วิธีลดความอ้วน แบบผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร


956 ผู้ชม


จากที่มีกระแสข่าวคนอ้วนที่หนักเป็นหลักร้อยๆกิโล สามารถกลับมาผอมได้อีกครั้ง ทำให้กระแสการผ่าตัดเย็บกระเพาะให้เล็กมีผู้สอบถามมามาก วเราบทความเกี่ยวกับ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร เพื่อรักษาโรคอ้วน          จากที่มีกระแสข่าวคนอ้วนที่หนักเป็นหลักร้อยๆกิโล สามารถกลับมาผอมได้อีกครั้ง ทำให้กระแสการผ่าตัดเย็บกระเพาะให้เล็กมีผู้สอบถามมามาก วเราบทความเกี่ยวกับ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร เพื่อรักษาโรคอ้วน 

โรคอ้วนเป็นโรคยอดฮิตสำหรับคนอย่าหนึ่ง โดยสถิติทุกปี จะมีคนที่เป็นโรคอ้สนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จริงๆ การลดความอ้วนนั้นมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย แต่ในปัจจุบันมีวิธีการลดความอ้วนโดยการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร (Roux en Y Gastric Bypass) ที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วน เพราะนอกจากจะช่วยควบคุมโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนแล้ว ยังควบคุมน้ำหนักในระยะยาวไม่ให้กลับมาอีกด้วย


ผศ.นพ.สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องศัลยกรรมด้วยกล้องส่อง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ... เผยให้ทราบเกี่ยวกับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเพื่อรักษาโรคอ้วนว่า สำหรับวิธีนี้เป็นการใช้ 2 หลักการร่วมกัน คือ 

1.หลักการลดขนาดให้อิ่มเร็ว 

2.ใช้หลักการทำให้การดูดซึมน้อยลง    


ซึ่งวิธีการนั้น เริ่มจากการที่เราเข้าไปตัดกระเพาะบริเวณส่วนต้นให้เหลือเพียงกระเปาะเล็กๆ ประมาณ 15 เซนติเมตร หลังจากนั้นตัดลำไส้ให้สั้นลงอีก 150 เซนติเมตร ซึ่งการตัดให้สั้นลงนั้นไม่ได้เป็นการเอาลำไส้ออก แต่เป็นการเลี่ยงการเจอกันระหว่างน้ำย่อยกับอาหารโดยตรง โดยการนำน้ำย่อยกับอาหารไปเจอกันในระดับที่ต่ำลงไปอีก 150 เซนติเมตรนั่นเอง และผลที่ได้รับหลังจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเพื่อลดความอ้วน จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอิ่มเร็ว เมื่อรับประทานอาหาร รวมถึงมีการดูดซึมที่น้อยลง ขณะเดียวกันร่างกายต้องไปเผาผลาญพลังงานที่สะสมด้วยตนเอง เช่น เผาผลาญไขมันที่อยู่ในกล้ามเนื้อหรือในตับออกมา ตรงนี้จึงทำให้น้ำหนักของผู้ป่วยลดลง ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการผ่าตัด ซึ่งไม่ได้นำชิ้นส่วนใดๆ ออก แต่ทำให้น้ำหนักลดนั่นเอง คุณหมอกล่าว    


สำหรับผู้ที่เหมาะจะรับการรักษาด้วยวิธีนี้ คุณหมอแนะนำว่า 

1.ต้องเป็นผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัย แล้วว่าเป็นโรคอ้วน ที่มีอายุประมาณ 16-60 ปี เพราะถ้าผู้ป่วยมีอายุต่ำกว่า 16 ปี ยังมีการเจริญเติบโตอยู่ จึงไม่ควรรับการรักษาด้วยวิธีนี้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปก็มีความเสี่ยงสูง จึงไม่ควรรักษาด้วยวิธีนี้เช่นกัน 

2.ต้องเป็นผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 40 หรือผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 แต่มีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน ความดัน เป็นต้น (หากดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 = ผอม, 18.5-24.9 = น้ำหนักปกติ, 25.0-29.9 = น้ำหนักเกิน, 30.0-39.9 = อ้วน ถ้ามากกว่า 40 = อ้วนผิดปกติ) 3.ต้องเป็นผู้ที่พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้เข้ากับสรีระ หลังจากการผ่าตัด รวมถึงต้องทำความเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังการผ่าตัด


ส่วนผลข้างเคียงจากการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ คุณหมอกล่าวว่า อาจมีเลือดออกและมีอาการเส้นเลือดอุดตัน หรือมีการรั่วของกระเพาะอาหารในระหว่างการผ่าตัด รวมทั้งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับปอดและระบบหายใจ ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถควบคุมได้ สำหรับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเพื่อรักษาโรคอ้วนนั้น คุณหมอกล่าวว่า มีมานานประมาณ 50 ปีแล้ว แต่เพิ่งเริ่มมาได้รับความนิยมไม่นานนี้เอง เนื่องจากในปัจจุบันมีคนอ้วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และส่วนหนึ่งเป็นเพราะการรักษาด้วยวิธีนี้ สามารถควบคุมโรคแทรกซ้อนที่มากับโรคอ้วนได้ ตลอดจนสามารถควบคุมน้ำหนักในระยะยาวไม่ให้กลับมาได้


นอกจากนี้ยังทำให้น้ำหนักของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดลดลงอย่างรวดเร็ว โดยจะลดลง 1-2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และน้ำหนักจะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งถึง 6-12 เดือน น้ำหนักจะเริ่มคงที่ ขณะเดียวกันผู้ป่วยก็ต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดหลังการผ่าตัดด้วยเช่นกัน จึงจะทำให้การรักษาด้วยวิธีนี้ได้ผลอย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ คุณหมอได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การรักษาโรคอ้วนได้ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้อ้วนมากกว่าการมารักษาเมื่อป่วยเป็นโรคอ้วนแล้ว

แต่สำหรับผู้ที่อยากผอมหรือน้ำหนักยังไม่ถึงเกณฑ์สำหรับคนอ้วน คุณหมอบอกว่า ไม่แนะนำให้รักษาด้วยวิธีนี้ เนื่องจากการผ่าตัดนั้นค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ในระหว่างผ่าตัดได้ รวมถึงอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่คุ้มค่า เพราะส่วนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และต้องมีการปฏิบัติตนหลังการผ่าตัดอย่างเคร่งครัด

 


ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1141&sub_id=9&ref_main_id=1

อัพเดทล่าสุด