ลูก-เมล็ดฟักข้าว ผัดใส่ไข่ด้วยน้ำมันมะพร้าวเยื้อฟักข้าว ข้าวหุงด้วยเยื้อฟักข้าว


1,146 ผู้ชม


ผัดฟักข้าวใส่ไข่ ด้วยน้ำมันมะพร้าวเยื้อฟักข้าว

  ลูกฟักข้าวลูกไม่แก่ไม่อ่อน ผัดใส่ไข่ มาฝากนะคะ

เลือกลูกฟักข้าวที่ไม่อ่อน ไม่แก่ ฟักข้าวอ่อน เมล็ดจะไม่แข็งและกินได้ เนื้อนำไปทำอาหาร เมื่อสุกพอดี เนื้อจะอ่อนนิ่ม  ส่วนฟักข้าวที่ลูกไม่อ่อนไม่แก่ เมล็ดยังไม่ดำและยังไม่เกิดเยื้อหุ้มสีแดง เนื้อจะแข็งกรอบ และเนื้อเมล็ดไม่ขมมาก

ปอกเปลือกออก แล้วผ่าให้เป็น สี่ส่วน นำปลายช้อน แคะเนื้อเมล็ดออกมาให้หมด ใช้ปลายมีดนำส่วนที่มีเปลือกเมล็ดออกแล้ว หั่นชิ้นบางๆ

การผัดอาหารด้วยพืชผักๆบางชนิดผัดโดยไม่ต้องใส่สมุนไพรอื่นก็ได้ หรือเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อได้ประโยชน์และอร่อยมากขึ้น อย่างเช่น ผัดที่นำมาฝากนี้มี

1. เนื้อฟักข้าว จากลูกไม่อ่อนไม่แก่

2. เนื้อในเมล็ดฟักข้าว จะมีรสขมนิดเมื่อผัดสุกความขมจะหายไป

3. กระเทียม ตำหรือสับละเอียด

4. หัวหอมใหญ่ มากน้อยแล้วแต่ชอบ ผ่าครึ่งหั่นตามยาวหัวชิ้นเล็กๆ

5. พริกเขียว-แดง เพื่อให้มีรสเผ็ดเล็กน้อย สีอาหารน่าอร่อยมมากขึ้น

6. ไข่ ใส่มากน้อยแล้วแต่ชอบ

7. น้ำมันมะพร้าวเยื้อฟักข้าว หรือใช้น้ำมันอื่นๆได้

8. เครื่องปรุง น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซ๊อส น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี

( ผู้ที่ชอบเนื้อหมู ไก่ กุ้ง ก็จะสับหรือหั่นเป็นชิ้น ใส่ด้วยได้)

 

เมนูอาหารจานที่ทำนี้ มีสมุนไพรที่ลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน

       คือ เนื้อลูกฟักข้าว  กระเทียม หัวหอมใหญ่  พริก

https://www.gotoknow.org/blogs/posts/487667

 

น้ำมันมะพร้าวเยื้อฟักข้าว

วิธีทำ  กระทะตั้งไฟให้ร้อนพอประมาณ ใส่น้ำมันมากน้อยอยู่ที่ปริมาณเนื้อฟักข้าวที่ผัดให้พอเหมาะ ใส่น้ำมัน ใส่กระเทียมที่ทุบหรือสับไว้ เจียวให้หอม สักนิด แล้วนำเนื้อลูกและเนื้อเมล็ดฟักข้าวลงกระทะ เติมน้ำสักนิด แล้วปรุงรสตามชอบ คนไปมาพอใกล้สุก น้ำที่คลุกคลิกเดือด ตักชิมสักหน่อย หากพอดีอร่อยแล้ว แล้วใส่ไข่ (ควรใส่ตอนน้ำเดือด สีจะไม่ขุ่นเมื่อเสร็จ) ไข่สุกแล้วน้ำจะแห้งหากชอบน้ำคลุกคลิกเพิ่มน้ำได้  ใส่หัวหอมใหญ่ พริก สุกดีแล้วตักขึ้นใส่จาน กรณีถ้าชอบเนื้อฟักข้าวสุกมากให้นิ่มหน่อยก็ผัดนานสักนิด หากชอบกรอบก็ผัดพอสุก 

(หากมีเนื้อสัตว์ เมื่อเจียวกระเทียมหอมดีแล้วก็นำเนื้อสัตว์ที่เตรียมไว้ ผัดให้สุกแล้วถึงใส่ฟักข้าว)

เยื้อหุ้มเมล็ดฟักข้าว ช้อนตักเมล็ดออกมาแล้วยี ขย้ำด้วยมือหรือ ช้อนหรือที่ตีไข่นำเยื้อสีแดงออกมาจากเมล็ดให้หมด ผสมน้ำที่จะใช้หุงข้าวเท่ากับน้ำที่ใส่หุงข้าวตามปกติ

  https://www.gotoknow.org/blogs/posts/487030

ข้าวที่หุงด้วยเยื้อฟักข้าวสีแดง ข้าวสีเข็มมากน้อยอยู่ที่ปริมาณของเยื้อฟักข้าวที่ผสมน้ำหุง

    ฟักข้าวส่วนใหญ่จะนำแต่ยอดอ่อน และลูกอ่อนมาทำอาหาร ช่วงระหว่าง ลูกไม่อ่อนไม่แก่ ก็มักจะรอให้แก่สุกถึงจะนำลงมาจากต้น เนื้อกรอบอร่อย นำมาทำอาหารได้หลายอย่างตามชอบ เช่น แกงคั่ว แกงส้ม แกงไตปลา แกงเลียง คั่วแค ผัดเปรี้ยวหวาน ฯ  ซึ่งจากที่ชิมดิบๆนั่น น่าจะสับทำส้มตำได้เช่นเดียวกับตำส้มตำมะละกอ เพราะเนื้อคล้ายกันมากกับมะละกอดิบ ในลูกฟักข้าวที่ไม่อ่อนไม่แก่ ซึ่งหากผู้ขายส้มตำนำมาตำขายก็จะดีมาก ตำส้มฟักข้าว ก็คงจะลองทำดูสักครั้ง อร่อยหรือไม่ไว้ตำแล้วจะนำมาฝากนะคะ

    จะมีเมนูแกงเลียงเมล็ดฟักข้าวงอกใส่เห็ดสามอย่าง  ซึ่งผู้ที่ปลูกนำมาฝากบอกว่า ยังไม่เคยทำอะไรกับเมล็ดฟักข้าวงอกตามพื้น ที่รากขาดตอนจะตักใส่ถุงปลูกเพาะขาย ช่วยทำอะไรให้ได้ประโยชน์หน่อย  ก็ได้ทำแกงเลียง และได้ชิมดิบๆแล้ว ส่วนที่เป็นเมล็ดแก่งอกรสขมพอควร ส่วนที่เป็นต้นอ่อน กรอบหวาน  แล้วจะนำเมนูแกงเลียงมากฝากค่ะ

 

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี

 


ที่มา   https://www.gotoknow.org/posts/503984

อัพเดทล่าสุด