โรคปอดบวม โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)


1,955 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ปอด  ระบบทางเดินหายใจ  ระบบโรคติดเชื้อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้  มีเสมหะ  ไอ 

บทนำ

ปอด (Lung) เป็นอวัยวะในระบบการหายใจที่อยู่ภายในทรวงอกทั้ง 2 ข้าง หากท่านไม่ทราบว่าปอดมีลักษณะอย่างไรขอให้ท่านนึกถึงปอดหมูที่วางขายในตลาด ปอดของคนเราก็มีลักษณะเช่นเดียวกันคือ เป็นเนื้อหยุ่นๆ มีสีออกชมพู ปอดมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซจากอากาศที่เราหายใจเข้าไป คือ ในช่วงที่เราหายใจเข้า ปอดจะทำหน้าที่นำก๊าซออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเข้าไปเลี้ยงร่างกาย และในขณะเดียวกัน ปอดก็จะขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการออกมากับลมหายใจ

เวลาปอดทำงาน เนื้อปอดจะมีการยุบตัวลง และพองตัวออกเหมือนกับการยุบ ตัวและการพองตัวของฟองน้ำ หากท่านนึกไม่ออกขอให้นึกถึงฟองน้ำในฝ่ามือ เวลาที่เราบีบมือ ฟอง น้ำจะยุบตัวลงเหมือนกับเนื้อปอดที่ยุบตัวในช่วงหายใจออก และในทำนองตรงกันข้าม เวลาเราคลายมือออก ฟองน้ำจะพองตัวออกเหมือนกับเนื้อปอดที่พองตัวออกในช่วงหายใจเข้า

ปกติเนื้อปอดนี้ เป็นอวัยวะที่ปราศจากเชื้อโรค เมื่อมีเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆที่ไม่ใช่เชื้อโรคก็ตามเข้าไปถึงเนื้อปอด จะส่งผลให้เนื้อปอดมีการอักเสบ และมีการบวมเกิดขึ้น

ปกติคนที่มีสุขภาพดี ร่างกายจะมีระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่ดี จะขจัดเชื้อโรค และของเสียในทางเดินหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค การขจัดเชื้อโรคและของเสียเหล่านี้ จะบกพร่องและเสื่อมลงได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การขาดอาหาร การเจ็บป่วยต่างๆ (เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี/HIV และภาวะทุพพลภาพที่ร่างกายเคลื่อนไหวได้จำ กัด) การได้รับยาบางชนิดที่มีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน (เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคมะ เร็ง ฯลฯ) ทั้งนี้ คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคลดลงนี้ หากปอดติดเชื้อ ก็จะเกิดปอดบวมได้ง่ายขึ้น และหากเกิดปอดบวมแล้ว ก็มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ได้ง่ายตามมา

ปอดบวม ปอดติดเชื้อ ปอดอักเสบ เหมือนกันหรือไม่?

ปอดบวม เป็นคำที่เราคุ้นเคย และรู้จักแพร่หลายกันดีทั้ง ผู้ป่วย บุคคลทั่วไป และบุคคลากรทางการแพทย์ ทุกวันนี้จะมีคำอีก 2 คำ คือ ปอดติดเชื้อ และปอดอักเสบ ที่อาจทำให้สงสัยและสับสนได้ว่าเหมือนกันกับปอดบวมหรือไม่ ซึ่งขออธิบายดังนี้

ลักษณะปอดที่บวมเป็นอย่างไร?

เมื่อเนื้อปอดบวมและอักเสบจะมีลักษณะอย่างไรนั้น ขอให้ท่านลองนึกถึงผิวหนังที่เป็นฝี เวลาเป็นฝี ผิวหนังและเนื้อบริเวณนั้นจะอักเสบและบวม มีของเสียจากฝีคือน้ำเหลืองและหนองเกิดขึ้น เนื้อปอดซึ่งมีลักษณะเดียวกับปอดหมูดังกล่าวข้างต้นแล้วก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกันคือ อักเสบ บวม และมีของเสียจากปอด แต่ของเสียที่เกิดจากปอดบวมนี้ คือ เสมหะ

ปอดบวมเกิดได้อย่างไร? มีอาการอย่างไร?

ปอดบวมเกิดขึ้นได้จากที่มีเชื้อโรคเข้าสู่เนื้อปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการหายใจหรือสำลักเอาเชื้อโรคเข้าไปในปอด มีบ้างที่เชื้อมาตากระแสโลหิต (เลือด) มีบางครั้งแต่น้อยมากที่เชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรงจากการถูกวัตถุมีคมแทงเข้าปอด

อาการของปอดบวม ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มักมีเสมหะ มีไข้ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย อา การเหล่านี้อาจมีไม่ครบทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็กเล็กๆ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยทุพพลภาพที่ไม่สามารถช่วยตัวเองและสื่อสารได้จำกัด ควรให้ความสนใจและสงสัยมากกว่าปกติ เนื่องจากอาการอาจไม่ชัดเจน เช่น ในผู้สูงอายุ อาจจะมีเพียงมีไข้ หรือตัวอุ่นๆและซึมลงเท่า นั้น อาจจะไอเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะไม่ไอให้เห็นก็ได้ เนื่องจากมีความจำกัดในการเคลื่อน ไหว และ/หรือกล้ามเนื้อไม่มีแรงพอที่จะไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดปอดบวมไหม? มีอันตรายมากหรือไม่?

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดบวม ได้แก่

อนึ่ง อันตรายจากปอดบวมนั้นจะมีหรือไม่มี และหากมีแล้วจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ

  1. มีปัจจัยเสี่ยงข้างต้นหรือไม่ หากมีก็ถือว่ามีอันตรายกว่าไม่มี และในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงนั้น หากมีหลายๆปัจจัย ย่อมจะมีอันตรายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
  2. ปอดบวมนั้นรุนแรงและมีอาการแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) หรือไม่ ซึ่งทั้ง 2 ประการนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการรักษา และมีผลต่อการรักษา ยกตัวอย่างเช่น
    1. ผู้ป่วยหนุ่มๆที่สุขภาพแข็งแรงดีอยู่แล้ว เมื่อเกิดปอดบวม อาจให้การรักษาโดยไม่จำ เป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และให้การรักษาเพียงยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานแบบผู้ ป่วยนอกก็อาจเพียงพอ
    2. ในทางตรงข้าม โรคแบบเดียวกันนี้ หากเกิดกับผู้สูงอายุ หรือมีปัญหาสุขภาพบก พร่องอยู่เดิม เช่น รับประทานอาหารได้น้อยมาก่อน ก็จะมีอาการแทรกซ้อนและควรรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งๆที่เป็นปอดบวมอย่างเดียวกัน
    3. ยิ่งกว่านั้น หากในกรณีเช่นเดียวกันนี้เกิดกับผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเบาหวาน และระ ดับน้ำตาลในเลือดสูงที่ไม่ควบคุมให้ดีมาก่อน และมีโรคไตเรื้อรัง มาพบแพทย์ล่าช้า อาการแทรกซ้อนนั้นก็จะมากขึ้นตามส่วน อาจถึงขั้นเสียชีวิต และอาจต้องรับตัวไว้ในห้องไอซียู (ICU, Intensive care unit) แทนที่จะรักษาในห้องพักผู้ป่วยทั่วไป

ทั้งนี้ อาการแทรกซ้อนจากปอดบวม เช่น การเกิดมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด การเกิดมีหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด การหายใจล้มเหลว ไตล้มเหลว เชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต (โลหิตเป็นพิษ หรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดช็อกหมดสติฯลฯ

โดยสรุป อันตรายจากปอดบวม และการมีผลแทรกซ้อนจะมากหรือน้อยขึ้นกับ อายุ สุข ภาพของผู้ป่วย และความรุนแรงของปอดบวมที่เกิดขึ้นว่า เป็นมากหรือน้อยเพียงใด ดังนั้นการไม่รักษาสุขภาพและอนามัย การมีโรคประจำตัว การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และรับประทานยาที่มีผล กระทบต่อสุขภาพ ฯลฯ จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความรุนแรงของปอดบวม

แพทย์วินิจฉัยโรคปอดบวมได้อย่างไร?

ปอดบวมวินิจฉัยได้โดย

 

รักษาปอดบวมได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาปอดบวม ประกอบด้วย

  1. การให้ยาปฏิชีวนะ หากในรายที่เป็นไม่มากและไม่มีอาการแทรกซ้อนอาจให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วยยาชนิดรับประทาน กรณีนอกจากนี้ การรักษาควรให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดแบบผู้ป่วยใน
  2. การรักษาประคับประคองตาอาการทั่วๆไป เช่น การให้ยาลดไข้ การให้สารน้ำทางหลอดเลือด การให้ออกซิเจน การให้อาหารเหลวทางสายให้อาหารลงกระเพาะอาหารในรายที่รับประทานอาหารเองไม่เพียงพอ ฯลฯ
  3. การรักษาอาการแทรกซ้อน เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่เหนื่อยและหายใจเองไม่เพียงพอ การให้ยาเพิ่มความดันโลหิต หากมีความดันโลหิตลดต่ำลง ฯลฯ
 

ปอดบวมรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?

ความรุนแรง และผลข้างเคียง (ภาวะแทรกซ้อน) ของปอดบวม อาจมีเพียงเล็กน้อย หรือถึงขั้นรุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ สามารถแยกได้เป็นกรณีดังนี้

  • รุนแรงเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานแบบผู้ป่วยนอก ผู้ ป่วยประเภทนี้มักเป็นผู้ป่วยที่อายุไม่มาก มีสุขภาพและรักษาสุขภาพและอนามัยดีอยู่ก่อนแล้ว และปอดบวมที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง อาการป่วยไม่ได้หนัก

    ยกตัวอย่าง เช่น คนไข้อายุ ๒๕ ปี สบายดีมาตลอด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และไม่ติดยาเสพติด รู้สึกมีไข้ เจ็บหน้าอก ไอมีเสมหะ แต่ยังรับประทานอาหารได้ดี ไม่รู้สึกเหนื่อย ได้รับประทานยาลดไข้ และมารับการตรวจ พบมีปอดบวม ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไปรับประทานที่บ้าน และนัดมาติดตามผลการรักษาแบบผู้ป่วยนอก

    จะเห็นได้ว่า อาการปอดบวมในรายนี้ อาจมีเพียงมีไข้ ไอ มีเสมหะ ไม่เหนื่อย ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้หรือใกล้เคียงปกติ การดูแลและรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานแบบผู้ป่วยนอก และไม่จำเป็นต้องพักรักษาในโรงพยาบาล การรักษาไม่ยุ่ง ยากแต่ประการใด

  • รุนแรงปานกลาง ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ป่วยสูบบุหรี่ และดื่มสุราประจำ เกิดปอดบวม ไม่ได้รับการวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ มาพบแพทย์หลังจากมีอาการหลายวัน การรักษาในกรณีนี้ จำเป็น ต้องรักษาในโรงพยาบาล และฉีดยาปฏิชีวนะเข้าหลอดเลือด นอกจากนี้ ยังมีอาการเหนื่อยกว่าปกติ และเบื่ออาหาร จำเป็นต้องให้ออกซิเจน และสารน้ำทางหลอดเลือด หากรับประทานอาหารไม่ได้ หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และหากไม่มีอาการแทรกซ้อน อาจใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่วัน เมื่ออาการทุเลา ไม่มีไข้ ผู้ป่วยสบายขึ้น แพทย์จึงอาจอนุญาตให้กลับบ้านได้ และรักษาต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอก

    ปอดบวมในกรณีเดียวกันนี้ เมื่อเกิดกับผู้สูงอายุ ไม่รักษาสุขภาพและอนามัย ไม่ได้มาพบแพทย์และไม่ได้รับการวินิจฉัยแต่แรก จำเป็นต้องรับไว้รักษาและให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดในโรงพยาบาล หากรับประทานอาหารไม่ได้หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือด และหากไม่มีอาการแทรกซ้อน อาจใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่วัน เมื่ออาการทุเลา ไม่มีไข้ ผู้ป่วยสบายขึ้น อาจอนุญาตให้กลับบ้าน และรักษาต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอก

    แต่รายเดียวกันนี้ หากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตต่ำ ก็จำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดนานขึ้น และหากยังเบื่ออาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอ แพทย์จะพิจารณาให้อาหารเหลวทางสายให้อาหารลงกระเพาะอาหาร หรือหากมีอาการหายใจหอบเหนื่อยมากขึ้นกว่าเดิม การให้ออกซิเจนอย่างเดียวไม่พอ อาจต้องใส่ท่อเข้าหลอดลมและช่วยการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย

    จะเห็นได้ว่าการรักษามีความยุ่งยากขึ้นตามลำดับต่างจากรายแรก คือ

    1. ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลแทนที่จะเป็นการรักษาตัวแบบผู้ป่วยนอก
    2. ต้องให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดแทนที่จะให้โดยการรับประทาน
    3. ให้การรักษาเสริมด้วยสารน้ำทางหลอดเลือด ให้ออกซิเจน
    4. อาจต้องช่วยการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
  • ระดับรุนแรง เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ เป็นโรคเบาหวาน และมีโรคหัวใจประจำตัว เมื่อเกิดปอดบวม มีไข้สูง หนาวสั่น ผลการวินิจฉัยพบว่าเป็นปอดบวมและมีน้ำท่วมปอด การรักษาในกรณีนี้ นอกจากต้องรับไว้รักษาในหอผู้ป่วยหนัก (ไอ ซี ยู) แทนที่จะเป็นการรักษาในหอผู้ป่วยทั่วไป และต้องได้รับการเจาะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดออกมาวิเคราะห์ทางห้อง ปฏิบัติการ และหากผลการวิเคราะห์น้ำที่เกิดจากปอดบวมนี้เป็นหนอง แพทย์จะต้องใส่ท่อระบายของเหลวเข้าไป เพื่อระบายเอาหนองออก และหากใช้วิธีนี้แล้วไม่สามารถระ บายหนองออกได้หมด จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเข้าช่องอก เพื่อเอาหนองที่เกิดขึ้นนั้นออกมาให้หมด ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า ปัญหาคนไข้รายนี้มีความซับซ้อนมากกว่า และเพิ่ม เติมนอกเหนือไปจากการรักษาผู้ป่วยรายที่ได้กล่าวข้างบนได้รับ คือ
    1. ต้องได้รับการเจาะน้ำที่เกิดขึ้นในโพรงเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเกิดแทรกซ้อนจากปอดบวม
    2. หลังจากนั้น อาจต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมด้วยการใส่สายระบายเข้าระบายของเหลว/หนอง
    3. หากการระบายหนองไม่เพียงพอ ก็ต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเอาหนองออก
  • ระดับรุนแรงมาก ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยสูงอายุ เป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง รับประทานอาหารได้น้อย เป็นปอดบวม ซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว ได้รับการนำ ส่งโรงพยาบาล พบว่าความดันโลหิตต่ำไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถดื่มน้ำ และกลืนอาหารได้ ผลการตรวจเลือดพบว่า ไตบกพร่องมาก น้ำตาลสูงมากจำเป็นต้องฉีดยาอินซูลิน (ยารัก ษาโรคเบาหวาน) เพื่อควบคุมน้ำตาล ผลวิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดงบ่งชี้ว่าออกซิเจนในเลือดต่ำ ผลเอกซเรย์ปอดพบว่าปอดบวมรุนแรงและเป็นบริเวณกว้าง หัวใจมีขนาดโตขึ้น ผลเพาะเชื้อจากโลหิตพบมีเชื้อขึ้นในกระแสโลหิต (โลหิตเป็นพิษ หรือ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด)

    การรักษากรณีนี้ จำเป็นต้องกระทำในห้องไอซียู โดยให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด ใส่ท่อเข้าหลอดลม และใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยการหายใจ ใส่สายให้อาหารเข้ากระเพาะอาหารเพื่อให้อาหารทางสายนี้ ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต และอาจต้องทำการฟอกไต

    ปัญหาและอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยรายนี้มีเพิ่มขึ้นและรุนแรงมากขึ้นกว่าผู้ป่วยรายข้างต้น คือ

    1. มีโรคประจำตัวหลายโรค และมีสุขภาพบกพร่องมาก่อน
    2. มีอาการแทรกซ้อนหลายประการคือ ไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถดื่มน้ำและกินอาหารได้ ไตเสื่อม ความดันโลหิตต่ำ(ช็อก) การหายใจล้มเหลว และโลหิตเป็นพิษ
    3. ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต ให้อาหารทางสายให้อาหารลงกระเพาะอาหาร ให้ยาอินซูลินควบคุมน้ำตาลในเลือด และอาจต้องทำการฟอกไต

    โดยสรุป จากตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นได้ว่าปอดบวมจะรุนแรงและมีอาการแทรกซ้อนได้ตั้งแต่

    1. อาการเล็กน้อย สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยารับประทานแบบผู้ป่วยนอก และไม่มีอาการแทรกซ้อนแต่ประการใด
    2. อาการปานกลาง ต้องรักษาในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด ให้ออกซิเจน แต่ทันทีที่อาการทุเลา ก็สามารถกลับมารักษาและรับประทานยาปฏิชีวนะต่อที่บ้านได้

      ในกรณีเดียวกันนี้ แต่หากยังรับประทานอาหารไม่ได้ ความดันโลหิตต่ำ ก็จำเป็น ต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น และต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด และได้รับอาหารทางให้อาหารลงกระเพาะอาหาร

    3. อาการรุนแรง มีอาการแทรกซ้อนจากปอดบวม เกิดมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ต้องได้รับการเจาะน้ำจากโพรงเยื่อหุ้มปอด หากน้ำที่เกิดแทรกซ้อนเป็นหนอง จำเป็น ต้องใส่สายระบายเข้าโพรงเยื่อหุ้มปอด ยิ่งไปกว่านั้นอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเอาหนองออก หากการใส่สายระบายไม่สามารถทำให้หนองหมดไปได้
    4. อาการรุนแรงมาก เนื่องจากสูงอายุ มีโรคประจำตัวหลายชนิด ไตเสื่อม ไม่รู้สึก ตัว และปอดบวมกระจายเป็นบริเวณกว้าง มีเชื้อกระจายเข้าสู่กระแสโลหิต จำเป็นต้องได้ รับการรักษาเช่นเดียวกับกรณีข้างบน ร่วมกับใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาเพิ่มความดันโล หิต หากไตเสื่อมมากขึ้น อาจต้องทำการฟอกไต
 

ควรดูแลตนเองที่บ้านอย่างไรเมื่อมีปอดบวม? ควรพบแพทย์เมื่อไร? ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร?

เมื่อท่านสงสัยว่าจะเป็นปอดบวมโดยมีอาการต่างๆดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นกล่าวคือ มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอก และเหนื่อยง่าย ท่านควรรีบมาพบแพทย์ ภายใน 1-2 วัน เพื่อรับการวินิจฉัย ไม่ควรดูแลตนเอง

อย่างไรก็ตาม การดูแลตนเองเมื่อเป็นปอดบวมน่าจะมี ๒ กรณี คือ

  1. ปอดบวมเล็กน้อย ที่แพทย์พิจารณาให้รักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ และ
  2. กรณีที่เป็นปอดบวมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้ว และแพทย์พิจารณาให้กลับบ้านเพื่อรักษา และพักฟื้นต่อที่บ้าน

ทั้ง 2 กรณี ควรปฏิบัติตนดังนี้

  • ควรรับประทานยาต่อตามแพทย์สั่งอย่างถูกต้อง ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาปฏิชีวนะ ซึ่งไม่ควรหยุดยาเอง
  • รับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการพลังงานในการต่อสู้กับโรค และซ่อมแซมร่างกายให้ฟื้นตัว
  • ควรใส่ใจสังเกตอาการแทรกซ้อนที่อาจจะมีเกิดขึ้น เช่น มีไข้เกิดขึ้นใหม่หลังจากไข้ลงแล้ว 1-2 วัน รู้สึกว่าไม่สุขสบายเพิ่มขึ้น มีอาการเจ็บภายในทรวงอก มีอาการหายใจไม่ค่อยสะดวก รับประทานอาหารได้น้อยลง ไอมีเสมหะปนเลือด ฯลฯ และหากมีอาการแทรกซ้อนหรือสงสัยว่าจะมี แนะนำให้มาพบแพทย์ก่อนกำหนดนัด ควรภายใน 1-2 วัน หลังจากมีอาการผิดปกติไปจากเดิม
 

ปอดบวมป้องกันได้อย่างไร?

การป้องกันปอดบวมสามารถทำได้ไม่ยาก โดย


ที่มา   https://haamor.com/th/ปอดบวม/

อัพเดทล่าสุด