ปวดท้อง (Abdominal pain)


1,492 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ช่องท้อง  ระบบทางเดินอาหาร 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ปวดท้อง 

บทนำ

ปวดท้อง (Abdominal pain หรือ Stomach pain หรือ Stomach ache) ได้แก่ อาการปวดที่เกิดขึ้นในบริเวณช่องท้อง ส่วนใดก็ได้ เป็นอาการพบบ่อยมากอาการหนึ่ง พบได้บ่อยในทุกอายุ และทุกเพศ เพศหญิงและเพศชายมีโอกาสเกิดได้เท่าๆกัน โดยทั่วไปเป็นอาการไม่รุนแรง มักดูแลรักษาตนเองได้

ในสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง คิดเป็นประมาณ 1.5% -3% ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ทั้งหมด และเป็นประมาณ 5% ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์อย่างฉุกเฉิน ส่วนในประเทศอังกฤษพบผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง 22.9 รายต่อผู้ป่วย 1,000 คน

อนึ่ง ช่องท้องเป็นที่อยู่ของอวัยวะมากมายหลากหลายอวัยวะ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการปวดท้อง ที่พบเป็นสาเหตุได้บ่อยมักเกิดจาก กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ หลอดเลือด และอวัยวะเพศ เช่น มดลูก และรังไข่

ปวดท้องมีสาเหตุจากอะไร?

สาเหตุของอาการปวดท้องอาจเกิดได้ทั้งจากโรคของอวัยวะต่างๆในช่องท้อง หรือ โรคของอวัยวะนอกช่องท้อง

 

แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุปวดท้องได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุอาการปวดท้องได้จาก ประวัติลักษณะอาการปวด ตำแหน่งที่เกิดอาการ อาการร่วมอื่นๆ ร่วมกับ การตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือดซีบีซี(CBC) เพื่อดูการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย การตรวจภาพช่องท้องด้วยเอกซเรย์ธรรมดา หรือ อัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การส่องกล้องตรวจอวัยวะในช่องท้อง และอาจมีการตัดชิ้นเนื้อจากเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

 

รักษาอาการปวดท้องได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาอาการปวดท้องขึ้นกับ สาเหตุ ซึ่งมีได้ตั้งแต่ ไม่ต้องกินยาใดๆ เพียงพักผ่อน อาการก็หายเองได้ และการรักษาประคับประคองตาอาการ เช่น กินอาหารอ่อน หรือ อาหารเหลว/อาหารน้ำช่วงมีอาการ (อ่านเพิ่มเติมใน ประเภทอาหารทางการแพทย์ยาแก้ปวด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร ยาลดกรด ไปจนถึง การใช้ยาปฏิชีวนะ เมื่อเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเช่น ในโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือ โดยการผ่าตัด เช่น โรคไส้ติ่งอักเสบ โรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือ การรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษาและ/หรือยาเคมีบำบัด เมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง

อาการปวดท้องรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

ความรุนแรงของอาการปวดท้องขึ้นกับสาเหตุ เช่น ไม่รุนแรงเมื่อเกิดจาก อาการท้องผูก โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร แต่โรครุนแรงเมื่อเกิดจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของอาการปวดท้อง เป็นอาการไม่รุนแรง ดูแลรักษาอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ และโดยทั่วไป มักมีสาเหตุจากโรคที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาได้หาย

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองเมื่อมีอาการปวดท้อง และการพบแพทย์ คือ

 

ป้องกันอาการปวดท้องได้อย่างไร?

วิธีป้องกันอาการปวดท้อง คือ


ที่มา   https://haamor.com/th/ปวดท้อง/

อัพเดทล่าสุด