ความรู้ทั่วไปโรคลมชัก (Overview of Epilepsy)


1,276 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

สมอง  ระบบประสาทวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ชัก 

บทนำ

โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นโรคหนึ่งที่พบบ่อย โดยพบประมาณ 6-10 คน ในประชากรหนึ่งพันคน ซึ่งเมื่อผู้ป่วยมีอาการชักจะสร้างความตกใจต่อตัวผู้ป่วย ญาติ และผู้เห็นเหตุการณ์เป็นอย่างมาก โดยผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ส่วนใหญ่มีวิธีการช่วยเหลือที่ไม่เหมาะสม คือ จะพยายามกดหน้าท้อง หน้าอก หรือใส่วัสดุในปาก และพยายามกดหรือยึดตัวไว้ไม่ให้ผู้ป่วยชัก ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วย และอาจเป็นอันตรายต่อผู้ช่วยเหลือได้ เราจึงควรมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคลมชัก

โรคลมชักมีกลไกการเกิดโรคอย่างไร?

กลไกการเกิดโรคลมชัก เกิดจากการที่สมองบางส่วนหรือทั้งหมดมีความผิดปกติ และเกิดกระบวนการสร้างและปล่อยประจุไฟฟ้าที่ต่อเนื่องออกมา ซึ่งประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอย่างผิด ปกตินี้เป็นตัวการทำให้เกิดอาการชัก

อะไรเป็นสาเหตุของโรคลมชัก?

สาเหตุของโรคลมชักเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

  1. โรคหลอดเลือดสมอง มักเป็นสาเหตุของการชักและโรคลมชักในผู้สูงอายุถึง 55%
  2. การพัฒนาการทางสมองที่ผิดปกติ พบเป็นสาเหตุ 18% พบบ่อยในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 14 ปี
  3. อุบัติเหตุที่ศีรษะ พบบ่อยในช่วงอายุ 15 – 24 ปี โดยพบถึง 45%
  4. โรคเนื้องอกสมอง พบมากในผู้ป่วยที่อายุ 35 ปีขึ้นไป
  5. โรคติดเชื้อในสมอง (สมองอักเสบ) พบเป็นสาเหตุหลักในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
  6. โรคสมองเสื่อม หรือ โรคอัลไซเมอร์ พบในผู้สูงอายุ ประมาณ 10% ของผู้ป่วยสมองเสื่อมมีอาการชักร่วมด้วย

อนึ่ง ในกลุ่มผู้ป่วยแต่ละกลุ่มอายุจะมีสาเหตุการชักที่แตกต่างกัน เช่น

ทั้งนี้ ยาที่มีผลข้างเคียงอาจก่อการชัก เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด (เช่น ยาเพนนิซิลลิน/Penicillin ขนาดสูง) ยาทางจิตเวช ยาสลบ ยาเสพติด และยาขยายหลอดลม เป็นต้น

แพทย์วินิจฉัยโรคลมชักอย่างไร?

การวินิจฉัยโรคลมชัก แพทย์จะต้องรู้ว่า

  1. เป็นการชักจริงหรือไม่
  2. ถ้าจริงเป็นการชักชนิดใด
  3. เป็นโรคลมชักหรือไม่

ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมาพบแพทย์จะหายเป็นปกติแล้ว ข้อมูลที่แพทย์ได้ก็จะมาจากญาติหรือผู้ที่เห็นเหตุการณ์ ซึ่งข้อมูลที่แพทย์ต้องการในการวินิจฉัยจากผู้ป่วยและผู้เห็นเหตุการณ์ คือ ราย ละเอียดของความผิดปกติทั้งช่วงก่อนชัก ช่วงชัก และช่วงหลังชัก มีอาการเริ่มต้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ ปัสสาวะราด ตาเหลือก กัดลิ้น อันตรายที่ได้รับขณะมีอาการ ระยะเวลาที่มีอาการ ลักษณะชักทั้งตัวหรือบางส่วน ซึ่งเมื่อแพทย์ได้ข้อมูลการชักของผู้ป่วยแล้วก็จะสามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ ข้อมูลการชักของผู้ป่วยที่แพทย์ต้องการเพิ่มเติม คือ ผู้ป่วยชักครั้งแรกอายุเท่าไหร่ ชักบ่อยขนาดไหน ครั้งนี้เป็นครั้งที่เท่าไหร่ อะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการชัก มีอุบัติ เหตุต่อศีรษะมาก่อนหรือไม่ มีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่ (เช่น ไข้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ – อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง) ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ได้แก่ โรคประจำตัวต่างๆ การใช้ยาต่าง ๆ ประวัติการคลอด (เช่นใช้เครื่องมือคลอดหรือไม่) พัฒนาการในวัยเด็ก และโรคประจำตัวของสมาชิกในครอบครัว

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องมีการตรวจเฉพาะอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย ความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น

  1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG, Electroencepalogram)
  2. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain)
  3. สนามแม่เหล็กไฟฟ้า/เอมอาร์ไอ สมอง (MRI brain)
  4. ตรวจเลือดดูการทำงานของไต ตับ
  5. ตรวจเลือดดูระดับเกลือแร่ในเลือด

มีภาวะอื่นอะไรบ้างที่คล้ายกับโรคลมชัก?

ภาวะอื่นที่คล้ายกับโรคลมชัก ได้แก่

  1. การเป็นลม คือ ภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว โดยจะมีลักษณะแตกต่างจากโรคลมชัก คือ มักจะมีอาการขณะเปลี่ยนท่าทาง หน้าจะซีด อาการจะค่อยๆเกิด หมดสติไม่นาน พอล้มตัวลงนอนก็จะดีขึ้น ฟื้นคืนสติได้เร็ว ส่วนใหญ่ไม่มีปัสสาวะราด ยกเว้นปัสสาวะครั้งสุดท้ายนานมากก่อนจะเป็นลม ไม่มีอาการเกร็งกระตุกหรือเกร็งกระตุก 1-2 ครั้ง แต่ไม่รุนแรง และไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในขณะที่โรคลมชักจะเป็นได้ในทุกท่าทาง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิว แต่ถ้าอาการชักเกิดอยู่นานอาจหน้าเขียวคล้ำได้ หน้าไม่ซีด อาการชักเกิดทันทีทันใด หมดสตินานประมาณ 1-3 นาที หรืออาจนานกว่านั้น ฟื้นคืนสติช้า อาจชักบ่อยๆ วันละหลายครั้ง มักมีปัสสาวะราด และมีอาการเกร็ง – กระตุกร่วมกับการกัดลิ้น
  2. การชักปลอมหรือแกล้งชัก เป็นอาการชักที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ มักพบในผู้ป่วยที่มีประวัติถูกทำร้ายร่างกาย ถูกกระทำชำเราทางเพศ หรือประสบเหตุการณ์ที่ร้ายแรงและมีผลกระทบต่อชีวิต และการชักนั้นมักเพื่อต้องการผลตอบแทนในด้านอื่นๆ หรือเรียกร้องความสนใจจากคนอื่น ลักษณะการแกล้งชักจะมีรูปแบบแปลกๆ เช่น ส่งเสียงร้องอย่างดัง บิดเอว ยกสะโพก แอ่นหลัง แอ่นอก โดยรูปแบบการชัก จะไม่ค่อยเหมือนกันในแต่ละครั้ง สามารถบอกให้มีอาการหรือหยุดได้ พูดจาโต้ตอบได้ ไม่หมดสติ และไม่มีอันตรายจากการชัก ถึงแม้จะล้มลงเพราะผู้ป่วยค่อยๆล้มลง โดยมากมักมีอาการต่อหน้าผู้อื่น

โรคลมชักรักษาหายไหม?

พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคลมชัก จะหายได้เมื่อรับการรักษาด้วยยากันชัก โดยลักษณะผู้ป่วยที่จะตอบสนองดีต่อการรักษาคือ

  • เริ่มชักครั้งแรกเมื่ออายุน้อย
  • ชักแบบทั้งตัว
  • ไม่มีความผิดปกติของระบบประสาท
  • สาเหตุการชักเป็นชนิดหาสาเหตุไม่พบ

ส่วนผู้ป่วยที่รักษายากได้แก่

แพทย์รักษาโรคลมชักอย่างไร?

จุดมุ่งหมายของแพทย์ในการรักษาโรคลมชัก มิใช่ต้องการให้ผู้ป่วยไม่มีอาการชักเพียงอย่างเดียว แต่ต้องไม่มีผลแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงของยากันชัก และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆในสังคมได้อย่างปกติ ถึงแม้อาจจะมีอาการชักบ้างก็ตาม ซึ่งจะทำให้มีคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้ ป่วยที่รักษาแล้วไม่มีอาการชักเลย แต่มีผลแทรกซ้อนจากยา

การรักษาประกอบด้วย

  • การกำจัดสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการชัก
  • การใช้ยากันชัก
  • และการผ่าตัด

พบว่าโรคลมชักจะก่อให้เกิดผลเสียหายหลายด้านถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เช่น

  • เสียชีวิตจากอุบัติเหตุขณะชัก
  • ผลกระทบต่อสมองในกรณีชักบ่อยๆและแต่ละครั้งชักนาน
  • และผลต่อการดำรงชีวิต เช่น ควรต้องหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรกล ทำงานในที่สูง งดการขับรถ

แต่ข้อเสียของการรักษาก็มี เช่น การแพ้ยากันชัก ผลกระทบของยาต่อความจำและต่อพฤติกรรม ความรู้สึกที่ว่าตัวเองป่วยและต้องทานยาตลอด

ดังนั้น แพทย์ ผู้ป่วย และครอบครัวผู้ป่วย จึงต้องพิจารณาร่วมกัน ถึงข้อดีและข้อเสียของการทานยาและไม่ทานยาในการรักษาโรคลมชักอย่างรอบคอบ

เมื่อใดต้องทานยากันชัก?

ในการจะรักษาโรคลมชักด้วยยากันชัก แพทย์จะพิจารณาดังนี้

  1. การชักเพียง 1 ครั้ง ในผู้ป่วยที่มีอาการชักเพียงครั้งเดียว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็น ต้องได้รับยากันชัก ยกเว้น ผู้ป่วยที่มีสาเหตุในสมอง เช่น เนื้องอก สมอง โรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยที่ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ ผู้ป่วยที่ต้องขับรถเป็นเวลานาน หรือผู้ป่วยมีอาชีพที่อาจมีอันตรายถ้าชักขณะทำงาน เช่น ทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูงหรือขับรถ
  2. การชัก 2 ครั้ง หรือมากกว่า กรณีเช่นนี้ ผู้ป่วยมีโอกาสชักซ้ำประมาณ 80-90% ดัง นั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องได้รับยากันชัก ยกเว้น
  3. ควรทานยากันชักชนิดใด การพิจารณาชนิดของยากันชัก ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการชัก สาเหตุและข้อห้ามของการใช้ยาชนิดนั้นๆ ดังนั้น ผู้ป่วยและครอบครัวจึงควรให้ข้อมูลในอาการผิดปกติที่ถูกต้องกับแพทย์มากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการเลือกชนิดของยากันชัก ซึ่งจะเริ่มจากการใช้ยาชนิดเดียวก่อน และใช้ขนาดยาน้อยที่สุดเท่าที่ควบคุมการชักได้
  4. ต้องใช้ยากันชักนานเท่าใด ส่วนใหญ่ผู้ป่วยต้องได้รับยากันชักประมาณ 2 ปี หรือมากกว่า หลังจากควบคุมอาการชักได้ เพื่อลดโอกาสในการชักซ้ำ โดยแพทย์จะพิจารณาปัจจัยต่างๆของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น สาเหตุของการชักความผิดปกติของระบบประสาท อายุที่เริ่มชัก ชนิดของการชัก ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง ระยะเวลาที่ชักในแต่ละครั้ง และความถี่ของการชักก่อนการรักษา ทั้งนี้ เมื่อจะหยุดยากันชัก ก็จะต้องค่อยๆหยุดยาโดยใช้เวลาค่อยๆลดยานานประมาณ 6-12 เดือน

เมื่อใดต้องรักษาโรคลมชักด้วยการผ่าตัด?

สาเหตุของโรคลมชักมีหลายสาเหตุ ปัจจุบันการรักษาด้วยยากันชักสามารถระงับอาการชักได้เกือบทุกราย จะมีเพียงบางรายเท่านั้นที่ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ด้วยยากันชัก หรือให้ผลการรักษาไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งการผ่าตัดอาจได้ผล

ข้อบ่งชี้ในการพิจารณาเลือกใช้วิธีผ่าตัดรักษาโรคลมชัก

  1. มีพยาธิสภาพผิดปกติที่ต้องผ่าตัดอยู่แล้ว เช่น เนื้องอกในสมอง ถุงน้ำในสมอง หรือ หลอดเลือดสมองผิดปกติ
  2. มีลักษณะของเนื้อสมองบางส่วนผิดปกติ เช่น เนื้อสมองส่วนขมับฝ่อลีบ หรือผิวเนื้อสมองบางส่วนเจริญผิดปกติ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของอาการชักและการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีข้อห้ามในการใช้ยา เช่น การแพ้ยากันชัก
  3. พยาธิสภาพนั้นๆ ต้องไม่ใช่ตำแหน่งของสมองในส่วนที่ผ่าตัดออกแล้วจะเป็นอัมพาต

การเตรียมการรักษาด้วยการผ่าตัด

  1. แพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์ต่างๆของผู้ป่วย และการตรวจร่างกายผู้ป่วยเพื่อพิจารณาว่าอาการชักเริ่มจากส่วนใดของสมอง
  2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองเพื่อตรวจหาจุดกำเนิดของอาการชัก
  3. การตรวจสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (เอมอาร์ไอ/MRIสมองเพื่อตรวจหาความผิดปกติของเนื้อสมองและจุดกำเนิดของการชัก

ทั้งนี้ เมื่อตรวจ 3 อย่างนี้ได้ผลตรงกันว่าจุดใดในสมองทำให้เกิดอาการชักจึงมาพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด

โรคลมชักเฉพาะกรณีมีอะไรบ้าง?

โรคลมชักเฉพาะกรณี ได้แก่

  1. โรคลมชักและการตั้งครรภ์

    แต่ถ้าผู้ป่วยตั้งครรภ์อยู่ก่อนแล้ว แพทย์มักแนะนำให้ตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพราะ 95% ของทารกที่คลอดจะปกติ โดยในช่วงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยอาจมีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของการชักได้ เช่น อาจชักบ่อยขึ้นหรือชักน้อยลงก็ได้ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิด ขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ ความเครียดที่เพิ่มขึ้น โดยมักพบว่าการชักจะถี่ขึ้น ในช่วง 8-24 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และช่วงระยะหลังคลอดเนื่องจากร่างกายอ่อนเพลียมาก

    ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคลมชักที่ตั้งครรภ์ (อ่านเพิ่มเติมในโรคลมชักในผู้หญิง) ปกติแล้วผู้ป่วยโรคลมชักไม่ควรตั้งครรภ์จนกว่าจะควบคุมอาการชักได้ และแพทย์แนะนำหยุดยากันชักแล้ว หรือถ้าได้รับก็ต้องเป็นยาขนาดต่ำ ซึ่งทั้งนี้โดยการคุมกำเนิดซึ่งแนะนำการใช้ห่วงหรือถุงยางอนามัย ไม่แนะนำการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด เพราะอาจมีผลต่อระดับยากันชักในเลือดได้ ควรพบแพทย์ที่ดูแลโรคลมชักอย่างสม่ำเสมอ ทานยาและพบแพทย์ตามแพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา เพราะขณะตั้งครรภ์ อาจจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เพื่อการปรับขนาดยาถ้ามีความจำเป็น และเพื่อการใช้วิตามินเสริมกรดโฟลิกเพื่อป้องกันความผิดปกติของลูก
  2. สตรีที่เป็นโรคลมชักสามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาโรคลมชักก่อนการตั้งครรภ์เสมอ และต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ทั้งแพทย์ที่รักษาโรคลมชัก และสูติแพทย์อย่างใกล้ชิด ก็สามารถให้กำเนิดบุตรได้ตามปกติ
  3. ภาวะลมชักวิกฤต

    ข้อแนะนำสำหรับภาวะลมชักวิกฤต การช่วยเหลือเบื้องต้นสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เพราะถ้าช่วยเหลือไม่ถูกวิธีอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือเกิดผลแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงตามมาได้

    สิ่งที่ต้องทำคือ

    • การเปิดช่องทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตของผู้ป่วยให้ดี โดยจัดท่าให้ศีรษะตะแคงไปด้านข้าง เอาสิ่งแปลกปลอมในปากออก เช่น อาหาร ฟันปลอม เพื่อป้องกันการสำลักเข้าทางเดินหายใจซึ่งจะก่อให้ทางเดินหายใจอุดตัน
    • อย่าพยายามนำวัสดุใดๆใส่เข้าไปในช่องปากเพื่อป้องกันการกัดลิ้น เพราะจะเกิดผล เสียมากกว่าผลดี เช่น ฟันผู้ป่วยอาจหักและเลื่อนหลุดไปอุดตันทางเดินหายใจ
    • และควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อให้แพทย์ควบคุมการชักและหาสาเหตุของการชักต่อไป
    (Status epilepticus ย่อว่า SE) คือ การชักที่เกิดขึ้นติดต่อกันนานมากกว่า 30 นาที หรือเกิดอาการชัก 2 ครั้งติดต่อกัน โดยระหว่างที่หยุดชักผู้ป่วยหมดสติตลอด ภาวะนี้เมื่อเกิดแล้วต้องรีบให้การรักษาอย่างรวดเร็ว เพราะถ้าชักนานกว่า 1 ชั่วโมง จะเกิดอันตรายต่อสมองได้ และถ้าชักนานกว่า 12 ชั่วโมง จะเกิดความพิการทางสมอง สาเหตุที่สำคัญของภาวะนี้คือ
  4. ภาวะลมชักจากอุบัติเหตุที่ศีรษะ
    • ในกลุ่มผู้ป่วยที่เกิดอาการชักภายในสัปดาห์แรกนั้น 50% จะชักใน 1 ชั่วโมงแรก แต่ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับ
      • อายุ (อายุมาก มีโอกาสชักสูงขึ้น)
      • ความรุนแรงของอุบัติเหตุ
      • กระดูกกะโหลกศีรษะแตก
      • ตำแหน่งของกะโหลกศีรษะที่แตก
    • ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการชักหลังจาก 1 สัปดาห์ไปแล้ว พบ 50% อาการชักจะเกิดในปีแรกหลังอุบัติเหตุ โดยปัจจัยที่มีผลให้เกิดการช้กได้แก่ ความรุนแรงของอุบัติเหตุ และตำแหน่งของรอยโรคที่เกิดในสมอง

    ข้อแนะนำสำหรับภาวะลมชักจากอุบัติเหตุที่ศีรษะ พบว่าการให้ยากันชักเพื่อป้องกันการชักนั้นไม่ได้ประโยชน์ ดังนั้น มักจะพิจารณาเมื่อผู้ป่วยมีอาการชักเกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้ง โดยในกลุ่มที่ชักในสัปดาห์แรก (ชักเร็ว) จะได้รับยาประมาณ 3 เดือนหรือนานกว่า ขึ้นกับสาเหตุและความถี่ของการชัก ส่วนกลุ่มที่ชักหลังจาก 1 สัปดาห์ไปแล้ว (ชักช้า) จะได้รับการรักษาเหมือนผู้ป่วยโรคลมชักทั่วไป

    โดยสาเหตุของอุบัติเหตุศีรษะมี 2 แบบ คือ จากอาวุธ และจากการกระทบกระแทกต่อกะโหลกศีรษะ โดยอาการชักนี้เราแบ่งได้เป็น 2 แบบ ตามระยะเวลา คือ ภายในสัปดาห์แรกหลังจากเกิดอุบัติเหตุ และหลังจากสัปดาห์แรกไปแล้ว โดยพบว่า

มีคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคลมชักอย่างไร?

คำแนะนำที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก คือ

  1. การทานยากันชัก มีความสำคัญมากในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการชักอีก สิ่งที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่
    1. ทานยาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
    2. ห้ามหยุดยาเอง เพราะอาจเกิดอาการชักที่รุนแรง และอาจเสียชีวิตได้
    3. เมื่อมีอาการไม่สบาย ไม่ควรซื้อยาทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ และควรบอกแพทย์ว่าเป็นโรคลมชัก ทานยาอะไรอยู่ อย่าหยุดยากันชักเอง
    4. สังเกตอาการ/ผลข้างเคียงของการใช้ยากันชักและจากยาต่างๆ ถ้าพบ ให้รีบบอกแพทย์ เช่น ผื่นขึ้นทั้งตัวเวียนศีรษะ เห็นภาพซ้อน (ภาพเดียวแต่มองเห็นซ้อนกันเป็นหลายภาพ) เดินเซ นอนมาก เหงือกบวมโตซีดเหลือง ชาปลายมือปลายเท้า
    5. ถ้าลืมทานยากันชักในวันเดียวกัน ให้ทานยาทันทีที่นึกได้ ถ้าข้ามวันแล้วมีอาการชักให้ปรึกษาแพทย์ ถ้าไม่ชักให้ทานยาทันที และมื้อต่อไปทานยาตามปกติ
  2. การปฏิบัติตนที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการชักซ้ำ และเพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    1. เมื่อมีไข้สูงให้รีบเช็ดตัวลดไข้ หรือทานยาลดไข้ พาราเซตามอล
    2. อย่าอดนอน
    3. ผ่อนคลายความทุกข์ ความเครียด
    4. งดดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่างๆ
    5. สตรีที่เป็นโรคลมชักอาจชักบ่อยช่วง ก่อน - หลัง มีประจำเดือนให้ปรึกษาแพทย์
    6. ควรพกบัตรแสดงตนว่าเป็นโรคลมชักเสมอ เมื่อออกจากบ้าน
    7. มาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  3. ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการชัก
    1. หยุดกิจกรรมที่กำลังทำทันที เมื่อรู้สึกว่ากำลังจะมีอาการชัก
    2. บอกบุคคลใกล้ชิดขณะนั้นให้ช่วย (ถ้าทำได้)
    3. นอนราบบนพื้นที่ไม่มีสิ่งกีดขวางกระแทกร่างกาย

    อนึ่ง สำหรับบุคคลที่ช่วยเหลือผู้ที่กำลังชัก ให้จับผู้ป่วยนอนตะแคงไปด้านข้าง ดันคางให้ยกขึ้น คลายเสื้อผ้าที่รัดผู้ป่วยให้หลวม อย่าให้คนมุง ห้ามป้อนยาหรืออาหารใดๆ ห้ามใช้ช้อน นิ้ว หรือวัสดุใดๆ งัดปากขณะชัก

  4. การดำรงชีวิตของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก

    ขณะที่ไม่มีอาการชักก็เหมือนคนทั่วไป เช่น การเรียน การเล่นกีฬาแต่ควรเลี่ยงกิจกรรมบางชนิด เช่น ทำงานบนที่สูง เครื่องจักร การขับรถ อยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือเตาไฟ การว่ายน้ำในทะเลหรือสระที่ไม่มีคนดูแล การดำน้ำ เพราะเมื่อเกิดอาการชักผู้ป่วยจะหมดสติ และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
    ที่มา   https://haamor.com/th/ความรู้ทั่วไปโรคลมชัก/

อัพเดทล่าสุด