โรคของต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s gland disease)


1,312 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

อวัยวะเพศหญิง  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ก้อนที่ปากช่องคลอด 

ต่อมบาร์โธลินคืออะไร?

ต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s gland) เป็นต่อมที่ผลิตเมือกในสตรี เป็นต่อมขนาดเล็ก มี 2 ต่อมซ้ายและขวา อยู่ทางด้านล่างของแคมใหญ่ทั้ง 2 ข้าง ใต้ผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดที่ตำ แหน่งประมาณ 4 และ 8 นาฬิกา ต่อมมีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ขนาด 0.5-1.5 ซม.(เซนติเมตร) และมีท่อยาว 1.5-2 ซม. มาเปิดบริเวณในช่องคลอดส่วนอยู่ใกล้ปากช่องคลอด เมือกจะถูกผลิตออกมามากเมื่อมีการกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศขณะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยหล่อลื่น

ในภาวะปกติ ต่อมบาร์โธลินจะคลำไม่พบ หากท่อไม่ตัน เมือกที่สร้างออกมาจะถูกส่ง ออกมาตามท่อ ออกมาภายนอกร่างกาย แต่หากท่ออุดตัน ทำให้เมือกไม่สามารถขับออกมาสู่ภายนอกได้ จะทำให้เกิดปัญหา/โรคต่างๆตามมาได้ ดังจะกล่าวถึงต่อไป

โรคที่เกิดที่ต่อมบาร์โธลินมีอะไรบ้าง?

โรค/ภาวะผิดปกติของต่อมบาร์โธลิน คือ

อนึ่ง บทความนี้จะไม่กล่าวถึง โรคเนื้องอก และโรคมะเร็งต่อมบาร์โธลิน เพราะเป็นโรคที่พบได้น้อยมากๆ จะกล่าวถึงเฉพาะ 2โรคแรกเท่านั้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดถุงน้ำต่อมบาร์โธลินมีอะไรบ้าง?

สาเหตุของการเกิดถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน คือ เกิดจาก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มักเกิดการอักเสบติดเชื้อจากแบคทีเรีย พวก Neisseria gonorrhoeae (โรคหนองใน) หรือ Chlamy dia trachomatis (เช่น โรคหนองในเทียม) จึงเป็นสาเหตุทำให้ท่อของต่อมบาร์โธลินอุดตันได้ นอกจากนั้นการอักเสบจากเชื้อ อี โคไล (Escherichai coli, E. coli) ก็ทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่น กัน การเกิดเป็นถุงน้ำมักเป็นทีละข้าง และมีแนวโน้มที่จะเป็นซ้ำอีกภายหลังการรักษาแล้ว

อาการของถุงน้ำต่อมบาร์โธลินมีอย่างไรบ้าง?

อาการของถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน คือ

  • มีก้อนที่ปากช่องคลอด
  • หากเป็นก้อนใหญ่ จะสร้างความรำคาญ และมีอาการระคายเคืองขณะเดินได้
  • ขัดขวางต่อการมีเพศสัมพันธ์ หากก้อนมีขนาดใหญ่

เมื่อมีอาการของถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

เมื่อมีก้อนหรือถุงน้ำเกิดที่บริเวณปากช่องคลอด ย่อมไม่ใช่สิ่งปกติแน่ จริงๆอยากให้ไปพบแพทย์เลย เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องว่าไม่เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่หากมั่นใจว่าเป็นถุงน้ำบาร์โธลินจากตามตำแหน่งที่เกิด และลักษณะเป็นก้อนถุงน้ำและมีขนาดเล็ก ไม่มีอาการเจ็บ ปวด สามารถลองนั่งแช่น้ำอุ่นวันละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-20 นาที 2-3 วัน หากก้อนยุบไป ก็ไม่มีปัญหา แต่หากก้อนไม่ยุบ แนะนำไปพบแพทย์/สูตินรีแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสม

แพทย์วินิจฉัยภาวะถุงน้ำต่อมบาร์โธลินได้อย่างไร?

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะ/โรคถุงน้ำต่อมบาร์โธลินได้จาก การสอบถามประวัติอาการ และตรวจร่างกาย ตรวจบริเวณอวัยวะเพศ โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกิดโรคบริเวณปากช่องคลอด จะเฉพาะเจาะจงมากว่าเป็นโรคนี้ ตามที่กล่าวมาในเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้ ลักษณะของถุงน้ำ คือ เป็นก้อนหยุ่นๆ ค่อนข้างนุ่ม ผิวเรียบ กดไม่เจ็บ แพทย์จึงสามารถวินิจฉัยได้ง่าย

ภาวะถุงน้ำต่อมบาร์โธลินหายขาดหรือไม่?

การเกิดเป็นถุงน้ำต่อมบาร์โธลินมักเป็นทีละข้าง และมีแนวโน้มที่จะเป็นซ้ำได้อีกบ่อยๆ หากมีการอุดตันท่อระบายเมือกอีก หลังการเปิดปากถุง อาการจะดีขึ้น แต่มักไม่ค่อยหายขาด ส่วนระยะเวลาที่กลับเป็นซ้ำมักไม่แน่นอน หากเพียงแค่ใช้เข็มดูดเมือกออกจะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำเร็ว หากใช้วิธีเปิดปากถุงกว้างพอประมาณ การกลับมาอุดตันจะช้ากว่า

การรักษาภาวะถุงน้ำต่อมบาร์โธลินทำได้อย่างไรบ้าง?

แนวทางการรักษาภาวะ/โรคถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน ได้แก่

ถ้าไม่ผ่าตัดถุงน้ำต่อมบาร์โธลินจะมีผลเสียอย่างไร? จะดูแลตนเองอย่างไร?

หากถุงน้ำต่อมบาร์โธลินมีขนาดเล็ก ไม่ก่อความรำคาญต่อสตรี หรือถุงน้ำไม่ขัดขวางต่อการมีเพศสัมพันธ์ อาจไม่ต้องรักษาได้ สามารถสังเกตอาการตนเองไปก่อน เนื่องจากโอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งน้อยมาก ผลเสียที่มีได้ คือ มีการติดเชื้อเข้าไปที่ถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน ทำให้เกิดการอักเสบ จะมีอาการเจ็บปวดมาก

การดูแลตนเองหากเป็นถุงน้ำ คือ การดูแลความสะอาดทั่วไป ดูแลสุขภาวะของอวัยวะเพศ รักษาและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่หากพบก้อนหรือถุงน้ำในช่วงวัยที่อายุมาก หรือ วัยหมดประจำเดือนแล้ว ควรต้องรีบไปพบแพทย์/สุตินรีแพทย์ เพื่อตัดชิ้นเนื้อ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา ว่าเป็นเนื้อร้าย/มะเร็ง หรือไม่

การป้องกันภาวะถุงน้ำต่อมบาร์โธลินมีวิธีใดบ้าง?

วิธีป้องกันโรค/ภาวะถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน คือ

อาการของต่อมบาร์โธลินเป็นหนองมีอย่างไรบ้าง? ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

อาการของต่อมบาร์โธลินเป็นหนอง คือ

ทั้งนี้ โรคต่อมบาร์โธลินเป็นหนอง จะมีอาการปวดมาก หากเป็นระยะเริ่มต้นก้อนไม่ใหญ่ อาจรับประทานยาปฏิชีวนะรักษาได้ ทั้งนี้ มักเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมกันหลายชนิด เรียกว่า เป็นการติดเชื้อแบบรวม เชื้อมีทั้งชนิดกรัม/แกรมบวกและกรัม/แกรมลบ รวมถึงแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง แบคที เรีย) อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ไปพบแพทย์/สูติแพทย์จะปลอดภัยกว่า เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง หากเป็นก้อนใหญ่ ไข้สูง จะมีอาการเจ็บปวดมาก ต้องรีบไปพบแพทย์/สูตินรีแพทย์ เนื่อง จากต้องกรีดหนองออกด้วย การรักษาจึงจะได้ผล

แพทย์วินิจฉัยภาวะต่อมบาร์โธลินเป็นหนองได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรค/ภาวะต่อมบาร์โธลินเป็นหนองจาก

การรักษาภาวะต่อมบาร์โธลินเป็นหนองทำได้อย่างไรบ้าง?

แนวทางการรักษาโรค/ภาวะต่อมบาร์โธลินเป็นหนอง คือ

  • รับประทานยาแก้ปวด ร่วมกับ
  • นั่งแช่น้ำอุ่น (ดังกล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ) ร่วมกับ
  • รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ ร่วมกับ
  • ไปพบแพทย์ เพื่อรับประทานยาแก้อักเสบ (ยาปฏิชีวนะ) ร่วมกับ
  • แพทย์จะกรีดแผลระบายหนอง บางครั้งแพทย์จะใส่ผ้าก็อซ (ผ้าขาวบาง) ชิ้นเล็กๆยาวๆ หรือ ท่อยางขนาดเล็กไว้ข้างในแผล เพื่อเปิดปากแผล เพื่อช่วยระบายหนอง มักไม่นิยมเลาะตัดถุงหนองออกทั้งหมด เนื่องจากจะทำให้เลือดออกมาก

อนึ่ง การเกิดเป็นถุงหนอง มักเป็นทีละข้าง และมีแนวโน้มที่จะเป็นซ้ำอีก

ถ้าไม่รักษาภาวะต่อมบาร์โธลินเป็นหนอง จะเป็นอย่างไร?

หากไม่รักษาโรค/ภาวะต่อมบาร์โธลินเป็นหนอง ก้อนหนองอาจแตกเองได้ หรือทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น เจ็บปวด สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ (อ่านเพิ่มเติมในบท ความเรื่อง ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ)

ในกรณีที่ก้อนหนองไม่ใหญ่มาก ซื้อยาปฏิชีวนะรับประทานแต่ไม่ได้กรีดหนองออก เชื้อโรคสามารถถูกทำลายไปได้ แต่หนองอาจกลายเป็นของเหลวแล้วค้างอยู่ในต่อมฯเหมือนเดิม จะคลำได้เป็นถุงน้ำดังเดิม

ต่อมบาร์โธลินเป็นหนองมีผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง?

การเป็นหนองที่ต่อมบาร์โธลินจะเจ็บปวด ทรมานมาก เดินนั่งลำบาก รบกวนต่อการใช้ชี วิตประจำวัน อาจทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ผู้ป่วยมักทนอาการปวดไม่ไหว ต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการระบายหนองออก

หากเกิดในสตรีที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแลเลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) ได้ หรือในบางครั้งสามารถรักษาการติดเชื้อได้แต่ยังคงมีของ เหลวคั่งอยู่ ก็จะมีลักษณะเป็นถุงน้ำที่ต่อมบาร์โธลินเหมือนเดิม เพียงแต่ไม่มีอาการเจ็บปวด

ต่อมบาร์โธลินเป็นหนองรักษาหายไหม? กลับมาเป็นอีกได้ไหม?

หลักการรักษาต่อมบาร์โธลินเป็นหนอง คือการระบายหนองออกร่วมกับการรับประทานยาแก้อักเสบ (ยาปฏิชีวนะ) ให้ถูกต้องโรค/ภาวะนี้มีโอกาสการกลับเป็นซ้ำได้ หากท่อต่อมบาร์โธลินอุดตันเกิดเป็นถุงน้ำอีก และมีการติดเชื้อซ้ำ หรือเกิดจากที่ระบายหนองไม่เพียงพอ หรือเพียงดูดหนองออกบางส่วน หรือรับประทานยาแก้อักเสบไม่ถูกต้อง

ดูแลตนเองอย่างไรหลังรักษาภาวะต่อมบาร์โธลินเป็นหนองหายแล้ว?

การดูแลตนเอง หลังรักษาภาวะต่อมบาร์โธลินเป็นหนองหายแล้ว ได้แก่

  • รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศทั้งสามีและภรรยา
  • ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเมื่อมีอาการสงสัยการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ควรรีบพบแพทย์/สูตินรีแพทย์
  • ไม่ใส่กางเกงรัดเกินไป
  • เมื่อกลับมามีอาการปวดเจ็บในบริเวณปากช่องคลอด ควรรีบพบแพทย์/สูตินรีแพทย์

ป้องกันต่อมบาร์โธลินเป็นหนองได้อย่างไร?

การป้องกันต่อมบาร์โธลินเป็นหนอง บางครั้งทำได้ยาก การมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดต่อมบาร์โธลินเป็นหนอง การป้องกัน คงเป็นการดูแลสุขภาพ ความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศทั้งของตนเองและสามีให้ดี รวมทั้งการสวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ก็จะช่วยลดการติดเชื้อทางเพศสัม พันธ์ และช่วยลดโอกาสเกิดต่อมบาร์โธลินเป็นหนองได้

โรคของต่อมบาร์โธลินมีผลต่อการตั้งครรภ์ การแท้งบุตร และการคลอดไหม?

กรณีที่เป็นถุงน้ำขนาดเล็กของต่อมบาร์โธลิน มักไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ การแท้งบุตร และการคลอด แต่หากเป็นถุงน้ำขนาดใหญ่ อาจขัดขวางทางคลอดได้ แต่ไม่มีผลต่อการแท้งบุตร

กรณี ต่อมบาร์โธลิน อักเสบเป็นหนอง โดยทั่วไป ไม่ส่งผลต่อ การตั้งครรภ์ การแท้งบุตร หรือ การคลอด แต่ถ้าการอักเสบรุนแรงลุกลาม อาจส่งผลให้แท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดได้

กรณีต่อมบาร์โธลินเกิดเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง มักพบในวัยหมดประจำเดือน จึงไม่มีปัญ หาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์

 

อัพเดทล่าสุด