เคล็ดลับ การดูแลริมฝีปาก ให้น่าจุ๊บ


869 ผู้ชม


"เคล็ดลับ การดูแลริมฝีปาก ให้น่าจุ๊บ"

    ปากแห้ง ติดเชื้อ เป็นขุย เป็นแผล คงไม่ดีแน่มาทำการดูแลริมฝีปากให้น่าจุ๊บด้วยเคล็ดลับการดูแลริมฝีปากของเรากันดีกว่าค่ะ

ยิ่งอากาศเปลี่ยน ๆ แบบนี้ยิ่งต้องดูแลริมฝีปากของคุณให้เป็นพิเศษเลยยิ่งหน้าหนาวด้วยยิ่งไม่ต้องพูดถึง ริมฝีปากของคุณจะแห้งเป็นสองเท่าของอากาศปกติกันเลยทีเดียวค่ะ มาทำการดูแลริมฝีปากให้นิ่งสุขภาพดีกันดีกว่านะค่ะ นั้นไม่ช้าเนอะมาดู เคล็ดลับ การดูแลริมฝีปาก กันเลยค่ะ

การดูแลริมฝีปาก

- อากาศเปลี่ยนแปลง

     อากาศแห้ง ลมแรง และแสงแดดจัด จะทำให้ริมฝีปากของเราต้องสัมผัสกับรังสี UVA ซึ่งทำร้ายเซลล์และเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ปากแห้งและแตก ป้องกันได้ง่าย ๆ โดยการพกลิปมันติดตัวทาบ่อย ๆ แต่บาง ๆ ไม่อย่างนั้นแล้วคุณอาจเลียออกจนหมด อย่างไรก็ตามลิปมันแต่ละรุ่นหรือแต่ละแบรนด์ย่อมต่างกัน ถ้าริมฝีปากอ่อนนุ่มของคุณกลายเป็นทุ่งหินงามแล้วละก็คุณจำเป็นต้องใช้ลิปมันที่ให้ความชุ่มชื้นมากเป็นพิเศษและอย่างน้อยที่สุดลิปมันควรมี SPF15 ด้วยนะคะ


- แผลติดเชื้อ

     ปากแตกบางกรณีจำเป็นต้องให้แพทย์รักษายิ่งถ้าแตกบริเวณด้านในที่ริมฝีปากของคุณประกบกันละก็แผลแตกอาจจะอักเสบ เกิดเป็นผื่นแดงหรือตุ่มที่ทั้งปวดทั้งแสบแถมแผลก็ไม่ยอมหายง่าย ๆ จะแตกซ้ำ ๆ ที่เดิม นอกจากนี้อาจเป็นสัญญาณถึงโรคอื่น ๆ เช่น โรคคาวาซากิ ดังนั้น หากคุณกินยาก็แล้วหยุดเลียก็แล้วและทำตามคำแนะนำอื่น ๆ แต่ยังไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ก็ได้เวลาไปพบแพทย์แล้วค่ะ

- วิตามินบีหายไปไหน

     ร่างกายอาจส่งสัญญาณบอกคุณว่า "วิตามินบีต่ำแล้วนะ!" วิตามินบีที่จำเป็นได้แก่ วิตามินบี 2, 6 และ 12 ซึ่งถ้าขาดไปแล้วคุณอาจจะมึนเวียนศีรษะ ชีพจรเต้นถี่ อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ไม่อยากอาหาร ระบบย่อยอาหารไม่ดี การรับสัมผัสผิดปกติและน้ำหนักลดลงอย่างมาก (ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี) แต่เราสามารถหาวิตามินบีได้ง่าย ๆ จากเนื้อสัตว์ทั้งหลายรวมไปถึง ปลา เนื้อวัว สัตว์ปีก ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต แล้วอย่าลืมกินผลไม้อย่างกล้วยหรือมะม่วงที่มีวิตามิบี 6 นะคะ


- ธาตุเหล็กไม่พอ

     อาจเป็นสาเหตุของโลหิตจางนอกจากปากแตกร่างกายของคุณจะรู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศีรษะ หงุดหงิด ชีพจรผิดปกติ และขาดสมาธิ แม้ส่วนใหญ่แล้วจะรักษาได้ด้วยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อไม่ติดมัน ถั่วและผลไม้ อบแห้ง ไข่ (โดยเฉพาะไข่แดง) อาหารทะเล ถั่วลันเตา ผักขม หน่อไม้ฝรั่ง บร็อกโคลี่ และธัญพืช แต่ถ้าคุณมีปัญหาการดูดซึมธาตุเหล็กก็ควรจะปรึกษาแพทย์ค่ะ
ที่มา    https://www.widemagazine.com/content_detail.php?cont_id=318

อัพเดทล่าสุด