ภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency)


1,289 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ไขกระดูก  ทั้งตัว  ระบบโลหิตวิทยา  โภชนาการ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ภาวะขาดธาตุเหล็ก 

บทนำ

ภาวะขาดธาตุเหล็กหรือเกลือแร่เหล็ก (Iron deficiency) คือ ภาวะผิดปกติที่เกิดจากร่าง กายขาดธาตุเหล็ก โดยทั่วไป มักเกิดจากขาดธาตุเหล็กในอาหารที่บริโภค หรือจากมีภาวะเลือดออกเรื้อรัง เช่น การมีแผลในกระเพาะอาหาร หรือในลำไส้ เป็นต้น

ภาวะขาดธาตุเหล็ก เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะซีดหรือโลหิตจาง โดยเป็นสาเหตุให้เกิดโรค/ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก ซึ่งภาวะซีดจากสาเหตุนี้พบได้บ่อยทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศที่ด้อยพัฒนา

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักเกิดในผู้หญิงวัยยังมีประจำเดือน (พบประมาณ 4-8% ของหญิงวัยยังมีประจำเดือน) สาเหตุจากเสียเลือดจากความผิดปกติของประจำเดือน หรือขาดธาตุเหล็กในภาวะการตั้งครรภ์ หรือในภาวะให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการธาตุเหล็กสูงขึ้น ทั้งนี้ ภาวะขาดธาตุเหล็ก พบเกิดในผู้ชายและในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ได้น้อยกว่าในผู้หญิงวัยมีประจำเดือน

ภาวะขาดธาตุเหล็ก

ในประเทศด้อยพัฒนา การขาดธาตุเหล็กเกิดได้ในทุกอายุ ทุกเพศ และทุกวัย จากภาวะขาดอาหารเนื้อสัตว์ จากปัญหาทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะธาตุเหล็กมีมากในเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นธาตุเหล็กที่มีคุณภาพ และเป็นชนิดที่ร่างกายดูดซึมได้ดี (Heme iron) ส่วนธาตุเหล็กที่มีในพืช ซึ่งราคาถูกกว่า เป็นธาตุเหล็กชนิดที่ดูดซึมได้ไม่ดี (Nonheme iron) การขาดอาหารเนื้อสัตว์จึงเป็นสาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก จนก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กได้

ภาวะขาดธาตุเหล็ก มักพบได้ในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย เนื่องจาก

ซึ่งทั้งสองภาวะหลัง เป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายต้องการธาตุเหล็กสูงกว่าปกติ จึงก่อให้เกิดการขาดธาตุเหล็กได้ง่าย

ธาตุเหล็กมีในอาหารอะไรบ้าง?

ธาตุเหล็ก (Iron) เป็นธาตุอาหารสำคัญที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องได้จากอาหารอย่างเพียงพอ

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ปลา เป็ด ไก่ ตับ ม้าม ไข่แดง อาหารเช้าซีเรียล (Cereal) หรือนมที่เสริมอาหารด้วยธาตุเหล็ก ในพืช เช่น ผักที่มีใบเขียวเข้มทุกชนิด เช่น ใบตำลึง ผักโขม ถั่วแดง ถั่วดำ ข้าวโอต

ธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมในส่วนของลำไส้เล็ก ซึ่งธาตุเหล็กจากแหล่งอาหารที่มาจากสัตว์ จะถูกดูดซึมได้ดีกว่าจากแหล่งอาหารที่มาจากพืช นอกจากนี้ ธาตุเหล็กยังดูดซึมได้ดีในภาวะที่น้ำย่อยอาหารมีความเป็นกรด (ดังนั้น ยาเคลือบกระเพาะอาหาร และยาลดกรด จึงลดการดูดซึมของธาตุเหล็ก) และวิตามินซี และอาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กด้วย

แต่สารที่ลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ได้แก่

  • ยาบางชนิดดังกล่าวแล้ว
  • สาร Tannin ในชาและกาแฟ เมื่อบริโภคในปริมาณสูง
  • อาหารที่มีใยอาหารสูง
  • และอาหารที่มีแคลเซียมสูง

ธาตุเหล็ก เมื่อดูดซึมแล้ว ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้งาน บางส่วนร่างกายจะสะสมไว้ใน ตับ ม้าม และไขกระดูก ทั้งนี้ ในภาวะปกติ ร่างกายจะกำจัดธาตุเหล็กส่วนเกินออกทางตับ (ทางน้ำ ดี) และทางไต (กำจัดออกทางปัสสาวะ แต่ในปริมาณน้อยมาก)

ร่างกายต้องการธาตุเหล็กวันละเท่าไร?

ตามคำแนะนำสำหรับคนทั่วไปต่อปริมาณธาตุเหล็กที่ควรบริโภคต่อวัน (DRI, Dietary reference intakes) ของสถาบันการแพทย์แห่งชาติ แห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Nutrition Board, Institute of Medicine, National Academies) คือ

อายุ ปริมาณธาตุเหล็ก(มิลลิกรัมต่อวัน)
0-6 เดือน 0.27
7-12 เดือน 11
1-3 ปี 7
4-8 ปี 10
  
ผู้ชาย
อายุ ปริมาณธาตุเหล็ก(มิลลิกรัมต่อวัน)
9-13 ปี 8
14-18 ปี 11
19- มากกว่า 70 ปี 8
  
ผู้หญิง
อายุ ปริมาณธาตุเหล็ก(มิลลิกรัมต่อวัน)
9-13 ปี 8
14-18 ปี 15
19-50 ปี 18
51-มากกว่า 70 ปี 8
  
หญิงตั้งครรภ์
อายุ ปริมาณธาตุเหล็ก(มิลลิกรัมต่อวัน)
14-50 ปี 27
  
หญิงให้นมบุตร
อายุ ปริมาณธาตุเหล็ก(มิลลิกรัมต่อวัน)
14-18 ปี 10
19-50 ปี 9
 

ธาตุเหล็กมีประโยชน์และโทษอย่างไร?

ประโยชน์ หรือ หน้าที่ของธาตุเหล็ก ที่สำคัญที่สุด คือ เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย เพื่อการทำงาน การใช้พลังงานของเซลล์ทุกๆเซลล์ของร่างกาย ธาตุเหล็กจึงมีความสำคัญต่อไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดงเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อขาดธาตุเหล็ก จะเป็นสาเหตุหลักให้เกิดภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง (โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก)

ประโยชน์/หน้าที่อื่นๆของธาตุเหล็ก ได้แก่ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรค ช่วยการเจริญเติบ โตของเซลล์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและความจำ (Cognitive development) ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆในการสันดาปพลัง งาน/นำพลังงานต่างๆไปใช้

โทษ หรือ ผลข้างเคียงจากการมีธาตุเหล็กในร่างกาบมากเกินไป หรือจากการเสริมธาตุเหล็กในปริมาณสูงต่อเนื่อง มีอันตรายสูงถึงเสียชีวิตได้ โดยผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น ก่อการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกในทาง เดินอาหารได้ ทั้งจากกระเพาะอาหารและจากลำไส้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย วิงเวียน น้ำหนักลด/ผอมลง ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเทา มีผลกดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค (ติดเชื้อได้ง่าย) และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง หรือโรคมะเร็งได้

ซึ่งถ้ามีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมากขึ้น จะส่งผลต่อการทำงานของ ไขกระดูก ตับ ไต หัวใจ ปอด และสมอง ก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลียมากขึ้น ภาวะซีด หัวใจเต้นผิดปกติ ตัวเขียวคล้ำ ชัก ตับวาย ไตวาย โคม่า และเสียชีวิตได้ในที่สุด

ดังนั้น จึงไม่ควรกินธาตุเหล็กเสริมอาหารเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะในเด็ก

อะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงให้ขาดธาตุเหล็ก?

สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะขาดธาตุเหล็ก ได้แก่ ร่างกายได้รับธาตุเหล็กจากอาหารไม่เพียงพอ และ/หรือภาวะที่ร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น

ใครมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก?

ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก คือ

ขาดธาตุเหล็กแล้วจะมีอาการอย่างไร?

อาการสำคัญที่สุดจากขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะซีด (โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก) ส่วนอาการอื่นๆที่อาจพบได้ เช่น

แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดธาตุเหล็กได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดธาตุเหล็กได้จาก ประวัติอาการของผู้ป่วย การมีปัจจัยเสี่ยง การกินอาหารที่ขาดธาตุเหล็ก การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) (ดูค่าเม็ดเลือดแดง) ตรวจเลือดดูค่าของธาตุเหล็กและสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธาตุเหล็ก นอกจากนั้นอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจอุจจาระหาไข่หรือหาตัวพยาธิ หรือตรวจไขกระดูกเพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา และ/หรือเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

รักษาภาวะขาดธาตุเหล็กอย่างไร?

แนวทางการรักษาภาวะขาดธาตุเหล็ก คือ การให้ธาตุเหล็กเสริมอาหาร อาจโดยการกิน หรือการฉีด ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการและสาเหตุของโรค และการให้อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง นอกจากนั้น คือการรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตาอาการ

การรักษาสาเหตุ เช่น ยาถ่ายพยาธิเมื่อการขาดธาตุเหล็กเกิดจากพยาธิ หรือการรักษาภา วะประจำเดือนผิดปกติเมื่อมีเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติ เป็นต้น

การรักษาประคับประคองตาอาการ เช่น การให้เลือด กรณีเลือดออกมาก หรือซีดมากจนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นต้น

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อขาดธาตุเหล็ก? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองที่สำคัญที่สุด คือการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก โดยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็ก และควรพบแพทย์เมื่อตนเองอยู่ในกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก เพื่อการรักษาสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น

เมื่อมีอาการต่างๆดังกล่าวแล้วในหัวข้ออาการ ควรพบแพทย์เสมอ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ หลังจากนั้นควรปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ ซึ่งที่สำคัญ คือ

  • กินยาต่างๆที่แพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
  • กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกมื้ออาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
  • รักษา ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
  • ไม่ซื้อธาตุเหล็กเสริมอาหารกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันโทษ/ผลข้าง เคียงจากธาตุเหล็ก
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ
  • รีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่ออาการต่างๆไม่ดีขึ้น เลวลง หรือผิดปกติไปจากเดิม

ป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็กอย่างไร?

สามารถป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็กได้โดย

  • กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกวัน โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
  • หลีกเลี่ยง สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง (ที่หลีกเลี่ยงได้) ที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
  • ป้องกัน รักษา ควบคุม สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
  • เมื่ออยู่ในกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงควรพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลตนเอง
  • ควรนำลูกพบแพทย์ พยาบาล ตั้งแต่แรกเกิดตามนัดเสมอ เพื่อการดูแลสุขภาพเด็ก และการคัดกรองภาวะซีด
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) ป้องกันโรคพยาธิต่างๆ

ที่มา   https://haamor.com/th//ภาวะขาดธาตุเหล็ก/

อัพเดทล่าสุด