้ำอุ่นหลังการฝังเข็ม สำรวจร่างกายตนเองบริเวณฝังเข็ม ถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีเลือดออก มีรอยบวม รู้สึกเจ็บปวด ต้องแจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบทันทีเพื่อแก้ไขให้เป็นปกติก่อนกลับบ้าน งดการอาบน้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมงหลังการฝังเข็ม ถ้ามีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ตามปกติ อาการจะหายไปเองภายใน 24-48 ชั่วโมงโดยไม่มีอันตรายใดๆ

ข้อควรระวังในการฝังเข็ม
  • ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ต้องให้การรักษาอย่างระมัดระวัง
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน)
  • ผู้ป่วยโรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด
  • ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  • โรคที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างแน่นอน

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3276&sub_id=12&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด