นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)


1,436 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ท่อไต  ระบบทางเดินปัสสาวะ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ปวดท้อง  ปวดหลัง 

บทนำ

นิ่วในท่อไต (Ureteric stone หรือ Ureteric calculi) เป็นโรคพบได้บ่อยโรคหนึ่ง พบได้ประมาณ 10% ของประชากรทั่วโลก โดยเกิดจากมีก้อนนิ่วเล็กๆหลุดจากก้อนนิ่วในไตหล่นเข้ามาอยู่ในท่อไต ซึ่งเป็นอวัยวะอยู่ต่อจากไต

ท่อไตเป็นอวัยวะ มีหน้าที่นำส่งน้ำปัสสาวะจากไตเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะคู่เช่นเดียวกับไต คือ ท่อไตซ้าย และท่อไตขวา มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ขนาบอยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลังช่วงเอวทั้งซ้ายและขวา ยาวประมาณ 25 -30 เซนติเมตร (ซม.) เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 มิลลิเมตร (มม.) ผนังของท่อเป็นเยื่อเมือก และกล้ามเนื้อ เพื่อบีบตัวช่วยการเคลื่อนตัวของน้ำปัสสาวะจากไตสู่กระเพาะปัสสาวะ

นิ่วในท่อไต ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่า 5 มม. แต่อาจพบมีขนาดใหญ่กว่า 1 ซม.ได้ ซึ่งโดยทั่วไปนิ่วในท่อไตเมื่อมีขนาดประมาณ 1 มม. 87% จะหลุดออก มาได้เองกับน้ำปัสสาวะ ถ้าขนาด 2-4 มม. 5-7 มม. 7-9 มม. และขนาดใหญ่กว่า 9 มม. ประมาณ 76%, 60%, 48% และ 25% ตามลำดับ จะหลุดได้เอง ซึ่งนอก จากขนาดของก้อนนิ่วแล้ว โอกาสที่นิ่วจะหลุดได้เอง ยังขึ้นกับตำแหน่ง กล่าวคือ ก้อนนิ่วในส่วนปลายท่อไต จะหลุดได้ง่ายกว่าก้อนนิ่วที่อยู่ในส่วนต้น หรือในส่วน กลางของท่อไต

โดยทั่วไป ประมาณ 95% ก้อนนิ่วจะหลุดได้เองภายในระยะเวลา 4-6 สัปดาห์นับจากวินิจฉัยโรคได้

และเนื่องจากเป็นโรคสืบเนื่องกับนิ่วในไต จึงพบนิ่วในท่อไตได้ในผู้ใหญ่ และพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง 2-3 เท่า เช่นเดียวกับในโรคนิ่วในไต

นิ่วในท่อไตมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?

นิ่วในท่อไต

เนื่องจากนิ่วในท่อไต เป็นก้อนนิ่วที่หล่นมาจากนิ่วในไต ดังนั้นชนิดของนิ่วจึงเช่นเดียวกับในไต กล่าวคือ ส่วนใหญ่ประมาณ 75-85% เป็นนิ่วมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียม ซึ่งคือ แคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) 10-15% เป็นชนิด Struvive stone (แอมโมเนียม แมกนีเซียม ฟอสเฟต/Ammonium magnesium phosphate) 5-8% เป็นชนิดเกิดจากกรดยูริค(Uric acid) และประมาณ 1% เกิดจากสารซีสตีน (Cystine, กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง) ซึ่งกลไกการเกิดนิ่วเหล่านี้ คือ การตกตะกอนของสารเหล่านี้เรื้อรัง จนในที่สุด รวมตัวกันเป็นก้อนนิ่ว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้สารเหล่านี้ตกตะกอน เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีสารเหล่านี้เข็มข้นในปัสสาวะผิดปกติ หรือ มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ จึ่งก่อให้ปัสสาวะแช่ค้างอยู่นานในไต เช่น ท่อปัสสาวะตีบจากท่อปัสสาวะอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง หรือตีบแต่กำเนิด

นอกจากนั้น ปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดนิ่วในท่อไต เป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวกับการเกิดนิ่วในไต เพราะเป็นการเกิดโรคสืบเนื่องกัน เช่น

  • จากพันธุกรรม
  • จากดื่มน้ำน้อย
  • จากมีการติดเชื้อเรื้อรังในทางเดินปัสสาวะ
  • จากกินอาหารมีสารต่างๆที่ก่อการตกตะกอนในปัสสาวะในปริมาณสูงต่อเนื่อง (อ่านเพิ่มเติมในเรื่อง นิ่วในไต)
 

นิ่วในท่อไตมีอาการอย่างไร?

อาการพบบ่อยของโรคนิ่วในท่อไต คือ เมื่อก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ นิ่วจะผ่านออกมาทางปัสสาวะได้เอง แต่เมื่อก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือ เมื่อมีการติดเชื้อในไต และ/หรือ ในกระเพาะปัสสาวะจะส่งผลให้ท่อไตอักเสบ บวม รูท่อไตจึงตีบแคบลง ก้อนนิ่วจึงค้างติดอยู่ได้ง่ายในท่อไต ซึ่งอาการพบบ่อยของนิ่วในท่อไต คือ

 

แพทย์วินิจฉัยนิ่วในท่อไตได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยนิ่วในท่อไตได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเคยเป็นนิ่วในไต หรือในท่อปัสสาวะ หรือ ปัสสาวะมีก้อนนิ่วปน การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ การตรวจภาพ ไต หลอดไต ด้วยเอกซเรย์ และ/หรือ อัลตราซาวด์ และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติมตามดุลพินิจของแพทย์ เช่น การส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ

อนึ่ง อาการของโรคนิ่วในท่อไต มักคล้ายคลึงกับการปวดท้องจากหลายสาเหตุ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร และโดยเฉพาะเมื่อเป็นนิ่วในท่อไตข้างขวา แพทย์ต้องแยกออกจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี (ซึ่งไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับนิ่วในไต หรือ ในท่อไต เป็นคนละเรื่อง คนละโรค แต่ให้อาการคล้ายคลึงกันได้) และโรคไส้ติ่งอักเสบ

รักษานิ่วในท่อไตอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคนิ่วในท่อไตขึ้นกับ ขนาดของก้อนนิ่ว การที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อร่วมด้วย และโรคของไต (เช่น เมื่อมีไตบวมร่วมด้วย) ซึ่งในผู้ป่วยที่ก้อนนิ่วเล็กกว่า 1 ซม. ไม่ติดเชื้อ ไม่มีโรคของไต แพทย์มักให้ยาแก้ปวด ยาขับนิ่ว ยาปฏิชีวนะยาลดบวม และแนะนำให้ดื่มน้ำมาก อาจวันละถึง 2 ลิตร เพื่อรอให้นิ่วหลุดออกได้เอง โดยจะนัดตรวจผู้ป่วยบ่อยๆ ร่วมกับการตรวจตำแหน่งของนิ่วด้วยอัลตราซาวด์ แต่ถ้าก้อนนิ่วไม่เคลื่อนที่ อาจพิจารณาเอาก้อนนิ่วออก ซึ่งมักเป็นการสลายนิ่ว แต่บางครั้งอาจเป็นการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และดุลพินิจของแพทย์ แต่ถ้านิ่วก้อนใหญ่ตั้งแต่ 1 ซม.ขึ้นไป ผู้ป่วยติดเชื้อ และ/หรือ มีโรคของไต แพทย์มักแนะนำการสลายนิ่วตั้งแต่แรก

นอกจากนั้น คือ การรักษานิ่วในไต เพราะตราบใดที่ยังมีนิ่วในไต ก็จะมีโอกาสเกิดนิ่วในท่อไตย้อนกลับเป็นซ้ำเสมอ

มีผลข้างเคียงจากนิ่วในท่อไตไหม?

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากโรคนิ่วในท่อไต คือ การติดเชื้อของไต และถ้าก้อนนิ่วอุดกั้นท่อไตเรื้อรัง อาจเป็นสาเหตุให้ไตข้างนั้นบวม ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อไตข้างนั้นเสียการทำงาน และเกิดเป็นโรคไตเรื้อรังได้

นิ่วในท่อไตรุนแรงไหม?

โดยทั่วไป นิ่วในท่อไตเป็นโรคไม่รุนแรง รักษาได้ ยกเว้นเมื่อปล่อยเรื้อรังจนไตเสียการทำงาน

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีนิ่วในท่อไต? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองเมื่อมีนิ่วในท่อไต และการพบแพทย์ ได้แก่ เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเป็นการฉุกเฉินเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงต่อไต ไม่ควรซื้อยากินเอง นอกจากนั้น คือ ต้องรักษานิ่วในไตด้วยเสมอตามแพทย์แนะนำ

ป้องกันนิ่วในท่อไตได้อย่างไร?

การป้องกันนิ่วในท่อไต คือ การป้องกันนิ่วในไตนั่นเอง เพราะสาเหตุของนิ่วในท่อไต เกิดจากนิ่วในไต ซึ่งที่สำคัญ คือ


 ที่มา   https://haamor.com/th/นิ่วในท่อไต/

อัพเดทล่าสุด