โรคอ้วนภัยร้ายที่มากับอาหารทำลายเด็กไทย....


2,904 ผู้ชม

ปัจจุบันเด็กไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เด็กจะรับประทานอาหารมากเกินไป


ปัจจุบันเด็กไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เด็กจะรับประทานอาหารมากเกินไป จนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนกลายเป็น “โรคอ้วน”

ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดการดูแลที่ดีจากพ่อแม่ หรือความเข้าใจผิด... 

คนส่วนใหญ่จะมองว่า เด็กอ้วน คือ เด็กที่มีสุขภาพดี และอนาคตเด็กอ้วนเหล่านี้จะมีปัญหาสุขภาพอันได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ โรคกลุ่ม อาการที่ดื้อต่อสารอินซูลิน นอนกรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอกจากโรคทางกายแล้ว โรคอ้วนยังนำไปสู่โรคทางจิตใจด้วย เช่น ไม่ค่อยคบเพื่อน เกิดโรคซึมเศร้า และในรายที่รุนแรงมากอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย กอง โภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นถึงเรื่องนี้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการได้รับอาหารมากเกิน ไป ทำให้มีน้ำหนักมากไม่เหมาะสมกับส่วนสูง ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายและสุขภาพ เป็นโรคเรื้อรังต่างๆในเด็ก และลดน้ำหนักได้ยากมากยิ่งขึ้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กลายเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน

โรคเรื้อรังดังกล่าวจะมีความรุนแรงมากขึ้นและเสียชีวิตได้ง่าย แนวทางแก้ไขเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน (เริ่มอ้วน/อ้วน) ติดตามการชั่งน้ำหนักทุกเดือนและวัดส่วนสูงทุก 6 เดือน แนะนำการให้อาหารครบทุกกลุ่มได้แก่ เนื้อสัตว์/ไข่/นม ข้าว-แป้ง ผัก ผลไม้ และน้ำมัน ในปริมาณที่เหมาะสมและควรกินให้หลากหลาย ลดอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ อาหารประเภทข้าว-แป้ง ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก มัน เป็นต้น และอาหารไขมัน เช่น น้ำมัน กะทิ ควรหลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด ผัด แกงกะทิหรือขนมใส่กะทิ งดกินจุกจิก เช่น ขนม น้ำหวาน น้ำอัดลม ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 20 นาที และเครื่องไหวร่างกายเป็นประจำ เช่น เล่นกีฬา วิ่งเล่น เดินขึ้น-ลงบันได ขณะเดียวกันแพทย์ไทยศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์จุล ทิสยากร มูลนิธิเด็กโรคหัวใจได้เผยเกี่ยวกับโรคอ้วนในเด็กว่า เมื่อ 40 ปีก่อน แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเด็กของประเทศไทยพบกับปัญหาโรคขาดอาหารในเด็กเป็นจำนวนมาก และโรคขาดอาหารในเด็กได้ค่อยๆหมดไป

แต่ ที่กำลังกลายเป็นปัญหากับสังคมไทยแทนก็คือโรคอ้วนในเด็กอาจเป็นเพราะเด็กรับ ประทานอาหารมากเกินไปจนน้ำหนักตัวมากจนอยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่าเป็นโรคอ้วน ซึ่งในปัจจุบันพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของเด็กในกรุงเทพมหานคร

การป้องกันโรคอ้วนต้องเป็นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและเข้มงวดตั้งแต่แรกคลอด โดย ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งทำให้เด็กมีโอกาสอ้วนน้อยกว่าเด็กที่ เลี้ยงด้วยนมวัว ในเด็กที่โตขึ้นครอบครัวมีหน้าที่จัดการและให้ความรู้เรื่องอาหารกับการออก กำลังกาย

หลักเกณฑ์ที่สำคัญเพื่อการควบคุมน้ำหนักอย่างได้ผล คือ

ประการแรก ตั้งเป้าและจัดรายการเฉพาะสำหรับเด็กแต่ละคนโดยพิจารณาจากอายุ ความรุนแรงของน้ำหนักที่มากเกินไป และโรคที่มีร่วมด้วยแล้ว

ประการที่สอง ครอบครัวต้องร่วมด้วยในภาคปฏิบัติ

ประการที่สาม มีการประเมินผลบ่อยๆ

ประการที่สี่ ต้องคำนึงถึงความประพฤติ สังคม และจิตใจของเด็กด้วย

ประการสุดท้าย ให้คำแนะนำในการเปลี่ยนแปลงอาหารและการออกกำลังกายที่เด็กและครอบครัว นำไปปฏิบัติได้จริงๆ ซึ่งน้ำหนักตัวของแต่ละคนคือ Body Mass Index (BMI) ซึ่งคำนวณได้จากสูตรซึ่งใช้ได้ทั้งเพศหญิงและชาย โดยการหาค่า BMI = น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) / ความสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง การแปลผล BMI ที่คำนวณได้ ค่า BMI (กก/ม2) การแปลผล 20-25 ดีที่สุด 25-30 น้ำหนักเกิน 30-34 อ้วน 35-44 อ้วนจนต้องระวังสุขภาพ 45-49 อ้วนจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มากกว่า 50 ซุปเปอร์อ้วน (อันตรายมาก) (ค่าปกติของ BMI ในเด็กที่อายุมากกว่า 9 ปี) เด็กชาย = อายุ (หน่วยเป็นปี) + 13 เด็กหญิง = อายุ (หน่วยเป็นปี) + 14)

จะเห็นได้ว่า ความสำเร็จในการควบคุมน้ำหนักขึ้นกับความร่วมมือของสมาชิกทุกคนในครอบครัว ที่ต้องยอมรับการจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น การเล่นกีฬา และการเปลี่ยนแปลงชนิดอาหารและวิธีการเตรียม เด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่ควรใช้ยาเพื่อการควบคุมน้ำหนัก ส่วน วิธีการผ่าตัดต่างๆเพื่อลดน้ำหนักจะพิจารณาใช้เฉพาะกับเด็กที่เจริญเติบโต เข้าสู่วัยหนุ่มสาวแล้วเท่านั้น และจะต้องเป็นโรคอ้วนที่อ้วนจนมีปัญหาต่อสุขภาพแล้วเพราะมีโรคแทรกซ้อนหรือ น้ำหนักมากถึงขั้นซุปเปอร์อ้วน

ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=337&sub_id=54&ref_main_id=4

อัพเดทล่าสุด