การรักษาโรคสมาธิสั้นโดยพฤติกรรมบำบัด


925 ผู้ชม



Thaihealth บันทึก "โรคสมาธิสั้นในเด็ก เป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็กวัยเรียน โดยอาจพบได้ถึง 3-5 % เด็กจะมีอาการซุกซน อยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่าย บางครั้งชอบทำอะไรรุนแรงเช่นทุบตี หรือวิ่งชน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการเรียน และความสัมพันธ์กับเด็กอื่น 
การวินิจฉัยโดยแพทย์จิตเวชเด็ก จะต้องแยกโรคภาวะอื่น ๆ ออกก่อน เช่นการซนที่เป็นปกติ หรือปัญญาอ่อน หรือ ออทิสติก
การรักษาที่มีประสิทธิภาพ คือการรักษาโดยการใช้ยา ที่เป็นอนุพันธ์ของแอมเฟตามีน ร่วมกับพฤติกรรมบำบัด โดยพฤติกรรมบำบัด จะพยายามสอนทักษะต่าง ๆ เช่น 
การฟัง 
การแสดงความรู้สึก 
การจัดการกับความโกรธ 
การควบคุมตนเอง 
การแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น 
ปัญหาความมั่นใจในตัวเอง 
ส่วนใหญ่ของเด็ก ถ้าได้แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง มักจะแก้ไขได้ และเด็กจะอยู่ร่วมกับเด็กอื่น ได้อย่างปกติสุข 
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article29.html

อัพเดทล่าสุด