"หยุด" พฤติกรรมไม่ดีก่อนกลายเป็นนิสัย


746 ผู้ชม


เรื่องกลาย เป็นนิสัยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับท่าทีของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กด้วยนะคะ และต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย         เรื่องกลาย เป็นนิสัยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับท่าทีของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กด้วยนะคะ และต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย 
หลายเรื่องเป็นพัฒนาการตามวัย แต่หากจะปล่อยผ่านเลยไปก็ใช่ที่ เพราะทำบ่อยๆ อาจเคยตัวจนกลายเป็นนิสัยได้ จึงต้องหาทางรับมือกันหน่อย
1. เจ้านายวัยอนุบาล
ท่าทาง ชี้นิ้วสั่งจะเอาโน่นเอานี่ หากมองในแง่บวกก็ถือเป็นเรื่องดีที่น้องหนูบอกความต้องการของตัวเองได้ ชัดเจน แต่หากปล่อยไปนานๆ อาจจะกลายเป็นเด็กที่ทำอะไรไม่เป็น ดีแต่สั่งคนอื่น ทำให้เพื่อนไม่อยากคบด้วย ฉะนั้นต้องช่วยให้ลูกเรียนรู้ที่จะรักษาเพื่อนหรือมิตรภาพเอาไว้ค่ะ
ช่วยปรับพฤติกรรม
* เป็นแบบอย่างที่ดี เพราะเด็กวัยนี้จะเลียนแบบการใช้ภาษาจากผู้ใหญ่ เช่น เวลาผู้ใหญ่ชอบสั่งเด็กว่า ไปล้างมือก่อนเดี๋ยวนี้นะ เขาก็จะจำมาทำตาม ให้เปลี่ยนมาใช้ประโยคขอร้องหรือชักชวนค่ะ เช่น "ไปล้างมือก่อนดีมั้ยจ๊ะ จะได้กินข้าวพร้อมกัน"
* ให้ ลูกเรียนรู้วิธีเจรจาต่อรองแบบสุภาพแทนคำสั่ง เมื่อบอกให้น้องหนูเก็บของเล่น แต่แกขอต่อรูปจิ๊กซอว์นี้ให้เสร็จก่อน ก็ยืดหยุ่นให้ลูกบ้างนะคะ


2. โกหกพกลม
เด็ก วัยนี้เพิ่งจะเรียนรู้การแยกแยะระหว่างเรื่องจริงและเรื่องจินตนาการมาได้ ไม่นาน เด็กส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจหรือรู้สึกผิดว่าพูดโกหกจนกว่าจะเริ่ม 4 ขวบไปแล้ว แต่บางครั้งก็ต้องโกหกเพื่อปกปิดความจริงที่จะทำให้พ่อแม่หน้าหุบหรือเหี่ยวอย่างกะทันหัน
ช่วยปรับพฤติกรรม
* อย่าตกใจหรือถามทำนองประชด เช่น "ช้างที่ไหนมาวิ่งในบ้านชั้นจนแจกันหล่นมาแตกยะ" แต่ควรมองที่ปัญหาและหาทางแก้ตรงจุด เช่น "แจกันของคุณย่าตกลงมาแตก นี่คือเหตุผลว่าต่อไปนี้ เราจะไม่วิ่งเล่นในบ้าน"
* อย่า เรียกลูกว่าเด็กเลี้ยงแกะ หรือเด็กขี้โกหก เพราะแกยังไม่เข้าใจความหมายเปรียบเทียบเชิงอุปมาอุปไมย ซ้ำยังเท่ากับไปติดป้ายให้ลูกเป็นคนอย่างนั้นจริงๆ
* อย่า ยั่วยุให้เกิดการโกหก เคยดูรายการทีวี เขาให้คุณครูถือขนมเค้กไปในชั้นเรียนอนุบาล แล้วครูบอกว่า เดี๋ยวครูไปเอามีดมาแบ่งเค้ก ห้ามใครแอบขโมยกินก่อนนะ ปรากฏว่าหนูๆ เอาแต่จ้องแล้วก็มีวิธีที่จะให้นิ้วเปื้อนเค้ก จะได้แอบลิ้มรส พอครูกลับมา ไม่มีใครยอมรับสักคน แถมช่วยคิดหาข้ออ้างมาชี้แจงเหตุผลเสร็จสรรพค่ะ
* ให้ คำชมลูก เมื่อลูกยอมรับความจริงในสิ่งที่ทำผิด พร้อมทั้งบอกลูกถึงเหตุผลว่าทำไมจึงไม่ควรทำสิ่งนี้ในคราวต่อไป อย่าทำให้ลูกรู้สึกว่าบอกความจริงโดนหนักกว่าโกหก
3. กัด ฟัด ผลัก
เด็ก บางคนอาจจะยังแสดงออกด้านอารมณ์ไม่ชัดเจน หรือไม่รู้จะทำยังไงเมื่อโกรธ โมโห และอารมณ์เสีย จะว่าไปการกัดหรือตีเพื่อนแรงๆ ก็เป็นพฤติกรรมเชิงอำนาจของคนตัวเล็ก ที่เรียกร้องให้คนอื่นสนใจความรู้สึกของตนอย่างได้ผลเชียวค่ะ
ช่วยปรับพฤติกรรม
* หยุดการกระทำนั้นโดยทันที แล้วแยกเด็กออกจากกัน
* บอกน้องหนูที่เป็นฝ่ายทำร้ายเพื่อนด้วยเสียงหนักแน่นว่า ทำอย่างนั้นไม่ได้นะ เพราะเพื่อนเจ็บ ถ้าหนูโดนกัดหนูก็เจ็บ
* ถ้าคุณคิดว่า Time out ไม่ ได้ผลในกรณีแบบนี้ ให้พาไปทำกิจกรรมอื่น เช่น ดูการ์ตูน เล่นเกม ร้องเพลง เล่านิทาน ที่เกี่ยวกับเพื่อนๆ รักและช่วยเหลือกัน เพื่อให้คลายความว้าวุ่นในใจลงไป แล้วจึงพาไปขอโทษเพื่อน
* สังเกตว่าเด็กจะอารมณ์เสียและมีพฤติกรรมนี้ในช่วงเวลาไหน ขณะทำกิจกรรมอะไร จะได้หาทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำสองอีก
4. คำที่ไม่น่าฟัง
บางคำได้ยิน แล้วทำเอาช็อก เช่น "หนูเกลียดแม่" "ไปตายซะ" ความจริงแล้วเขาไม่ได้เกลียดคุณหรอกค่ะ แค่ต้องการระเบิดอารมณ์กับคนใกล้ตัวเพื่อความสะใจ ผู้ใหญ่บางคนก็เคยเป็นค่ะ
ช่วยปรับพฤติกรรม
* หายใจเข้าลึกๆ ถ้ายิ่งแว้ดใส่ลูก ก็เท่ากับยิ่งเร่งให้ลูกอารมณ์เสียและตอบโต้คุณแรงขึ้น
* อธิบายด้วยน้ำเสียงหนักแน่น จริงจัง แต่ไม่ประชด เช่น "รู้นะว่าหนูอยากเล่นต่อ แต่เราต้องไปแล้ว เดี๋ยวคุณพ่อกับคุณย่ารอกินข้าวเย็น อาทิตย์หน้าค่อยมาใหม่"
* บอกต่อด้วยว่าคุณไม่ชอบที่ลุกทำแบบนี้ เช่น "ทีหลังอย่าพูดแบบนี้อีก แม่เสียใจนะ ถ้าอยากเล่นให้บอกว่าไม่อยากกลับ ลูกต้องพูดเพราะๆ เราไม่พูดคำนี้กับคนในครอบครัวนะ"
* วิธี สุดท้าย คุณพ่ออาจจะเป็นฝ่ายเข้ามาช่วยให้ลูกสงบและอธิบายเหตุผล เสร็จแล้วจะให้ไปขอโทษคุณแม่ค่ะ เช่น น้องเอมขอโทษครับที่ทำให้แม่เสียใจ เรื่อง..... เอมรักแม่ครับ
พฤติกรรม สุดแย่แบบไหน ถ้าไม่อยากให้น้องหนูทำจนชินเป็นนิสัย ผู้ใหญ่ต้องทำตัวอย่างที่ดีให้เห็น และที่สำคัญอย่าลืมจัดการกับอารมณ์ของตัวเราก่อนจะจัดการพฤติกรรมของน้องหนู นะคะ

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=733&sub_id=2&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด