โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง (Vulvar cancer)


2,124 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

อวัยวะเพศหญิง  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

มีก้อนหรือแผลเรื้อรังที่อวัยวะเพศหญิง 

บทนำ

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง (โยนี) หรือ Vulvar cancer เป็นโรคมะเร็งเกิดกับเนื้อเยื่อได้ทุกส่วนของอวัยวะเพศภายนอกของผู้หญิง คือ

  • บริเวณเนินหัวหน่าว/เนินที่มีขนอวัยวะเพศ (Mons pubis)
  • แคมใหญ่ (Labia majora)
  • แคมเล็ก (Labia minora)
  • ปุ่มกระสัน (Clitoros)
  • ต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s gland, ต่อมที่อยู่บริเวณปากช่องคลอด มีหน้าที่สร้างของ เหลวเพื่อความชุ่มชื้นบริเวณปากช่องคลอด (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง กายวิภาคและสรีรวิทยาอวัยวะเพศภายนอกสตรี และเรื่อง โรคของต่อมบาร์โธลิน)

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง เป็นมะเร็งชนิดเดียวกับมะเร็งผิวหนัง เพราะเนื้อเยื่อของอวัยวะเพศหญิงเป็นเนื้อเยื่อในกลุ่มเดียวกับเนื้อเยื่อผิวหนัง ทั้งนี้โอกาสเกิดโรคในตำแหน่งต่างๆของอวัยวะเพศดังกล่าวใกล้เคียงกัน

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง เป็นโรคพบได้น้อย เพียงประปราย ประมาณ 4% ของโรคมะเร็งอวัยวะระบบสืบพันธุ์ทุกชนิดของผู้หญิง และประมาณ 0.6% ของโรคมะเร็งของผู้หญิงทั้ง หมด โดยสหราชอาณาจักร ในปีพ.ศ. 2551 พบโรคนี้ 2.5 ราย ต่อประชากรหญิง 100,000 คน ส่วนในประเทศไทย รายงานจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ในผู้ป่วยหญิงโรคมะเร็งช่วงปี พ.ศ. 2544-2546 พบโรคนี้ได้ 0.3 รายต่อประชากรหญิง 100,000 คน

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงมีกี่ชนิด?

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงมีหลากหลายชนิด แต่เกือบทั้งหมดจะเป็นโรคมะเร็งของเยื่อบุผิว (Epithelium) และของเยื่อเมือก(Mucosa) ชนิดสะความัส (Squamous cell carcinoma) ดังนั้น โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงจึงหมายถึงโรคมะเร็งชนิดนี้ ซึ่งรวมทั้งในบทความนี้ด้วย

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงเกิดจากอะไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?

สาเหตุที่แน่นอนของโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง ยังไม่ทราบ แต่มีปัจจัยเสี่ยง คือ

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงมีอาการอย่างไร?

อาการของโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงเช่นเดียวกับอาการของโรคมะเร็งผิวหนังเพราะดัง กล่าวแล้วว่า เป็นเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน กล่าวคือ ในบริเวณอวัยวะเพศ จะมีก้อนเนื้อโตเร็ว หรือมีแผลเรื้อรัง (แผลไม่หายภายใน 2 สัปดาห์) มีไฝ หูด หรือปาน ที่โตเร็ว กินลึกลงไปในเนื้อเยื่อใต้รอยโรคนั้นๆ ขอบของรอยโรคนั้นๆจะไม่เรียบ กลายเป็นแผล และ/หรือมีเลือดออกง่าย

เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น มักคลำได้ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบโต อาจเจ็บหรือไม่ก็ได้ อาจโตเพียงต่อมเดียว หรือ หลายต่อม อาจเกิดที่ขาหนีบเพียงด้านเดียว หรือ ทั้งสองด้าน

อนึ่ง บางครั้งอาจพบเกิดเป็นฝ้าขาว (Leukoplakia, มีลักษณะเป็นฝ้า/ปื้นนูนสีขาว เป็นมัน มักไม่มีอาการเจ็บ) หรือ เป็นฝ้าแดง(Erythroplakia, มีลักษณะเป็นฝ้า/ปื้น นูน สีแดง มักไม่เจ็บ) เกิดนำก่อนในเนื้อเยื่อของอวัยวะเพศ ซึ่งเมื่อสังเกตพบ ควรรีบพบแพทย์ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาก่อนกลายเป็นมะเร็ง

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจอวัยวะเพศ การตรวจภายใน และการตรวจคลำต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ แต่ที่ให้ผลแน่นอน คือ การตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อ/แผลเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

ภายหลังผลชิ้นเนื้อระบุเป็นมะเร็ง การตรวจเพิ่มเติม คือ การตรวจเพื่อประเมินระยะโรค และเพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วย โดยทั่วไปมักเป็นการตรวจภาพช่องท้อง หรือช่องท้องน้อย(อุ้งเชิงกราน) ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูการลุกลามของเซลล์มะเร็งเข้าต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องและในช่องท้องน้อย การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) การตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลในเลือดดูการทำงานของตับและของไต และการตรวจปัสสาวะดู การทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ และตรวจเอกซเรย์ภาพปอด ดูโรคของปอด ของหัวใจ และดูการแพร่กระจายของโรค มะเร็งสู่ปอด

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงมีกี่ระยะ?

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับในโรคมะเร็งชนิดต่างๆ และบางระยะอาจแบ่งย่อยได้อีกเพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้ช่วยเลือกวิธีรักษาและเพื่อการศึกษา ซึ่งทั้ง 4 ระยะหลักได้แก่

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงรักษาอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง คือ การผ่าตัด หรือการใช้รังสีรักษา เมื่อโรคอยู่ในระยะที่ 1 วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีการเดียว ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดก้อนมะเร็ง ตำแหน่งที่เกิดโรค อายุ สุขภาพผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ ส่วนโรคในระยะลุกลามแล้ว ตั้งแต่ระยะที่2ขึ้นไป มักเป็นการรักษาร่วมกันทั้ง 3 วิธี คือ การผ่าตัด รังสีรักษา และยาเคมีบำบัด ส่วนยารัก ษาตรงเป้ายังอยู่ในการศึกษา

มีผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงอย่างไร?

ผลข้างเคียง/ผลแทรกซ้อนจากการรักษาโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงขึ้นกับวิธีรักษา โดยผลข้างเคียงจะสูงขึ้นเมื่อ

การผ่าตัดผลข้างเคียง คือ การสูญเสียอวัยวะ แผลผ่าตัดเลือดออก แผลผ่าตัดติดเชื้อ และเสี่ยงต่อการใช้ยาสลบ

รังสีรักษา คือ ผลข้างเคียงต่อผิวหนัง และต่อเนื้อเยื่อส่วนได้รับรังสี (การดูแลผิวหนัง และผลข้างเคียงต่อผิวหนังบริเวณฉายรังสีรักษา)

ยาเคมีบำบัด คือ อาการ คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง ภาวะซีด มีเลือดออกได้ง่ายจากภา วะเกล็ดเลือดต่ำ และการติดเชื้อจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัด และ/หรือรังสีรักษา:การดูแลตนเอง)

ยารักษาตรงเป้าผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากยารักษาตรงเป้า คือ การเกิดสิวขึ้นทั่วตัวรวมทั้งใบหน้า และยารักษาตรงเป้าบางชนิดอาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย แผลติดยากเมื่อเกิดบาดแผล และอาจเป็นสาเหตุให้ผนังลำไส้ทะลุได้

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงรุนแรงไหม?

โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงเป็นโรคมีความรุนแรงปานกลาง สามารถรักษาหายได้ ทั้งนี้ขึ้น กับ ระยะโรค อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย โดยทั่วไป อัตรารอดที่ 5 ปีภายหลังการรักษา

อนึ่ง ความสำคัญของโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง อยู่ที่คุณภาพชีวิต เพราะเมื่อพบความผิด ปกติ ผู้ป่วยมักอายที่จะพบแพทย์ กลัวการถูกตำหนิว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และกลัวการรักษาที่เป็นการผ่าตัดอวัยวะเพศ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักมาพบแพทย์ล่าช้า หรือมักปฏิเสธการรักษา รอจนกระทั่งโรคลุกลามมากแล้ว ก่ออาการเจ็บปวด เลือดออกไม่หยุด หรือต่อมน้ำ เหลืองโตมากจนก่อการบวมของอวัยวะเพศ และ/หรือของขาทั้งสองข้าง จึงยอมรักษา ซึ่งสายไปแล้ว

มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงไหม? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ การสังเกตตนเอง เมื่อเกิดก้อนเนื้อหรือมีแผลเรื้อรัง (แผลที่ไม่หายภายใน 2 สัปดาห์) หรือ มีฝ้าแดง ฝ้าขาว หรือมีสารคัดหลั่ง/ตกขาวผิดปกติจากอวัยวะเพศ ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1-2 สัปดาห์ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ

ป้องกันโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิงอย่างไร?

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง รวมทั้งยังไม่มีรายงานเรื่องการฉีดวัค ซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี(วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก) ว่า สามารถป้องกันโรคมะ เร็งอวัยวะเพศหญิงได้ แต่การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ อาจช่วยลดโอกาสเกิดโรคนี้ลงได้

ดูแลตนเองอย่างไร? ดูแลผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร?

การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งและการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อ่านเพิ่มเติมใน การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็ง และการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และเรื่อง การดูแลตนเอง การดูแลผู้ป่วยเคมีบำบัด
ที่มา   https://haamor.com/th/มะเร็งอวัยวะเพศหญิง/

อัพเดทล่าสุด