ปอด: กายวิภาคปอด (Lung anatomy) / สรีรวิทยาของปอด (Lung physiology)


1,244 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ปอด  ระบบทางเดินหายใจ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

บทนำ

ปอดเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่หลัก คือ การหายใจ ความหมายของการหายใจนั้นหมายถึง การทำให้มีลมหายใจเข้าและออกที่เราคุ้นเคยกันดีก็ได้ หรือที่มีความหมายในทางการแพทย์คือ ปอดเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างถุงลมขนาดเล็กในปอดกับหลอดเลือดฝอยในผนังของถุงลมเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายทางลมหายใจออก

ปอดอยู่ที่ตรงไหนของร่างกาย?

ปอดของมนุษย์มี 2 ข้างคือ ปอดซ้าย และปอดขวา อยู่ในช่องทรวงอกตั้งแต่ระดับกระดูกไหปลาร้าจนถึงประมาณชายโครงทั้ง 2 ข้าง ซ้าย และขวาตามลำดับเช่นเดียวกัน ปอดจะมีกระดูกซี่โครงและกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงหุ้มเป็นผนังด้านนอก และมีกล้ามเนื้อกระบังลม (Diaphragm) กั้นด้านล่างระหว่างปอดและช่องท้อง

ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้างเป็นที่ตั้งของหัวใจและของต่อมไทมัส (Thymus/ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย) โดยรวมอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า Mediastinum ซึ่งเป็นชื่อเรียกพื้นที่ที่อยู่ระหว่างปอดทั้งสองข้าง (เนื้อเยื่อคั่นระหว่างปอดสองข้าง) โดยประกอบด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน หลอดเลือดใหญ่ของปอดและหัวใจ ต่อมไทมัส หลอดอาหาร (Esophagus) หลอดลมใหญ่ เป็นต้น

โครงสร้างของปอดเป็นอย่างไร?

ปอดเป็นอวัยวะที่มีถุงลมขนาดเล็ก (Alveoli) อยู่ภายในจำนวนมากมาย ทำให้ปอดมีลักษณะมีรูพรุนขนาดเล็กๆอยู่ในทุกส่วน ลักษณะคล้ายฟองน้ำ ปอดแต่ละข้างจะแบ่งออกเป็นกลีบ (Lobe) ปอดขวามี 3 กลีบได้แก่ กลีบบน กลีบกลาง และกลีบล่าง (Upper,middle,low er lobe) ปอดซ้ายมี 2 กลีบได้แก่ กลีบบน และล่าง (Upper,lower lobe) มีเยื่อหุ้มปอดเป็นพัง ผืดบางๆคลุมอยู่ภายนอกเรียกว่า Pleura

ภายในปอดจะมีท่อนำอากาศตั้งแต่ท่อขนาดใหญ่ที่ขั้วปอดเรียกว่า Main bronchus ซ้าย และขวา แยกออกมาจากท่อลมใหญ่ที่เรียกว่า Trachea เมื่อเข้ามาภายในปอด Bronchus จะแยกออกเป็นหลอดลมขนาดเล็กจำนวนมาก คล้ายการแยกกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ กลายเป็น บรองคัสขนาดเล็ก (Small bronchus) หลอดลมฝอย (บรองคิโอล/Bronchiole) และสิ้นสุดเป็นถุงลมขนาดเล็กจำนวนมากมาย (Alveoli) ซึ่งเป็นส่วนที่เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซกับหลอดเลือดฝอยในปอด

ปอดรับเลือดดำจากหัวใจห้องขวาล่าง (Right ventricle) ทางหลอดเลือดใหญ่ชื่อ Pulmonary artery เพื่อนำมาฟอกและเปลี่ยนจากเลือดดำเป็นเลือดแดง หลังจากนั้น ก็จะนำเลือดแดงที่มีปริมาณออกซิเจนสูงกลับสู่หัวใจห้องซีกซ้ายบน (Left atrium) ทางหลอดเลือดใหญ่ชื่อ Pulmonary vein เพื่อให้หัวใจสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายต่อไป

ปอดทำงานอย่างไร?

ปอดต้องทำหน้าที่ในการนำลมหายใจภายนอกจากอากาศที่มีออกซิเจนสูงเข้ามาในปอด โดยต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อซี่โครง กล้ามเนื้อรอบๆทรวงอก และกล้ามเนื้อช่องท้องร่วมกัน

ลมหายใจเข้าจะถูกทำให้อิ่มตัวด้วยไอน้ำโดยการทำงานของไซนัส (Sinus) ต่างๆในโพรงกระดูกรอบๆจมูก เวลาหายใจเข้าปอดจะโป่งพองลมอย่างเต็มที่ และจะหดตัวแฟบลงเวลาหายใจออก การที่ปอดสามารถยืดหดตัวได้นี้เนื่องจากมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดอิลาสติค (Elastic fiber) อยู่เป็นจำนวนมากในเนื้อปอดซึ่งสามารถยืดหดได้

เมื่อลมหายใจเข้าไปถึงถุงลม ก็จะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้เข้าไปในหลอดเลือดฝอยในผนังถุงลม และรับคาร์บอนไดออกไซด์จากเลือดเข้ามาในถุงลม จากนั้นก็ปล่อยออกนอกร่างกายทางลมหายใจออก

นอกจากนั้นปอดยังทำหน้าที่ปรับดุลกรดด่าง (pH) ของร่างกายให้คงที่อยู่ที่ pH 7.4 โดยการทำงานร่วมกับไต และร่วมกับการหายใจช้าหรือเร็วตามการกำหนดจากสมองโดยอัตโนมัติ

หลอดเลือดของปอด


ที่มา   https://haamor.com/th/ปอด/

อัพเดทล่าสุด