อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเด็กสำหรับคุณแม่


919 ผู้ชม


"อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเด็กสำหรับคุณแม่"

    การรีบออกจากบ้านกลางดึกโดยหวังว่าร้านขายยาที่ใกล้ที่สุดจะยังคงเปิดอยู่ เพื่อที่จะหาซื้อเจลทาแก้ปวดเหงือกสำหรับเจ้าตัวเล็กที่กำลังร้องโยเยเพราะฟันกำลังขึ้นนั้น

เป็นประสบการณ์หนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรหลีกเลี่ยงนะคะ คุณแม่มือใหม่ควรจะเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้สำหรับลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลก ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญๆ ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ได้โดยไม่ต้องเครียดกับการหาซื้อยาในนาทีสุดท้ายหรือโทรหาคุณหมอกลางดึกค่ะ

รายการอุปกรณ์ปฐมพยาบาลต่อไปนี้ได้รวบรวมขึ้นจากคำแนะนำของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก และคุณแม่ท่านอื่นๆ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ได้รับคำแนะนำทางการแพทย์เพิ่มเติมก็สามารถจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ มาเพิ่มได้อีกนะคะ

หมายเหตุ: เก็บอุปกรณ์ชุดนี้ให้ห่างจากมือเด็กและหมั่นตรวจสอบอายุการใช้งานของยาและอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่เสมอ เพื่อให้พร้อมสำหรับการปฐมพยาบาลครั้งต่อไป

ชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

อุปกรณ์สำหรับดูดน้ำมูก: เครื่องดูดทรงกระเปาะใช้สำหรับดูดน้ำมูกที่อุดตันรูจมูก ซึ่งอาจเกิดได้จากอาการภูมิแพ้และเป็นหวัด

ยาหยอดจมูก: ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ดูดน้ำมูกเมื่อลูกน้อยมีขี้มูกแห้งและหนา สารละลายเกลือสำหรับหยอดจมูกนี้ช่วยให้รูจมูกที่แห้งคัดและมีขี้มูกเต็มชุ่มชื้นขึ้น และทำให้ใช้อุปกรณ์สำหรับดูดน้ำมูกได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้น

โลชั่นกันยุง: ควรเลือกสูตรเฉพาะสำหรับเด็ก ที่ปราศจากสารฆ่าแมลง DEET อาจใช้ชนิดที่มี Ethyl

ครีมสำหรับทาแมลงกัดต่อยหรือโลชั่นคาลาไมน์: ควรสอบถามแพทย์เพื่อแนะนำยี่ห้อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับเจ้าตัวน้อยของคุณ

เทอร์โมมิเตอร์: ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิทางก้น (rectal thermometer) หรือเทอร์โมมิเตอร์แบบวัดที่หูเพื่อความแม่นยำในการอ่านค่า เนื่องจากเทอร์โมมิเตอร์แบบแถบวัดอุณหภูมิมักมีความเที่ยงตรงน้อยกว่า

เจลทาแก้ปวดเหงือก: ใช้ทาแก้ปวดเหงือกสำหรับคุณหนูน้อยที่ฟันเริ่มขึ้น แนะนำเป็นแบบ organic หรือที่ผลิตจากส่วนผสมธรรมชาติ

พลาสเตอร์ปิดแผลและแผ่นผ้าก๊อซแบบปลอดเชื้อ: ใช้สำหรับปิดบาดแผลทั่วไปและแผลจากการขลิบ ควรมีเก็บไว้หลายๆ รูปร่างและขนาด

เทปกาวปลอดเชื้อและกรรไกร: ใช้สำหรับยึดแผ่นผ้าก๊อซ

ครีมฆ่าเชื้อโรค: ใช้สำหรับทาบาดแผลหรือแผลถลอกเล็กน้อยเครื่องดื่มสำหรับชดเชยการขาดน้ำ: ควรมีไว้ใกล้ตัวเสมอยามลูกน้อยท้องเสีย เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำในร่างกาย แต่ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

แอลกอฮอล์สำหรับเช็ดผิวหนัง: ใช้สำหรับทำความสะอาดมือ สำลี และอุปกรณ์ก่อนใช้งาน ห้ามใช้สำหรับถูหรือนวดทารก

ช้อนตวง หลอดหยดยา และ/หรือกระบอกฉีดป้อนยา: ใช้สำหรับวัดปริมาณยาเพื่อการใช้ยาอย่างถูกต้อง
ที่มา   https://www.widemagazine.com/content_detail.php?cont_id=231

อัพเดทล่าสุด