"วางมือถือบนหัวเตียง"...เสี่ยงต่อสุขภาพ!!


937 ผู้ชม


ใครที่ชอบวางมือถือบนหัวเตียงคุณรู้หรือไม่ว่ากำลังเสี่ยงต่อสุภาพของคุณอยู่นะค่ะ วันนี้เราเอาเรื่องใกล้ตัวมาฝากกัน เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะที่ชอบทำแบบนี้ คือ วางมือถือไว้บนหัวเตียง          ใครที่ชอบวางมือถือบนหัวเตียงคุณรู้หรือไม่ว่ากำลังเสี่ยงต่อสุภาพของคุณอยู่นะค่ะ วันนี้เราเอาเรื่องใกล้ตัวมาฝากกัน เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะที่ชอบทำแบบนี้ คือ วางมือถือไว้บนหัวเตียง 
องค์การอนามัยโลกย้ำ! ใช้มือถือมากเสี่ยงเป็นเนื้องอกในสมองโดยเฉพาะข้างที่ใช้รับสาย สบท. เผยคนไทยเสี่ยง 24 ชั่วโมง แม้เวลานอนเพราะพฤติกรรมเปิดเครื่องวางไว้หัวเตียง ระบุการใช้บลูทูธและหูฟังช่วยได้
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า IARC หรือ International Agency for Research on Cancer ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การอนามัยโลก ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ให้เหตุผลของการจัดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นปัจจัยก่อมะเร็งประเภท 2B หรือ เป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง ซึ่งนอกจากจะเป็นการยืนยันว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มีความเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งแล้วยังพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า การใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีระบบบลูทูธจะทำให้ผู้ใช้ได้รับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่ำกว่าการใช้ผ่านเครื่องโทรศัพท์มือถือโดยตรงถึง 100 เท่า และการใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีแบบมีสายหรือหูฟังจะช่วยลดการได้รับพลังงานที่สมองลงประมาณร้อยละ 10 แต่การใช้ทั้งสองประเภทไม่ควรเกี่ยวไว้ที่หูตลอดเวลาเมื่อไม่ได้ใช้งาน และผลการรายงานยังพบว่า โทรศัพท์ 3G ปล่อยพลังงานน้อยกว่าโทรศัพท์ GSM เฉลี่ยประมาณ 100 เท่า 
นายประวิทย์ กล่าวต่อไปว่า จากรายงานกับผลสำรวจของสบท. ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัญสัมชัญหรือเอแบคโพลพบว่า คนไทยมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับคลื่นสัญญาณที่นอกจากการใช้งานคือพบว่า ร้อยละ 64.5 นิยมวางโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ที่หัวเตียงพร้อมกับเปิดเครื่องไว้ในเวลานอน ร้อยละ 41.6 ใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกงหรือกระเป๋ากระโปรง และร้อยละ 23.7 นิยมใส่ไว้ในกระเป๋าพกพา ดังนั้นจากข้อมูลที่พบ หากไม่ใช้ก็ควรไว้ให้ห่างตัวโดยเฉพาะศีรษะ โดยไม่ควรวางไว้ที่หัวเตียงและเปิดเครื่องทิ้งไว้ เพื่อลดความเสี่ยงของการได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
ข้อแนะนำ
1. ให้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เท่าที่จำเป็น 
2. ไม่ควรใช้โทรศัพท์ในรถยนต์หรือขณะขับรถ 
3. เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1984&sub_id=95&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด