เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)


964 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

สมอง  ระบบประสาทวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้  ปวดศีรษะ 

บทนำ

เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) เป็นเนื้อเยื่อบางๆแต่แข็งแรง เป็นเนื้อเยื่อที่หุ้มสมองทุกส่วน เพื่อทำหน้าที่ปกป้องสมอง ซึ่งเมื่อมีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อนี้ จะทำให้เกิดเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคพบได้เรื่อยๆ ไม่ถึงกับบ่อยมาก โดยในประ เทศตะวันตก พบโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากติดเชื้อแบคทีเรียประมาณ 3 คนต่อประชากร 100,000 คน และจากติดเชื้อไวรัสประมาณ 10.9 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งโอกาสเกิดโรคเท่ากันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย และเป็นโรคพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดได้อย่างไร? ติดต่อได้ไหม?

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ ที่พบบ่อยที่สุด คือ จากเชื้อไวรัส และที่รองลงไป คือ เชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้บ้าง คือ จากเชื้อรา และจากสัตว์เซลล์เดียว (โปรตัวซัว Protozoa) แต่บางครั้งแพทย์อาจตรวจไม่พบเชื้อได้

เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่พบได้ เช่น เชื้อเอนเทโรไวรัส (Enterovirus) ที่ทำให้เกิดโรค มือ เท้า ปาก และ ไข้หวัด ทั่วไป เชื้อวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella zoster virus) ที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส และเชื้อไวรัสคางทูม (Mumps virus) ที่ทำให้เกิดโรคคางทูม

เชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่พบได้ เช่น เชื้อนัยซ์ซี เรีย เมนิงไจติดิส (Neisseria meningitidis) เชื้อมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลสิส (Mycobacterium tuberculosis) ที่ทำให้เกิดโรควัณโรค และเชื้อเลปโตสไปรา (Leptospira) ที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนู

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากเชื้อเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองโดยผ่านทางกระแส โลหิตซึ่งเป็นสาเหตุบ่อยที่สุด นอกจากนั้น ที่พบน้อยกว่ามาก คือ จากเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียงเยื่อหุ้มสมองมีการอักเสบติดเชื้อ แล้วเชื้อลุกลามเข้าเยื่อหุ้มสมองร่วมด้วย เช่น จากมีการอักเสบติดเชื้อใน หู หรือ ในโพรงไซนัสต่างๆ และจากการที่เยื่อหุ้มสมองได้รับเชื้อโดยตรง เช่น จากอุบัติเหตุทางสมอง ก่อบาดแผลและการติดเชื้อโดยตรงต่อเยื่อหุ้มสมอง

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดต่อโดยการสัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยทาง การหายใจ ไอ จาม อุจจาระ ปัสสาวะ และตุ่มแผล ที่มีเชื้อโรคเจือปน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอะไรบ้าง?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอาการอย่างไร?

อาการจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบไม่ว่าเกิดจากเชื้อชนิดใด จะมีอาการเหมือน กัน แต่อาจแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นกับอายุ

ในเด็กแรกเกิดอายุไม่เกิน 1 เดือนอาการที่พบบ่อย คือ

ในเด็กวัยอื่นและคนทั่วไปอาการที่พบบ่อย คือ

ในผู้สูงอายุ และคนมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำอาการที่พบได้บ่อย คือ

แพทย์วินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้จาก ประวัติอาการต่างๆ ประวัติการติดเชื้อ อุบัติเหตุ การตรวจร่างกาย แต่ที่สำคัญ คือ เจาะหลัง ตรวจน้ำไขสันหลัง และตรวจเชื้อจากน้ำไขสันหลัง นอกจากนั้น อาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ตามอา การผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจเลือดดูภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่างๆ เพื่อแยกชนิดของเชื้อไวรัส เป็นต้น

รักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้อย่างไร?

การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คือ การรักษาสาเหตุ เช่น เมื่อเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย คือ การให้ ยาปฏิชีวนะ ตามชนิดของเชื้อ และการรักษาประคับประ คองตามอาการ ส่วนเมื่อเกิดจากติดเชื้อไวรัส เป็นเพียงการรักษาประคับประคองตามอาการ เพราะปัจจุบันยังไม่มียาที่ฆ่าไวรัสได้ ส่วนเมื่อเกิดจากเชื้ออื่นๆ การรัก ษา คือ การให้ยาฆ่าเชื้อนั้นๆ ร่วมกับการรักษาประคับประคองตามอาการ

การรักษาประคับประคองตาอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาป้องกันการชัก และการให้น้ำเกลือเมื่ออาเจียนมาก กินไม่ได้ เป็นต้น

มีผลข้างเคียงจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างไรบ้าง?

ผลข้างเคียง ที่พบได้จากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คือ มีผลต่อการหายใจ หยุดหายใจ และเสียชีวิตได้ นอกจากนั้น ในระยะยาวตลอดชีวิต คือ ชัก หูหนวก ตาบอด เป็นอัมพฤกษ์/อัมพาต พูดไม่ชัด มีปัญหาทางด้านสมอง เช่น มีอารมณ์แปรปรวน ปัญหาด้านความคิด และความจำ โดยเฉพาะเมื่อเป็นเด็กเล็ก เมื่อเติบ โตขึ้น สติปัญญามักด้อยกว่าเกณฑ์

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบรุนแรงไหม?

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรครุนแรง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ความรุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สูงกว่าการติดเชื้อไวรัสมาก ซึ่งประมาณ 25-30% ของผู้ติดเชื้อแบคทีเรียมักเสียชีวิต แต่ไม่ค่อยพบการเสียชีวิตจากติดเชื้อไวรัส

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

เมื่อมีอาการดังกล่าวแล้ว ควรรีบพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือเป็นการฉุกเฉินทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ เพื่อการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที หลังจากนั้นดูแลตนเอง ตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ

ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้อย่างไร?

การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งคือ การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) นอกจากนั้น คือ

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย
  • รู้จักใช้หน้ากากอนามัย
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนกินอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ
  • กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ และออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพทุกวัน เพื่อการมีสุขภาพแข็งแรง
  • รักษา ควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
  • ปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุ ที่มีวัคซีนเมื่ออยู่ในถิ่นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น วัคซีนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิด วัคซีนโรคคางทูม และ วัคซีนโรคอีสุกอีใส เป็นต้น

ที่มา   https://haamor.com/th/เยื่อหุ้มสมองอักเสบ/

อัพเดทล่าสุด