ปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)


1,671 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กระเพาะปัสสาวะ  ไต  ท่อไต  ท่อปัสสาวะ  ระบบทางเดินปัสสาวะ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

บทนำ

การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis หรือ Urinary analysis หรือ เรียกย่อว่า UA หรือ U/A) เป็นการตรวจโรคที่มีประโยชน์มากที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งช่วยให้ทราบในเบื้องต้นถึงโรคของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ (ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ) และยังสามารถตรวจวินิจ ฉัยโรคของอวัยวะระบบอื่นๆที่พบได้บ่อยในเบื้องต้นได้อีกหลายโรค เช่น โรคเบาหวาน นอก จากนี้ ยังสามารถใช้ตรวจวินิจฉัยบางภาวะได้ เช่น ภาวะการตั้งครรภ์ และการเสพสารเสพติด

การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องงดน้ำ อาหาร ตรวจได้ทันที ตรวจได้ในคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ เป็นการตรวจที่สามารถทราบผลได้ทันทีในบางภาวะ แต่โดยทั่วไปมักภายใน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เป็นการตรวจที่สามารถตรวจได้ในทุกสถานที่ เช่น ตรวจภาวะตั้งครรภ์ (ตรวจได้เองที่บ้าน) ในห้อง ปฏิบัติการง่ายๆของทุกสถานพยาบาล และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ถูกมากเมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจอื่นๆ ดังนั้นการตรวจปัสสาวะ จึงใช้เป็นการตรวจหนึ่งของการตรวจสุขภาพประจำปี ที่อยู่ในบริการของรัฐ และของทุกสิทธิการรักษา

ปัสสาวะ หรือ Urine (มาจากภาษาลาติน คือ Urina แปลว่า น้ำจากไต) คือ ของเหลวจากร่างกายที่ผ่านการกรองจากไตเพื่อกำจัดออกจากร่างกายโดยการขับถ่ายผ่านระบบทางเดินปัสสาวะ คือ จากไตสู่ท่อไต สู่กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และขับออกนอกร่างกายในที่สุด

การตรวจปัสสาวะ

ปัสสาวะปกติมีลักษณะอย่างไร?

ลักษณะปัสสาวะปกติ คือ

  • ภาวะปลอดเชื้อ: เมื่อยังอยู่ในร่างกายปัสสาวะปกติจะปลอดเชื้อ แต่ในช่วงที่ขับออกจากร่างกายเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่ง และเยื่อเมือกของอวัยวะเพศ หรือบริเวณก้น หรืออุจจาระ จะทำให้ปนเปื้อนเชื้อโรคได้
  • ปริมาณปัสสาวะต่อวันปริมาณปัสสาวะต่อวันขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น สภาพอากาศ การดื่มน้ำ/กินอาหารน้ำ การออกกำลังกาย/การเล่น/กิจวัตรประจำวัน/อาชีพ/ประเภทงาน สุขภาพ/โรคประจำตัว และโรคอ้วน (เพราะคนอ้วนมักมีเหงื่อออกมาก ปริมาณปัสสาวะจึงน้อยลง) อย่าง ไรก็ตามปริมาณปัสสาวะปกติต่อวันจะอยู่ประมาณ 1-2 ลิตร
  • ส่วนประกอบของปัสสาวะ: ส่วนประกอบสำคัญของปัสสาวะ คือ น้ำ (95%) นอกจากนั้นจะเป็น
  • กลิ่นของปัสสาวะ: ปกติปัสสาวะจะไม่มีกลิ่น หรือมีกลิ่นแอมโมเนียจางๆ (เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารยูเรียในปัสสาวะไปเป็นแอมโมเนีย) แต่เมื่อดื่มน้ำน้อย สารต่างๆในปัสสาวะจะเข้มข้นขึ้น จึงก่อให้เกิดกลิ่นตามสารนั้นๆได้ เช่น อาหารประเภทหัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง เครื่องเทศ หรือจากยาบางชนิด เช่น วิตามินต่างๆ
  • ภาวะกรด-ด่างของปัสสาวะ ที่เรียกว่า ค่า พีเอช (pH: Potential of hydrogen ion) ซึ่งปัสสาวะปกติ จะค่อนข้างเป็นกรดอ่อนๆ โดยค่า pH ประมาณ 5.5-6.5 แต่อาจมีค่า pH อยู่ระ หว่าง 4.6-8 ได้ และเช่นเดียวกับ สีและกลิ่น ค่า pH ขึ้นกับ ปริมาณน้ำที่ดื่ม อาหาร และยาที่บริโภค
  • ค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ (Urine specific gravity คือ ความหนาแน่นของปัสสาวะเมื่อเปรียบเทียบกับความหนาแน่นของน้ำในอัตราส่วนปริมาณที่เท่ากัน) ซึ่งปัสสาวะปกติ จะอยู่ในช่วง 1.001-1.030 ซึ่งค่านี้จะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณน้ำที่ดื่ม ถ้าดื่มน้ำมาก ค่าก็จะต่ำลง ถ้าในภาวะขาดน้ำ หรือดื่มน้ำน้อย ค่านี้ก็จะสูงขึ้น
  • ผลึกต่างๆ: ในการตรวจปัสสาวะปกติจะไม่พบผลึกต่างๆ แต่ถ้าปล่อยให้ปัสสาวะตกตะ กอน หรือนำปัสสาวะไปปั่นให้ตกตะกอน แล้วนำตะกอนไปตรวจ อาจพบผลึกของสารบางชนิดได้ แต่ในปริมาณเล็กน้อย เช่น ผลึกของกรดยูริค เป็นต้น
  • ชิ้นหล่อของโปรตีน หรือสารต่างๆที่เรียกว่า คาส (Cast): ปกติจะไม่พบชิ้นส่วนของชิ้นหล่อเหล่านี้ในปัสสาวะ หรืออาจพบได้แต่น้อยมาก

ดื่มปัสสาวะได้หรือไม่? ใช้เป็นยาได้ไหม?

ปัสสาวะใช้ดื่มได้ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความสะอาด การปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ ทั้งจากโรคของเจ้าของปัสสาวะ การปนเปื้อนจากเชื้อโรคในบริเวณอวัยวะเพศภายนอก และการปนเปื้อนของสารพิษต่างๆที่อยู่ในปัสสาวะจากการกำจัดออกจากร่างกายทางไต

ดังกล่าวแล้วว่า ในน้ำปัสสาวะของบางคน อาจมีฮอร์โมน และมีสารภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบางชนิด ดังนั้นในคนบางกลุ่มจึงมีความเชื่อในการใช้น้ำปัสสาวะรักษาโรคต่างๆ รวมทั้งในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งการรักษาโรคด้วยปัสสาวะ (Urine therapy) เป็นการรักษาโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มของการแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine)

อย่างไรก็ตาม การศึกษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่พบว่าการใช้ปัสสาวะสามารถรักษาโรคให้หายได้ และสารต่างๆที่มีอยู่ในปัสสาวะที่มีสรรพคุณเป็นยาได้ ก็สามารถผลิตได้ในกระบวนการทางเภสัชกรรม ที่สามารถใช้รักษาโรคได้มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูงกว่าการใช้ปัสสาวะเป็นอย่างมาก

กองทัพสหรัฐอเมริกาเอง ก็ไม่แนะนำให้ดื่มปัสสาวะเพื่อความอยู่รอดในภาวะขาดแคลนน้ำ โดยให้เหตุผลว่า เมื่อดื่มในช่วงแรกอาจรู้สึกว่าแก้กระหายได้ แต่หลังจากนั้น จะเพิ่มการกระ หายน้ำให้มากขึ้น และอาจเกิดผลข้างเคียงต่างๆจากสารต่างๆที่มีอยู่อย่างเข้มข้นในปัสสาวะในภาวะร่างกายขาดน้ำ

การตรวจปัสสาวะมีประโยชน์อย่างไร? ทำไมต้องตรวจ?

ประโยชน์ของการตรวจปัสสาวะ คือ สามารถใช้เป็นการตรวจเพื่อการคัดกรอง การวินิจฉัย และเพื่อติดตามผลการรักษาโรคและภาวะต่างๆ ทั้งของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคหรือภาวะต่างๆที่ไม่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะแต่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน (เช่น การตั้ง ครรภ์) การสันดาปพลังงานของร่างกาย (เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคตับ) หรือการที่ร่างกายได้ รับสารพิษต่างๆ (เช่น ยาเสพติด หรือการรับสารพิษจากโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว หรือปรอท)

การตรวจปัสสาวะไม่มีโทษ ตรวจซ้ำได้เสมอทุกเวลา และไม่มีข้อห้ามตรวจ มีค่าใช้จ่ายต่ำ ตรวจได้ง่าย การตรวจวินิจฉัยในบางภาวะใช้เพียงแผ่นจุ่ม (Urine test strip) ซึ่งจะให้ค่าเป็นสีต่างๆเมื่อจุ่มแผ่นตรวจในน้ำปัสสาวะ ทำให้ทราบค่าเหล่านั้นคร่าวๆได้ทันที เช่น การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจการตั้งครรภ์ หรือการตรวจสารเสพติด

ดังนั้น การตรวจปัสสาวะจึงเป็นการตรวจสำคัญสำหรับการตรวจสุขภาพพื้นฐาน รวมทั้งในการตรวจวินิจฉัย รักษา และติดตามผลในโรคและในภาวะต่างๆในภาพรวมของสุขภาพทั้งหมด

มีข้อบ่งชี้การตรวจปัสสาวะและข้อห้ามอย่างไร?

ไม่มีข้อห้ามในการตรวจปัสสาวะ ส่วนข้อบ่งชี้ คือ

การตรวจปัสสาวะตรวจอะไรบ้าง? แปลผลอย่างไร?

การตรวจปัสสาวะจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การตรวจทั่วไปที่ใช้เป็นประจำ (Routine urinalysis) ที่มักเรียกย่อว่า ยูเอ (UA หรือ U/A) และการตรวจจำเพาะแต่ละโรค หรือแต่ละภาวะ

  • การตรวจทั่วไป หรือ ยูเอ ได้แก่ การตรวจ สี กลิ่น ความใส/ขุ่น ความถ่วงจำเพาะ น้ำ ตาล โปรตีน เม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาว และชิ้นหล่อของโปรตีน ซึ่งขั้นตอนในการตรวจจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
  • การตรวจจำเพาะโรค จะขึ้นกับว่าต้องการตรวจอะไร ซึ่งจะมีวิธีตรวจแตกต่างกันไปเฉพาะของแต่ละสิ่งที่ต้องการตรวจ อาจต้องมีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เช่น ในการตรวจปริมาณปัสสาวะ อาจต้องมีการปั่นปัสสาวะให้ตกตะกอน เช่น ในการตรวจหาผลึกต่างๆ อาจต้องมีการย้อมสีต่างๆ เช่น ในการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจต้องมีการตรวจทางเซลล์วิทยาเมื่อต้องการวินิจฉัยโรคมะเร็ง เป็นต้น

อนึ่ง ความผิดปกติบางอย่างในปัสสาวะ ที่เป็นความรู้ทั่วไปที่ควรทราบว่าน่าเกิดจากโรคอะไรบ้าง ได้เขียนแยกไว้ต่างหากในเกร็ดสุขภาพ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้บทความนี้ยาวเกินไป ได้แก่ เรื่อง เม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ เม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ โปรตีนในปัสสาวะ คาส (Cast) ในปัสสาวะ ภาวะปัสสาวะขุ่น กลิ่นของปัสสาวะ ภาวะกรด-ด่างของปัสสาวะ ความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ และ ปริมาณปัสสาวะต่อวัน

มีขั้นตอน และวิธีเก็บปัสสาวะเพื่อการตรวจอย่างไร?

ในบทนี้จะพูดถึงเฉพาะขั้นตอนและวิธีเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจทั่วไปเท่านั้น เพราะการตรวจเฉพาะโรคมีรายะเอียดที่แตกต่างกันในแต่ละโรค ซึ่งจะให้คำแนะนำในการตรวจโดยแพทย์/พยาบาลเฉพาะแต่ละโรคนั้นๆ

การตรวจปัสสาวะทั่วไป หรือ ยูเอ ไม่ต้องมีการเตรียมตัว ไม่ต้องอดอาหารอดน้ำ ตรวจได้ทันที โดยปัสสาวะใส่ภาชนะที่โรงพยาบาลจัดให้ ปิดป้ายชื่อ เลขประจำตัวโรงพยาบาล และวันที่ แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการ โดยปริมาณปัสสาวะที่ตรวจในแต่ละครั้งใช้ไม่มาก ประมาณ 20-30 มิลลิลิตร (ซีซี/c.c.)

แต่บางครั้งถ้าแพทย์สงสัยมีการติดเชื้อ แพทย์/พยาบาลจะแนะนำการเก็บปัสสาวะที่เรียกว่า Mid stream เพื่อลดโอกาสปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียจากอวัยวะเพศ และทวารหนัก โดยให้ถ่ายปัสสาวะ เป็นทั้งหมด 3 ช่วง คือ ช่วงแรกถ่ายทิ้งก่อน ช่วงที่ 2 หรือช่วงกลาง (Mid stream) ถ่ายลงภาชนะที่จะนำส่งตรวจ และช่วงที่ 3 ถ่ายตามปกติ หรือจะไม่ถ่ายก็ได้

หลังจากได้ปัสสาวะแล้ว เจ้าหน้าที่จะนำไปตรวจหาค่าต่างๆ รวมทั้งการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูเซลล์ต่างๆ เรียกการตรวจนี้ว่า การตรวจปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งขั้นตอนการตรวจใช้เวลาเพียงประมาณ 1-2 ชั่วโมง

การตรวจปัสสาวะทั่วไป จะตรวจ สี ความใส/ขุ่น ค่าความถ่วงจำเพาะ ค่าความเป็นกรดด่าง ตรวจหาน้ำตาล หาโปรตีนจำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และชิ้นส่วนของโปรตีน ในปัสสาวะ

อนึ่ง บ่อยครั้งในการตรวจวินิจฉัยคร่าวๆ อาจตรวจปัสสาวะง่ายๆและรวดเร็วเห็นผลทันที โดยการใช้แผ่นจุ่ม ที่เรียกว่า Urine test strip ในการตรวจหา เม็ดเลือดขาว เลือด โปรตีน น้ำ ตาล ค่าความถ่วงจำเพาะ และค่าความเป็นกรด-ด่าง

ซึ่งผลจากการตรวจปัสสาวะ แพทย์จะนำมาแปลผลร่วมกับอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ต่างๆ การตรวจร่างกาย และการตรวจอื่นๆ เช่น เอกซเรย์เพื่อให้การวินิจฉัย และการรักษาโรคต่อไป
ที่มา   https://haamor.com/th/ปัสสาวะ-การตรวจปัสสาวะ/

อัพเดทล่าสุด