สารสำคัญที่ช่วยกระดูกและฟัน เกลือแร่แคลเซียม


882 ผู้ชม


สิ่งสำคัญที่ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีนั้นคือการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ การดื่มนมทุกวันนอกจากจะให้กระดูกและฟันของคุณแข็งแรงแล้วนั้น ยังช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคมะเร็งอีกด้วย         สิ่งสำคัญที่ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีนั้นคือการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ การดื่มนมทุกวันนอกจากจะให้กระดูกและฟันของคุณแข็งแรงแล้วนั้น ยังช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคมะเร็งอีกด้วย 

สารสำคัญของกระดูกและฟัน เกลือแร่แคลเซียม

คุณผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือคุณผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรควรรับประทานอาหารที่ให้เกลือแร่

แคลเซียม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกบาง เปราะหักง่าย และลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็ง

เกลือแร่แคลเซียม (Calcium) เป็นเกลือแร่ที่ทุกท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีความสำคัญต่อร่างกายของเราอย่างมาก โดยปกติร่างกายจะเก็บเกลือแร่แคลเซียมไว้ที่กระดูก และฟันเมื่อใดที่ร่างกายต้องการนำแคลเซียมไปใช้ก็จะมีการสลายเอาออกมาจากกระดูก และฟันของเราเป็นหลัก ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายท่านเชื่อว่า คนไทยไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการขาดแคลเซียมมากนัก เนื่องจากลักษณะการบริโภคของคนไทย นิยมรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากปลา กะปิ กุ้งแห้ง ผักชนิดต่าง ๆ ที่มีแคลเซียมสูงแต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลการสำรวจจากหลายสถาบัน พิสูจน์ว่าคนไทยมีแนวโน้มในการขาดเกลือแร่แคลเซียมมากขึ้น โดยเฉพาะคนในสังคมเมือง เนื่องจากสาเหตุ คือ
  • การรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมอย่างไม่สม่ำเสมอ ทานเป็นบางมื้อ หรือทานตามฤดูกาล ตามสภาวะเศรษฐกิจ
  • ภาวะความบกพร่องในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร เช่น การมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ท้องเสียหรือติดเชื้อในทางเดินอาหาร มะเร็งลำไส้ที่ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงอย่างมาก
  • การขาดวิตามินดี เนื่องจากวิตามินดีเป็นวิตามินที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม หากร่างกายขาดวิตามินดี ก็จะทำให้ขาดแคลเซียมตามไปด้วย
  • การรับประทานอาหารจำพวกไขมัน โปรตีน หรืออาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงเช่น ผักโขม หรือโกโก้ ทำให้ร่างกายลดการดูดซึมเกลือแร่แคลเซียมได้
  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในเพศหญิง โดยเฉพาะในวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้ร่างกายลดการดูดซึมแคลเซียมลง
  • สารคาฟอีนจากกาแฟ นิโคตินจากบุหรี่ และแอลกอฮอล์จากสุราเป็นสารเคมีที่ลดการดูดซึมเกลือแร่แคลเซียมทั้งสิ้น
  • ความเครียดส่งผลให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดสูง ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง
อาการเมื่อขาดแคลเซียม
- ทำให้กระดูกอ่อนหรือหักง่าย กระดูกพรุน ฟันโยกหรือหลุด ปวดหลัง หลังโก่งงอ
- ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งในช่องท้องมากผิดปกติในระหว่างมีประจำเดือนของผู้หญิง
- กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ เกิดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ
- ชาตามปลายมือปลายเท้า หรืออาการเจ็บกล้ามเนื้อ
ดังนั้นทุกท่านควรป้องกันอาการดังกล่าว โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ควรรับประทานอาหารที่ให้เกลือแร่แคลเซียม ประมาณ 1,000-1,2000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกบาง เปราะ หักง่าย และลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งอีกด้วยค่ะ

อัพเดทล่าสุด