ข้าวซอยลำใยรับรองแขกแก้วมาเรือน(ตอนที่ 5)


อาหารเส้น ข้าวซอยลำใยและวุ้นลำใยลอยแก้ว เลี้ยงต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนถึงถิ่นบ้านล้านนา

มีคำพังเพยว่า “ใครมาเชียงใหม่ ถ้าไม่ได้กินข้าวซอยไม่ไปขึ้นดอยสุเทพ ก็เหมือนกับว่าไม่ได้มาถึงเชียงใหม่” ดังนั้นก็เท่ากับว่า ข้าวซอย เป็นอาหารคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ เหมือนกับ “ขนมจีนน้ำเงี้ยว” เป็นอาหารคู่บ้านคู่เมืองล้านนาไทย    วันมีงานพบปะกันในงานสันทรายจึงจัดเลี้ยงต้อนรับ"แขกต่างบ้านมาเยือนบ้านเรา" ส่วนมากจะใช้คำว่า  "  ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเฮือน" ( มาบ้าน) จึงขอเสนออาหารเส้นที่นักเรียนไปประกวดได้รับรางวัลเหรียญทองระดับชาติมาให้ชิมค่ะ  

แนวคิดในการทำข้าวซอยสามเส้น

อาหารในสมัยปัจจุบัน มีหลากหลายทั้งที่เป็นอาหารของคนไทยในแต่ละท้องถิ่นและอาหารของชาวต่างชาติ ข้าวซอย คืออาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย ดังที่กล่าวว่ามาเชียงใหม่ต้องทานข้าวซอย ซึ่งเดิมเรียกว่า "ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ" เป็นอาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัด หอมเครื่องแกง มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง ผักชีต้นหอม และมีเครื่องปรุงรส เช่น พริกผัดน้ำมัน น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล

ในตำรับดั้งเดิมเนื้อใช้ เนื้อไก่หรือเนื้อวัว ข้าวซอย ถือเป็นอาหารจานเดียวที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ที่มีลักษณะกรอบ นุ่มอยู่ในถ้วยเดียวกัน จะพบบ่อยทางภาคเหนือของไทย

เพื่อให้มีความแปลกใหม่และได้คุณค่าทางโภชนาการในการรับประทานข้าวซอย จึงได้ประยุกต์ใช้เส้นหมี่ข้าวกล้องเส้นก๋วยเตี๋ยวสด และเส้นบะหมี่ แต่คงไว้ซึ่งรสชาติดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของข้าวซอย จึงเป็นที่มาของข้าวซอยสามเส้น     ขอสรุปว่า เคล็ดลับความอร่อยของข้าวซอยอยู่ที่ “เส้น” และลำดับต่อก็คือ “แกง” ถ้าองค์ประกอบสองส่วนนี้ลงตัว ข้าวซอยต้องอร่อยเป็นแน่แท้ 

 วัตถุประสงค์ในการทำข้าวซอยสามเส้น

1. เพื่อรักษาเอกลักษณ์อาหารจานเดียวของภาคเหนือ

2. เพื่อฝึกความอดทนและทักษะการทำงาน 

3. เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต  

ข้าวซอยสามเส้น

 ส่วนผสม

  เส้นหมี่ข้าวกล้อง  300  กรัม

  เส้นบะหมี่เหลือง  500    กรัม

  เส้นก๋วยเตี๋ยวสด  500  กรัม

  กะทิ  1000    กรัม

  โคนปีกไก่  1000    กรัม

  ลำไยแห้ง  300  กรัม

  น้ำพริกแกงเผ็ด  30    กรัม

  ผงกระหรี่  1  ช้อนชา

  น้ำตาลปี๊บ  3  ช้อนโต๊ะ

  เกลือป่น  1  ช้อนชา

  ผักกาดดอง  500  กรัม

     สับปะรด  500   กรัม

    หอมแดง  50  กรัม 

  มะนาว  5  ลูก

  ต้นหอม-ผักชี    1  กำ

  พริกป่น  20  กรัม

  น้ำมันพืช  1    ถ้วย

ขั้นตอนและวิธีทําข้าวซอย

1.โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด2. นำหม้อใส่หางกะทิตั้งไฟ หมั่นคนเสมอ พอเดือด ใส่เกลือ และไก่ลงไป รอให้เดือด จากนั้น

หรี่ไฟเคี่ยวต่อให้นุ่ม  3. นำกะทะตั้งไฟ ใส่เครื่องแกงที่โขลกลงไป ผัดจนหอม  5. เทเครื่องแกงที่ผัดจนหอมใส่หม้อต้มเนื้อ รอดูให้ไก่นุ่ม จึงเติมหัวกะทิ ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว

 ซีอิ๊วดำ (ชิมรสถ้าอ่อนให้เติมด้วยเกลือ)  6. ลวกเส้นบะหมี่เหลือง เส้นหมี่ข้าวกล้อง และเส้นก๋วยเตี๋ยว ในน้ำเดือดให้นุ่ม นำไปผ่านน้ำเย็น ยกขึ้นสะเด็ดน้ำ จะได้เส้นที่เหนียวนุ่มขึ้น  7. นำเส้นบะหมี่เหลือง  1 ก้อนไปทอดในน้ำมัน ให้เหลืองกรอบ ประมาณ 3-5 วินาที ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน พอเย็นแล้วใส่เก็บใส่หม้อปิดฝาเพื่อให้กรอบ ไม่เหนียว  8. สุดท้ายนำสามเส้นสามสี ที่ลวกใส่ชามแกง วางหมี่กรอบข้างบน ตักน้ำแกงใส่ถ้วยแยกวางบนจานรอง เสริฟพร้อม หอมแดง ผักกาดดอง พริกผัดน้ำมัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมรับประทาน

แนวคิดในการทำวุ้นลำไยลอยแก้ว

    เนื่องจากลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์รสหวาน มี

ปริมาณซูโครสและกลูโคสสูง จึงช่วยให้ร่างการสดชื่นได้เร็วมีสารอาหารต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี และวิตามินซี เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบประสาท เลือด และความแข็งแรงของกระดูกและฟัน นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงหัวใจ ม้าม และช่วยทำให้ผ่อนคลาย

  จากสรรพคุณดังกล่าวจึงได้นำลำไยมาประกอบเป็นผลไม้ลอยแก้วโดยได้ประยุกต์

รูปแบบนำเอาแก้วมังกรแดงมาเพิ่มให้ลักษณะของตัววุ้นหรือนำหัวบีทรูทมาสกัดสีนำลงผสมในแก้วมังกรสีขาวเพื่อเพิ่มสีสันให้วุ้นลำไยลอยแก้วน่ารับประทานยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ในการทำวุ้นลำไยลอยแก้ว

1. เพื่อใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่

2. เพื่อเพิ่มรสชาติทางอาหาร และรับประทานเป็นของหวานที่คู่กับข้าวซอยที่มีความมันของกะทิ

3. เพื่อฝึกความอดทนและทักษะการทำงาน 

4. เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต       

วุ้นลำไยลอยแก้���

  ส่วนผสม

  วุ้นผง  15  กรัม

  น้ำตาลทราย      2  ถ้วย

  ลำไยสด  300  กรัม

  ลำไยแห้ง  200  กรัม

  ถ้วยพิมพ์วุ้นพลาสติก    50  ใบ

  แก้วมังกรสีแดงหรือหัวบีทรูท    100  กรัม

  น้ำแข็งป่น

วิธีทำวุ้นลำไย
  1.  นำผลไม้แก้วมังกรสีแดง ล้างน้ำให้สะอาดผ่าครึ่งนำไปบดให้ละเอียด พักไว้

 2. เคี่ยววุ้นกับน้ำเปล่าจนละลาย จึงเติมน้ำตาลทราย เคี่ยวจนละลายดี ใส่ผลไม้แก้วมังกรสีแดงยกลงจากเตาพักไว้สักครู่ จึง ตักใส่ในผลลำไยจนเต็ม ทำจนหมดวุ้น

  3.นำวุ้นแช่เย็น จัดเสิร์ฟขณะเย็นจัด หรือจะนำวุ้นลำไย เสิร์ฟพร้อมน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง

ประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับจากข้าวซอยสามเส้น และวุ้นลำไยลอยแก้ว

1.   เนื้อสัตว์ คือ ไก่ ให้โปรตีน ประโยชน์ที่สำคัญคือ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทำให้ร่างกาย

แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอจากบาดแผล อุบัติเหตุ หรือจากการเจ็บป่วย

  2. ข้าว แป้ง น้ำตาลวุ้นให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้ และยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

  3. ผักชีต้นหอม มะนาว ให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานเชื้อโรค และช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ

  4. แก้วมังกร และลำไย  ให้วิตามินและเกลือแร่ ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานโรค และมีกากอาหารช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นปกติ

  5. กะทิและน้ำมัน จะให้สารอาหารประเภทไขมันให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ร่างกายจะสะสมพลังงานที่ได้จากหมู่นี้ไว้ใต้ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

         ภาพที่พวกเราไปแข่งขันที่เมืองทองธานี วันที่ 14 ก.พ. 2556



        ภาพนี้จัดรับรองแขกที่มาเยี่ยมเยือนในวันงานสันทรายกินดีมีความสุข


 


ที่มา   https://www.gotoknow.org/posts/521228

อัพเดทล่าสุด