อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน


1,797 ผู้ชม


อาหารมงคลในช่วงเทศกาลตรุษจีน ในช่วงเทศกาลตรุษจีนการไหว้บรรพบุรุษ ด้วยอาหารมงคลที่มีความหมายดีๆ เช่นอาหารคาว อาหารหวาน และผลไม้ รวมทั้งกระดาษเงินกระดาษทอง ล้วนมีความหมายแทนคำมงคลทั้งสิ้น         อาหารมงคลในช่วงเทศกาลตรุษจีน ในช่วงเทศกาลตรุษจีนการไหว้บรรพบุรุษ ด้วยอาหารมงคลที่มีความหมายดีๆ เช่นอาหารคาว อาหารหวาน และผลไม้ รวมทั้งกระดาษเงินกระดาษทอง ล้วนมีความหมายแทนคำมงคลทั้งสิ้น 
อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีนอาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน

ช่วงเทศกาลตรุษจีน หรือปีใหม่สำหรับชาวจีน อาหารมงคลต่างๆ จะถูกซื้อเพื่อนำมารับประทานมากกว่าวันไหนๆ ในปี

ซึ่งอาหารต่างๆ ที่เคยถูกจัดตามประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อบรรพบุรุษ หรือแม้นกระทั้งญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูงที่ได้ล่วงลับไปแล้ว และในวันนี้ชาวจีนส่วนใหญ่จะทานอาหารที่เป็นมงคลกับชีวิตนั้นก็คือ  "ไช่" ไช่เป็นผักชนิดต่างๆ ที่นำมาปรุง ซึ่งจะเป็นเพียงรากและผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใย หลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆ มีความหมายที่เป็น มงคลในตัวของมัน
เม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย
เกาลัด - มีความหมายถึง เงิน
สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวย
เต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข
หน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข
เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์
อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดมสมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่
ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวนมากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน
อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
กับข้าวไหว้บรรพบุรุษทำไมมักเหมือนกันทุกครั้ง เช่น ลูกชิ้นปลาผัดต้นกระเทียม เป๊าฮื้อน้ำแดง ขนมกุ๊ยช่าย ฯลฯ เป็นข้อบังคับเหมือน หมู เป็ด ไก่ หรือเปล่า คำตอบคือ เมนูกับข้าวไหว้เจ้า หลายบ้านจะคล้ายๆ กัน เพราะนิยมทำกับข้าวที่มีความหมายมงคล ก็เหมือนที่คนไทยนิยมมีขนมมงคล 9 อย่างในเครื่องขันหมาก มีขนมทองหยิบ ทองหยอด ในงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ อย่างไรก็ตามแต่ละบ้านอาจไหว้เมนูไม่เหมือนกัน
ชุดของไหว้ที่เป็นของคาว 5 อย่าง ได้แก่
  • หมู
  • ไก่
  • ตับ
  • ปลา
  • และกุ้งมังกร
(ต่อมากุ้งมังกรหายาก จึงเปลี่ยนเป็นเป็ดสำหรับคนจีนแต้จิ๋ว และเปลี่ยนเป็นปลาหมึกแห้ง สำหรับคนจีนแคะ)
หมู มีความหมายถึงความมั่งคั่ง ด้วยความอ้วนของตัวหมู สะท้อนถึงความกินดีอยู่ดี
ไก่ มีมงคล 2 อย่าง คือ
1. หงอนไก่สื่อถึงหมวกขุนนาง ความหมายมงคลจึงเป็นความก้าวหน้าในงาน
2. ไก่ขันตรงเวลาทุกเช้า สะท้อนถึงการรู้งาน
ตับ คำจีนเรียกว่า กัว พ้องเสียงกับคำว่า กัว ที่แปลว่าขุนนาง
ปลา คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ฮื้อ โดยมีวลีมงคล อู่-ฮื้อ-อู่-ชื้ง แปลว่า ให้เหลือกินเหลือใช้ ไหว้ปลาเพื่อให้มีเงินเหลือกินเหลือใช้มาก ๆ
กุ้งมังกร ไหว้ด้วยรูปลักษณ์ของกุ้ง ที่หัวใหญ่ มีก้ามให้ความรู้สึกถึงอำนาจวาสนา

ชุดกับข้าว หลากหลายอย่าง บางบ้านเหมือน บางบ้านต่าง ซึ่งก็ไม่เป็นไร
  • 1. ลูกชิ้นปลา จีนแต่จิ๋วออกเสียงว่า ฮื้อ-อี๊ แปลว่า ลูกปลากลมๆ ฮื้อหรือปลา คือให้เหลือกินเหลือใช้ อี๊ แปลว่ากลมๆ หมายถึงความราบรื่น
  • 2. ผัดต้นกระเทียม เพราะคนจีนแต้จิ๋ว เรียกกระเทียมว่า สึ่ง พ้องเสียงกับสึ่งที่แปลว่านับ ไหว้ต้นกระเทียม เพื่อให้มีเงินมีทองให้ได้นับอยู่เสมอ
  • 3. ผัดตับกับกุยช่าย ตับคือ การเรียกว่า กัว พ้องเสียงกับกัวที่แปลว่า ขุนนาง กุยช่ายเป็นการพ้องเสียงของคำว่ากุ่ย แปลว่า แพง รวย
  • 4. แกงจืด คนจีนเรียกว่า เช็ง-ทึง เช็ง แปลว่า ใส หวาน ซดคล่องคอ การไหว้น้ำแกงก็เพื่อให้ชีวิตลูกหลานหวานราบรื่น
  • 5. เป๊าฮื้อ เป๊า หรือ เปา แปลว่า ห่อ ส่วน ฮื้อ คือเหลือกินเหลือใช้ ไหว้เป๊าฮื้อ เพื่อห่อความมั่งคั่เหลือกินเหลือใช้มาให้ลูกหลาน
  • 6. ผัดถั่วงอก คนจีนแต้จิ๋วเรียกถั่วงอกว่า เต๋าแหง๊ แต่ภาษาวิชาการเรียกว่า เต้าเหมี่ยว เหมี่ยว แปลว่า งอกงาม ไหว้ถั่วงอกเพื่อให้งอกงามรุ่งเรือง
  • 7. เต้าหู้ เป็นคำเรียกแบบชาวบ้านที่อาจเรียกเป็นเต้าฮกก็ได้ ฮก คำนี้เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว จีนกลางออกเสียงเต้าหู้ว่า โต ฟู ฟู แปลว่า บุญ ความสุข
  • 8. สาหร่ายทะเล เรียกว่า ฮวกฉ่าย ถ้าออกเสียงเป็นฮวดไช้ ก็แปลว่า โชคดี ร่ำรวย
ชุดขนมไหว้ ก็ล้วนมีความหมายมงคล เช่นกัน
  • 1. ซาลาเปา เล่นเฉพาะคำว่า เปา แปลว่า ห่อ ไหว้ซาลาเปาเพื่อให้เปาไช้ แปลว่า ห่อโชค ห่อเงินห่อทองมาให้ลูกหลาน
  • 2. ขนมถ้วยฟู คือไหว้เพื่อให้เฟื่องฟู คนจีนแต้จิ๋วเรียกขนมถ้วยฟูว่า ฮวกก้วย ก้วย แปลว่า ขนม ฮวก แปลว่างอกงาม
  • 3. ขนมคัดท้อก้วย คือขนมไส้ต่างๆ เช่น ไส้ผักกะหล่ำ มันแกว ไส้กุยช่าย ทำเป็นรูปลูกท้อสีชมพู ลูกท้อ เป็นผลไม้มงคลมีนัยอวยพรให้อายุยืนยาว
  • 4. ขนมไข่ คนจีนเรียกว่า หนึงก้วย ไข่คือบ่อเกิดแห่งการได้เกิดและเติบโต ไหว้ขนมไข่เพื่อให้ได้มีการเกิดและการเจริญเติบโต
  • 5. ขนมจับกิ้ม หรือ แต้เหลียง ก็เรียกคือ ขนมแห้ง 5 อย่าง จะเรียกว่า โหงวเส็กทึ้ง หรือ ขนม 5 สี ก็ได้ ประกอบด้วย
    • ถั่วตัด
    • งาตัดฃ
    • ถั่วเคลือบ
    • ฟักเชื่อม
    • และข้าวพอง

ฟัก เพื่อฟักเงินฟักทอง ฟักเชื่อม คือการฟักความหวานของชีวิต
ข้าว ถั่ว งา คือ ธัญพืช ธัญญะ แปลว่า งอกงาม ไหว้เพื่อให้งอกงาม และชีวิตหวานอย่างขนม

  • 6. ขนมอี๊ อี๊ หรืออี๋ แปลว่ากลมๆ ขนมอี๊ทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดจนได้ที่เจือสีชมพู ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ต้มกับน้ำตาล เพื่อให้ชีวิตเคี้ยวง่ายราบรื่น เหมือนขนมอี๊ที่เคี้ยวง่ายและหวานใสซึ่งขนมอี๊นี้อาจใช้เป็นสาคูหรือลูกเดือยก็ได้ คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอี๊เหมือนกัน

ชุดผลไม้ที่มีความหมายมงคล เช่น

  • 1. ส้ม คนจีนแต้จิ๋วเรียกแบบชาวบ้านว่า กา แต่ส้มมีอีกคำเรียกว่า ไต้กิก ไต้ แปลว่า ใหญ่ กิก แปลว่า มงคล ไต้กิก จึงแปลว่า มหาสิริมงคล แต่ถ้าแปลง่ายๆ แบบชาวบ้านก็คือโชคดี
  • 2. กล้วย จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า เก็ง-เจีย จะเล่นเสียงว่า เก็ง-เจีย-เก็ง-ไล้ แปลว่า ถึงโชคเข้ามา กับอีกความหมายว่า กล้วย มีผลมากมายแถมเป็นเครือ จึงมีมงคลให้ลูกหลานมากๆ มีวงศ์วานว่านเครือสืบสกุล
  • 3. องุ่น จีนแต้จิ๋วเรียกว่า พู่-ท้อ พู่ ก็คือ งอก หรืองอกงาม ท้อ ก็คือ พ้องเสียงกับลูกท้อที่เป็นผลไม้มงคล อายุยืน
  • 4. สับปะรด คนจีนแต้จิ๋วเรียก อั้งไล้ แปลว่า เรียกสีแดงมา สีแดงเป็นสีของโชค ก็ประมาณว่าเรียกโชคเข้ามา คนจีนทางใต้นิยมไหว้สับปะรดมาก

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2968&sub_id=98&ref_main_id=4

อัพเดทล่าสุด