วิตามินซี กับการดูดซึมและนำไปใช้ของร่างกาย


992 ผู้ชม


จากการศึกษาพบว่าการดูดซึมของวิตามินซีจะขึ้นอยู่กับขนาดของวิตามินซีที่รับประทาน         จากการศึกษาพบว่าการดูดซึมของวิตามินซีจะขึ้นอยู่กับขนาดของวิตามินซีที่รับประทาน 
วิตามินซีเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย วิตามินซีเป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น แหล่งอาหารที่พบวิตามินซีส่วนใหญ่จะพบได้ในผลไม้โดยเฉพาะผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม ผลอะเซโรล่า เชอร์รี่ ฝรั่ง มะนาว มะขามป้อม เป็นต้น ส่วนในผักในผัก เช่น ผักโขม คะน้า บล็อคโคลี่ วิตามินซีจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่สลายตัวได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับ น้ำ อากาศ และความร้อน ดังนั้นในผลไม้ที่ผ่านการแปรรูปเช่น ผลไม้อบแห้ง น้ำผลไม้ ผลไม้กระป๋อง ปริมาณของวิตามินซีแทบจะหลงเหลืออยู่น้อยมาก ดังนั้น จึงควรรับประทานผัก ผลไม้ที่ใหม่ สด เพื่อให้ได้ปริมาณวิตามินซีที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ประโยชน์ที่ได้จากวิตามินซี - เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย - ส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม - เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) - จำเป็นต่อกระบวนการสร้างเส้นใยคอลลาเจน - จำเป็นต่อการสร้าง carnitine ซึ่งเป็นสารอาหารเพื่อการขนส่งกรดไขมันเข้าสู่ไมโตครอนเดรียเพื่อให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน - จำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมน วิตามินซีกับการดูดซึมและนำไปใช้ วิตามินซีจะถูกดูดซึมบริเวณลำไส้เล็กและจะถูกส่งต่อไปยังเนื้อเยื่อและน้ำในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทางกระแสเลือด จากรศึกษาพบว่าอัตราการดูดซึมวิตามินซีจะลดลงเมื่อมีการรับประทานในขนาดที่มากเกิน กล่าวคือ - หากรับประทานวิตามินซีในปริมาณมากกว่า 12 กรัม การดูดซึมจะอยู่ที่ 16% - หากรับประทานวิตามินซีในปริมาณ 1.5-3.0 กรัม การดูดซึมจะอยู่ที่ 36-49% - หากรับประทานวิตามินซีในปริมาณ 1.0-1.5 กรัม การดูดซึมจะอยู่ที่ 50% - ในขณะที่รับประทานวิตามินซีในปริมาณน้อยกว่า 20 มิลลิกรัม การดูดซึมจะอยู่ที่ 98% ดังนั้นการดูดซึมของวิตามินซีจะดูดซึมได้ดีในปริมาณที่น้อยกว่า 1,000 มิลลิกรัม นอกจากนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดูดซึม การได้รับสารอาหารจำพวกซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซึมของวิตามินซีอีกด้วย และเพื่อให้ได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอควรหลีกเลี่ยงการรับประทานควบคู่กับเพคตินและสังกะสีในปริมาณที่สูง
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=490&sub_id=16&ref_main_id=4

อัพเดทล่าสุด