นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone)


1,290 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ถุงน้ำดี  ระบบทางเดินอาหาร 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ปวดท้อง 

บทนำ

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone) เป็นโรคพบบ่อยมากโรคหนึ่ง โดยเฉพาะในคนตะวันตก โดยในสหรัฐอเมริกาพบโรคนี้ได้ประมาณ 10-20% ของประชากรผู้ใหญ่ นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคของผู้ใหญ่ มักพบในอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงสูงกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า

นิ่วในถุงน้ำดีอาจมีเพียงก้อนนิ่วเดียว หรือหลายๆก้อน ก้อนนิ่วอาจใหญ่มากขนาดเท่าลูกปิงปอง หรือเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ทั้งนี้ขึ้นกับ สาเหตุ อายุ และพันธุกรรม

นิ่วในถุงน้ำดี มี 2 ชนิดหลัก คือ ชนิดเกิดจากคอเลสเตรอล (Cholesterol stone) และชนิดเกิดจากสารให้สี (Pigmented stones)

  • ชนิดคอเลสเตรอล (Cholesterol stone) เป็นชนิดพบได้บ่อย ประมาณ 80% ของนิ่วในถุงน้ำดีทั้งหมด มีลักษณะแข็ง สีออกเหลือง หรือ เขียว
  • ชนิดเกิดจากสารให้สี (Pigmented stones) พบได้ประมาณ 20% ของนิ่วในถุงน้ำดี โดยมีส่วนประกอบส่วนใหญ่ของนิ่วเป็นสารให้สีในน้ำดีที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งนิ่วชนิดนี้ มักเป็นก้อนเล็กๆ แข็งน้อยกว่าชนิดแรก และให้สีดำคล้ำ

นิ่วในถุงน้ำดีมีสาเหตุจากอะไร?

นิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากมีการตกตะกอนของคอเลสเตรอล หรือ สารให้สีในน้ำดี เมื่อเกิดต่อเนื่องเรื้อรัง ตะกอนเหล่านั้นจึงจับตัวกันเป็นก้อน เกิดเป็นก้อนนิ่วขึ้น ซึ่งสาเหตุที่สารก่อนิ่วเหล่านั้นตกตะกอน เกิดได้จากมีปริมาณสารเหล่านั้นในน้ำดีสูง (อาจจากการกินอาหารบางชนิด หรือจากความผิดปกติในการละลายของสารเหล่านั้นในน้ำดีซึ่งเป็นผลจากพันธุกรรม) เมื่อสารเหล่านี้เข้มข้นมากขึ้น จึงตก ตะกอนได้ง่าย หรือเกิดจากถุงน้ำดีไม่หดตัว หรือหดตัวได้น้อย น้ำดีจึงกักคั่งในถุงน้ำดี สารต่างๆดังกล่าวจึงตกตะกอนได้ง่าย เช่น จากโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง หรือจากภาวะอดอาหารในคนลดความอ้วน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีมีอะไรบ้าง?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี คือ

นิ่วในถุงน้ำดีมีอาการอย่างไร?

อาการพบบ่อยของนิ่วในถุงน้ำดี คือ ไม่มีอาการ แต่เมื่อมีอาการ อาการที่พบได้บ่อย คือ

แพทย์วินิจฉัยนิ่วในถุงน้ำดีได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การเอกซเรย์ หรือ อัลตราซาวด์ภาพถุงน้ำดี และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้น กับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจเลือดซีบีซี (CBC) ดูการติดเชื้อ และตรวจเลือดดูการทำงานของตับ หรือส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดี เป็นต้น

รักษานิ่วในถุงน้ำดีอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี คือ การผ่าตัดถุงน้ำดี อาจโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง หรือการผ่าตัดผ่านทางกล้อง หรือบางครั้งอาจให้ยาละลายนิ่วแต่มักไม่ค่อยได้ผล นอกจากนั้น คือการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียของถุงน้ำดีร่วมด้วย

มีผลข้างเคียงจากนิ่วในถุงน้ำดีไหม?

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากโรคนิ่วในถุงน้ำดี คือ ถุงน้ำดีอักเสบติดเชื้อ หรือก้อนนิ่วหลุดเข้าท่อน้ำดี ก่อให้เกิดการอุดตัน และ/หรือการอักเสบของท่อน้ำดี หรือหลุดเข้าท่อตับอ่อน (อยู่ติดกับท่อน้ำดี) ก่อให้เกิดตับอ่อนอักเสบ ซึ่งทั้งสองโรคเป็นโรครุนแรง อาจเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อในกระแสโลหิต (เลือด) เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

นิ่วในถุงน้ำดีรุนแรงไหม?

โดยทั่วไป นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคไม่รุนแรง รักษาได้เสมอ แต่โรคจะรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดผลข้างเคียงจากนิ่วหลุดเข้าท่อน้ำดี หรือเข้าท่อตับอ่อน ดังกล่าวแล้ว

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีนิ่วในถุงน้ำดี? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองเมื่อมีนิ่วในถุงน้ำดี และการพบแพทย์ ได้แก่ เมื่อมีอาการดัง กล่าวควรรีบพบแพทย์ใน 24 ชั่วโมง หรือพบแพทย์เป็นการฉุกเฉินขึ้นกับความรุน แรงของอาการ หลังจากพบแพทย์แล้ว การดูแลตนเองขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์

อนึ่งตรวจสุขภาพทั่วไป แพทย์จะพิจารณาผู้ป่วยเป็นรายๆไป เพื่อดูปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงต่างๆ แต่โดยทั่วไป มักแนะ นำ ผ่าตัด เพราะการผ่าตัดขณะยังไม่มีอาการ ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดจะน้อยกว่าเมื่อผ่าตัดช่วงมีอาการ เช่น โอกาสติดเชื้อในทางเดินน้ำดี เป็นต้น เมื่อตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีโดยบังเอิญขณะยังไม่มีอาการ เช่น จากตรวจภาพตับด้วยอัลตราซาวด์ในการ

ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดีได้อย่างไร?

ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดีได้โดย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่หลีกเลี่ยงได้ดัง กล่าวแล้วในหัวข้อ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ทั้งนี้ ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีตรวจให้พบนิ่วในถุงน้ำดีตั้งแต่ยังไม่มีอาการ หรือตั้งแต่เริ่มเป็นโรค และการตรวจภาพถุงน้ำดีบ่อยๆด้วยเอกซเรย์ และ/หรืออัลตราซาวด์ ไม่ช่วยให้วินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น และยังไม่มีรายงานชัดเจนว่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรค
ที่มา   https://haamor.com/th/นิ่วในถุงน้ำดี/

อัพเดทล่าสุด