กลูตาไทโอนที่ใช้ทำให้ผิวขาว... เป็นสารอันตรายหรือไม่?


740 ผู้ชม


"กลูตาไทโอนที่ใช้ทำให้ผิวขาว... เป็นสารอันตรายหรือไม่?"

    ลูตาไทโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยในแง่ชะลอความเสื่อมของร่างกาย เพราะอนุมูลอิสระจะวิ่งสะเปะสะปะไปชนเซลล์ต่าง ๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสื่อมสภาพ...

กลูตาไทโอน (glutathione) เป็น tripeptides ของกรดอะมิโน 3 ตัว คือ ซิสทีน (cysteine) กรดกลูตามิก (glutamic acid) และไกลซีน (glycine) ปกติร่างกายสามารถผลิตได้เองตามธรรมชาติ และยังได้จากอาหารหลายอย่าง เช่น โปรตีน นม ไข่ ผลอะโวคาโด สตรอเบอร์รี มะเขือเทศ ผักบรอกโคลี ส้มเกรปฟรุต และผักโขม

หน้าที่หลักของกลูตาไทโอนมีอยู่ 3 ประการคือ ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย และขจัดสารพิษ
          กลูตาไทโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยในแง่ชะลอความเสื่อมของร่างกาย เพราะอนุมูลอิสระจะวิ่งสะเปะสะปะไปชนเซลล์ต่าง ๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสื่อมสภาพ มีผลในแง่เสริมภูมิต้านทานและยังช่วยให้ตับขจัดสารพิษออกจากร่างกาย
          กำลังมีงานวิจัยที่จะนำสารกลูตาไทโอนตัวนี้มารักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ข้ออักเสบ โรคพาร์กินสัน (ที่มีอาการมือสั่น ควบคุมการทรงตัวลำบาก) โรคตับ โรคไต โรคเอดส์ ภาวะเป็นหมันในเพศชาย และภาวะหูตึงจากเสียงดัง
 ยังไม่แนะนำให้สตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรรับสารตัวนี้โดยไม่ปรึกษาแพทย์
          สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลว่า ปัญหาของกลูตาไทโอนที่ควรระวังคือ การฉีดยาตัวนี้เข้าหลอดเลือดดำมีโอกาสแพ้ได้ มีรายงานในต่างประเทศว่าผู้ที่ได้รับการฉีดกลูตาไทโอนขนาดสูงที่ใช้กันอยู่ มีอาการช็อก ความดันต่ำ หายใจไม่ออก จนถึงขั้นเสียชีวิต และการฉีดนั้นมักให้วิตามินซีในขนาดสูงร่วมด้วย ซึ่งการฉีดวิตามินซีขนาดที่สูงและเร็วเกินไปอาจทำให้เกิดอาการมึนศีรษะคล้าย จะเป็นลมได้
          พบว่าการได้รับสารกลูตาไทโอนเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เม็ดสีที่จอตาลดลงเสี่ยงต่อการมองเห็นได้ในอนาคต จึงจัดว่าเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางตา และการใช้สารกลูตาไทโอนในผู้ป่วยมะเร็งทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาทางเคมีลดลง
ที่มา   https://www.widemagazine.com/content_detail.php?cont_id=859

อัพเดทล่าสุด