แม่ท้องต้องระวังลิ่มเลือดอุดตัน !


757 ผู้ชม


ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน อาจเป็นโรคที่ไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก และมีโอกาสที่จะเป็นค่อนข้างน้อย แต่ถ้าเป็นแล้วก็จะอันตรายมากๆ นะคะ              ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน อาจเป็นโรคที่ไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก และมีโอกาสที่จะเป็นค่อนข้างน้อย แต่ถ้าเป็นแล้วก็จะอันตรายมากๆ นะคะ 

ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน...เป็นอย่างไร

ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน คือ โรคที่เกิดจากระบบการเลือดไหลเวียนเลือดช้า ร่วมกับมีสารบางชนิดที่ส่งผลให้เลือดเกิดการแข็งตัวได้ง่าย จึงเกิดเป็นลิ่มเลือดอุดตันได้

ในประเทศไทยยังพบโรคนี้ไม่เยอะมากนัก ประมาณร้อยละ 0.1-0.7 พบได้มากในชาวตะวันตก มีโอกาสที่จะเป็นได้สูง ในคนที่ถูกจำกัดให้อยู่ในอิริยาบทใดนานๆ เช่น การเดินทางโดยเครื่องบินที่มีระยะเวลาการเดินทางนานหลานชั่วโมง ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขาได้เหมือนกัน

สำหรับแม่ท้องก็อาจเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เหมือนกันค่ะ เนื่องจากแม่ท้องมีแนวโน้มที่เลือดจะเกิดการแข็งตัวได้ง่ายอยู่แล้วค่ะ

 

แม่ท้องหลังไตรมาส 3 เลือดไหลเวียนช้า

มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้แม่ท้องเกิดการแข็งตัวของเลือดได้ง่าย และการไหลเวียนเลือดช้าลง เพราะเวลาท้องมดลูกมีการขยายตัวใหญ่ขึ้น ซึ่งโดยธรรมชาติของมดลูกเมื่อโตขึ้นก็จะเอียงไปทางขวา เมื่อเอียงมากๆ ก็จะไปกดทับหลอดเลือดดำใหญ่ที่อยู่ด้านขวา ที่ทำหน้าลำเลียงเลือดจากครึ่งล่างของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ

ซึ่งส่วนมากจะเกิดได้ในช่วงอายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป หรือที่เจอได้บ่อยคือหลังไตรมาสที่ 3 หรือในอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป เนื่องจากมดลูกเริ่มมีการขยายใหญ่ขึ้นมาก และมีโอกาสที่จะไปกดทับหลอดเลือดได้ง่าย

เมื่อหลอดเลือดโดนมดลูกกดทับ ประกอบกับกิจวัตรของแม่ท้องเองที่วันๆ นั่งอยู่กับที่ เดินน้อย หรือนอนนานๆ ทำให้เส้นเลือดถูกกดทับ ส่งผลให้เลือดไหลตัวช้าเข้าไปใหญ่ ก็เลยมีโอกาสที่จะมีการอุดตันของเลือดได้มากกว่าคนทั่วไป 5-6 เท่าค่ะ

 

โรคนี้อันตรายแค่ไหน

การมีลิ่มเลือดก็เหมือนเส้นเลือดมีก้อนเล็กๆ มาขวางอยู่ วันดีคืนดีเจ้าลิ่มก้อนนี้อาจวิ่งหลุดออกไป แล้วไปอุดเส้นเลือดใหญ่ๆ ในร่างกาย ที่เจอได้คือไปอุดหลอดเลือดที่ปอด พบได้ประมาณร้อยละ 15-25 เมื่อไปอุดแล้วจะทำให้ปอดเกิดภาวะขาดออกซิเจน และมีโอกาสเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ประมาณร้อยละ 12-15

ในแม่ท้องที่มีลิ่มเลือดอุดตันที่ขา จะมีอาการขาบวม แต่จะสังเกตค่อนข้างยาก เพราะปกติแม่ท้องก็มีอาการขาบวมอยู่แล้ว แต่ถ้ามีอาการเหล่านี้ด้วยก็อาจเป็นสัญญาณเตือนที่ไม่ดีแล้วค่ะ

 

อาการเตือน

  • มีอาการขาบวมมากกว่าปกติ อาจจะบวมข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ ซึ่งอาการบวมนี้แสดงว่าอาจมีการอุดตันเกิดขึ้น
  • มีอาการปวดร่วมด้วย ปวดขามาก เดินไม่ไหว คือปกติแม่ท้องจะมีอาการขาบวมอยู่แล้ว แต่จะไม่ปวด
  • กดแล้วปวด เมื่อเอามือกดบริเวณตำแหน่งที่บวมแดง จะรู้สึกปวดมาก

ฉะนั้น เวลามีอาการจะต้องวินิจฉัยให้ได้ก่อนว่ามีแนวโน้ม หรือเป็นโรคนี้หรือไม่ ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยสำคัญมาก ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และไม่เป็นอันตรายกับแม่ท้อง คือการทำดอปเลอร์ อัลตร้าซาวนด์ (Doppler ultrasound) เป็นการตรวจการไหลเวียนเลือดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ทำให้เห็นการไหลเวียนของเลือดว่าไหลช้าหรือเปล่า มีการอุดตันหรือเปล่า ซึ่งมีความไวในการวินิจฉัย 95% และมีความแม่นยำถึง 99%

เมื่อตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่ามีแนวโน้มของโรค สิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือ หาสาเหตุของการเกิดโรคด้วยเสมอ เพื่อรักษาที่ต้นเหตุค่ะ

 

แม่ท้องแบบไหน เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

แม่ท้องอายุมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมากกว่า 40 ปี ในผู้หญิงที่มีบุตรหลายคน หรือผู้หญิงที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Antiphospholipid Syndrome) ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ใช่เพียงจะเจอเฉพาะภาวะลิ่มเลือดอุดตันเท่านั้น แต่ยังเจอปัญหาเรื่องการแท้งบ่อยด้วย ดังนั้น พอท้องก็ต้องระวังความเสี่ยงเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ

 

เคยเป็นโรคที่ส่งเสริมให้เลือดเกิดการแข็งตัวได้ง่าย ได้แก่ 

  • กลุ่มโรค Factor five leiden mutation ที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้จะมีปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบเลือด ทำให้เกิดเป็นลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย
  • หรืออีกกลุ่มโรคหนึ่งที่เรียกว่า การขาดโปรตีน C โปรตีน S หรือ Antithrombin III ถ้าร่างกายขาดสารเหล่านี้ จะส่งผลให้เลือดไหลช้า และกลายเป็นลิ่มเลือดอุดตันได้
  • เคยมีประวัติเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตัน ในท้องที่แล้ว หรือประวัติเป็นโรคนี้มาก่อนที่จะท้อง หรือมีประวัติเลือดอุดตันที่ปอด จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นขณะตั้งครรภ์ ดังนั้น ถ้าเริ่มตั้งครรภ์ก็ต้องรีบฉีดยาละลายลิ่มเลือดป้องกันไว้ก่อน

 

แม้โอกาสที่จะเป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ไม่ใช่เรื่องที่เกิดง่ายๆ แต่ป้องกันไว้ดีกว่าค่ะ

อัพเดทล่าสุด