คางทูม (Mumps)


947 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ต่อมน้ำลายหน้าหู  ระบบโรคติดเชื้อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้  เจ็บต่อมน้ำลายหน้าหู 

ทั่วไป

โรคคางทูม (Mumps หรือ มัมส์) เป็นโรคติดต่อเฉียบพลันของทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส มัมไวรัส (Mumps virus หรือ พารามิกโซไวรัส/Paramyxovirus) เป็นการอักเสบของต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ซึ่งอยู่บริเวณแก้ม หน้าหู เหนือขากรรไกร เรียกว่า ต่อม พาโรติด (Parotid glands) ซึ่งเป็นต่อมคู่ มีทั้งข้างซ้าย และ ข้างขวา ซึ่งโรคอาจเกิดกับต่อมน้ำลายเพียงข้างเดียว หรือทั้ง สองข้างได้ นอกจากนั้นอาจเกิดกับต่อมน้ำลายอื่นได้ เช่น ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร และ/หรือ ต่อมน้ำลายใต้คาง ซึ่งพบได้น้อยกว่ามาก และเมื่อเกิดกับต่อมน้ำลายอื่นๆ มักเกิดร่วมกับการอักเสบของต่อมพาโรติดด้วยเสมอ คางทูม เป็นโรคพบเกิดบ่อยในฤดูหนาว และต้นฤดูร้อน มักเกิดในเด็กปฐมวัย อายุ 2-5 ปี

โรคคางทูมมีอาการอย่างไร?

อาการของโรคคางทูม เกิดหลังสัมผัสโรค (ระยะฟักตัวประมาณ 14-18 วัน แต่อาจเร็วได้ถึง 7 วัน หรือนานได้ถึง 25 วัน โดยจากไวรัสก่อให้เกิดการอักเสบของต่อมพาโรติด เริ่มจากมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตัว เบื่ออาหาร หลังจากนั้น 1-2 วัน จะเจ็บบริเวณ หน้าหู และขากรรไกร ต่อมา ต่อมน้ำลาย พาโรติด จะค่อยๆโตขึ้น อาจโตมากถึงระดับลูกตา และ เจ็บมาก อาจมีอาการเจ็บแก้ม และเจ็บหู ด้านเดียวกับต่อมน้ำลายที่เกิดโรค อย่างไรก็ตาม ประมาณ 30% ไม่มีอาการอื่น ยกเว้นมีเพียงต่อมพาโรติดโตเพียงอย่างเดียว โดยทั่วไป อาการและต่อมน้ำลายที่โตจะค่อยๆยุบหายไปในระยะเวลา ประมาณ 7-10 วัน

โรคคางทูมติดต่อไหม? ติดต่ออย่างไร?

คางทูม เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ จากการหายใจ และ สัมผัสน้ำลายของผู้ป่วย ระยะที่ติดต่อได้ง่าย คือ 1-7 วัน ก่อนมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ไปจนถึง 5-10 วัน หลังจากมีการบวมของต่อมน้ำลาย

โรคคางทูมรุนแรงไหม?

โดยทั่วไป คางทูมเป็นโรคไม่รุนแรง มักหายได้เองภายใน 7-10 วัน โดย เฉพาะในเด็กปฐมวัย แต่เมื่อเกิดในวัยรุ่น หรือ ในผู้ใหญ่ ความรุนแรงโรคอาจสูงกว่าในเด็กปฐมวัยมาก จากมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนสูงขึ้น

ผลข้างเคียงจากโรคคางทูมมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียง (ผลแทรกซ้อน) จากโรคคางทูม พบได้สูงขึ้นเมื่อเกิดโรคในเด็กวัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือ ในคนมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ผลข้างเคียงแทรกซ้อน ที่อาจพบได้ เช่น

แพทย์วินิจฉัยโรคคางทูมได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคคางทูมได้จาก ประวัติอาการ และการตรวจร่างกาย แต่ที่แน่นอน คือ จากการตรวจหาไวรัส จาก น้ำลาย จากสารคัดหลั่งในช่องปาก จากน้ำปัสสาวะ และ/หรือ จากน้ำไขสันหลัง และ/หรือ ตรวจเลือดหาระดับสารภูมิคุ้ม กันต้านทานจากโรคนี้ (Antibody/แอนติบอดี)

มีวิธีดูแลรักษาโรคคางทูมอย่างไร? และควรพบแพทย์เมื่อไร?

ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะในโรคคางทูม ไม่จำเป็นต้องได้ยาปฏิชีวนะ เพราะไม่ ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ ฆ่าไวรัสไม่ได้ ฆ่าได้เฉพาะแบคทีเรีย) การรักษา เพียงประคับประคอง ตามอาการ ที่สำคัญ คือ

  • การให้ยาแก้ปวด /แก้ไข้ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน เพราะ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากยาแอสไพรินได้ (การแพ้ยาแอสไพริน)
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ
  • รับประทานอาหารอ่อน
  • ควรรีบพบแพทย์เมื่อ
    • ไข้สูง ตั้งแต่ 38° เซลเซียส ขึ้นไป และไข้ไม่ลงภายใน 2-3 วันหลังดูแลตนเองในเบื้องต้น แต่เมื่อเป็นคนมีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ หรือ ในเด็กเล็ก ควรรีบพบแพทย์เสมอ เมื่อไข้ไม่ลงภายใน 1-2 วัน
    • ปวดต่อมน้ำลายมาก และอาการปวดไม่ดีขึ้นหลังกินยาบรรเทาอาการ
    • กินอาหาร และ/หรือ ดื่มน้ำได้น้อย
    • เมื่อกังวลในอาการ
  • ควรพบแพทย์เป็นการฉุกเฉินเมื่อ

มีวิธีป้องกันโรคคางทูมไหม?

วิธีป้องกันโรคคางทูมที่มีประสิทธิภาพ คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งปัจจุบัน เด็ก ไทยในโรงเรียนต่างๆได้รับการฉีดวัคซีนนี้อยู่แล้วในรูปแบบวัคซีนรวม เอ็ม เอ็ม อาร์ (MMR, M=mumps/มัมส์/โรคคางทูม Measles/มีเซิลส์/โรคหัด R= rubella/โรคหัดเยอรมัน) นอกจากนั้น ได้แก่

  • แยกผู้ป่วย ประมาณ 9- 10 วัน หลังเริ่มมีต่อมน้ำลายโต เพราะเป็นระยะแพร่เชื้อสำคัญ
  • ควรหยุดโรงเรียน หรือ หยุดงาน ช่วงระยะแพร่เชื้อ เพื่อป้องกัน การแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยง การเล่น การสัมผัสกับคนเป็นโรคนี้
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้มีสุขภาพแข็ง แรง และเพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งเชื้อไวรัสคางทูม

ที่มา  https://haamor.com/th/คางทูม/

อัพเดทล่าสุด