ต้นไม้ราชพฤกษ์ ไม่ใช่มีแค่ความสวยแต่ประโยชน์ต่อสุขภาพ


1,005 ผู้ชม


ราชพฤกษ์ หรือที่ชื่อเดิมที่ชื่อว่า ลมแล้ง เป็นหนึ่งในยาสมุนไพรที่ใช้แก้ท้องผูกหรือช่วยระบาย ในงานสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐานจัดเป็นยาสมุนไพรคุณภาพดีอีกตัว         ราชพฤกษ์ หรือที่ชื่อเดิมที่ชื่อว่า ลมแล้ง เป็นหนึ่งในยาสมุนไพรที่ใช้แก้ท้องผูกหรือช่วยระบาย ในงานสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐานจัดเป็นยาสมุนไพรคุณภาพดีอีกตัว 
ลมแล้ง หรือที่เรารู้จักกันทั่วไปคือ คูณ หรือราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้ประจำชาติ และเป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น เป็นพืชในวงศ์ CAESALPINIACEAE มี ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula Linn. ที่เรียกกันว่า ลมแล้ง เนื่องจากจะออกดอกในช่วงหน้าร้อน ดอกสีเหลืองบานสะพรั่งเต็มต้น  บางต้นก็ผลัดใบเหลือแต่ดอกสีเหลืองท้าทายความร้อน ความสวยงามของดอกคูณ ลักษณะและดอกที่สวยงามของคูณ จึงมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Golden shower ตามลักษณะของดอกนั่นเอง
  • เนื้อในฝักรสหวานเอียน ถ่ายเสมหะแก้พรรดึก (แก้ท้องผูก) ระบายพิษไข้ เป็นยาระบายที่ไม่ปวดมวน หรือไซ้ท้อง ใช้ในเด็กหรือสตรีระหว่างมีครรภ์ ผู้ที่ท้องผูกเรื้อรัง แก้ไข้มาลาเรีย แก้บิด ถ่ายพยาธิ แก้ตานขโมย ใช้พอก แก้ปวดข้อ โดยส่วนใหญ่ยาสมุนไพรที่ใช้ในการระบายมักจะทำให้ปวดมวนท้อง กว่าจะได้เวลาขับถ่ายก็ปวดมวนไปหลายตลบ และมีข้อดีคือหญิงมีครรภ์ที่มีภาวะท้องผูกก็สามารถใช้ได้ วิธีใช้ง่ายๆ โดยนำเนื้อในฝักคูน 1 ช้อนชาไปชงร่วมกับน้ำขิงร้อนๆ 1 แก้วกาแฟ กรองเอาแต่น้ำรับประทาน ทำให้ระบายไม่ปวดมวนท้อง ส่วนอื่นๆ หมอแผนไทยก็นำมาใช้ประโยชน์ปรุงยาได้เช่นกัน 
  • ส่วนของใบ มีรสเมาสรรพคุณเป็นระบายท้องได้เช่นกัน ฆ่าพยาธิผิวหนัง ฆ่าเชื้อโรคทั้งปวง พอกแก้ปวดข้อ แก้ลมตามข้อ แก้อัมพาต อัมพาตของกล้ามเนื้อบนใบหน้า ต้มรับประทาน แก้เส้นพิการ แก้โรคเกี่ยวกับสมองชาวอินเดียได้ใช้ใบตำพอกแก้ปวดข้อและลมเข้าข้อ และยังใช้ดอกปรุงเป็นของหวานรับประทานเป็นอาหารและแก้ไข้ได้ด้วย หรือจะใช้น้ำคั้นใบอ่อนๆของคูนทารักษากลากวงแหวน   ชาวเมืองอินเดียแถบเหนือแม่น้ำสินธุ ใช้ใบโขลกพอกแก้โรคที่ทำให้ปวดข้อ และอัมพาต โดยใช้ใบโขลกถูนวดตามร่างกายส่วนนั้นและสรรพคุณเหล่านี้ยังถูกบันทึกและกล่าวไว้ในสรรพคุณยาหลวงของอังกฤษและอินเดียด้วยเปลือกฝัก รสเฝื่อนเมา ทำให้อาเจียน ทำให้แท้งลูก ขับรกที่ค้าง 
  • เมล็ด รสฝาดเมา แก้ท้องร่วง ฝนผสมกับหญ้าฝรั่น น้ำตาล น้ำดอกไม้เทศ กินทำให้เกิดลมเบ่ง
     
  •  ดอก มีรสขมเปรี้ยว แก้ไข้ ระบายท้อง แก้พรรดึก แก้แผลเรื้อรัง แก้โรคกระเพาะอาหาร ต้มดื่มแก้ไข้ ช่วยหล่อลื่นลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร
  • ราก รสเมา แก้กลาก เกลื้อน ฆ่าเชื้อคุดทะราด ระบายพิษไข้ ถ่ายสิ่งโสโครกออกจากร่างกาย แก้เชื่องซึม หนักศีรษะ ทำให้ชุ่มชื่นทรวงอก แก้หายใจขัด แก้ไข้ รักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ เกี่ยวกับถุงน้ำดี มีฤทธิ์ถ่ายแรงกว่า เนื้อในฝัก ไม่มีผลข้างเคียง ใช้กับเด็กๆ หรือสตรีมีครรภ์ ได้ดี 
  • เปลือกราก รสฝาด ระบายพิษไข้ แก้ไข้มาลาเรีย แก่น รสเมา แก้รำมะนาด กระพี้ รสเมา แก้รำมะนาด
วิธีใช้ในการดูแลสุขภาพอื่นๆ  
  • 1.ขับพยาธิ แก้เด็กเป็นตานขโมย เป็นยาถ่าย ให้ฝักแห้ง 30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
     
  • 2.ใช้เป็นยาระบายในคนที่ท้องผูกเป็นประจำ แก้บิด แก้ไข้มาลาเรีย ใช้เนื้อในฝักแก่ แกะเปลือกนอก และเมล็ดออกใช้ 4 กรัม (ก้อนขนาดหัวแม่มือ) ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย ต้มให้เดือดนาน 5-10 นาที ดื่มครั้งละครึ่งแก้วก่อนนอน ถ้าไม่ถ่ายให้เพิ่มขนาดยาหรือซื้อฝักคูณจากร้านยา เอาท่อนยาวประมาณ 1 คืบ สับเป็นท่อนสั้นๆ ใส่หม้อต้มน้ำประมาณ 1 แก้วครึ่ง เคี่ยวไฟ
    อ่อนๆ จนเหลือประมาณ 1 แก้ว เทเอาแต่น้ำ ดื่มให้หมด หรือจะผสมกับมะขามเปียกหรือน้ำตาลขนาดเท่ากันก็ได้ รับประทานก่อนนอนครั้งเดียว
  •  3.เป็นยาแก้ปวดข้อ ใช้เนื้อตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น
     
  •  4.เป็นยากระตุ้นให้อาเจียน ใช้เมล็ด 5-6 เมล็ด บดเป็นผงรับประทาน
     
  •  5.แก้ไข้รูมาติก ใช้ใบอ่อนต้มเอาน้ำดื่ม
  •  6.เป็นยาถ่าย ใช้ใบแห้งบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม
     
  • 7.แก้กลาก และโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใช้ใบสดตำให้ละเอียด นำไปพอก หรือใช้ทาถูตามบริเวณที่เป็น
ข้อควรระวัง การใช้ยาต้ม ต้องต้มให้พอประมาณจึงจะได้ผลดี ถ้าต้มนานเกินกว่า 8 ชั่วโมง ยาจะไม่มีฤทธิ์ระบาย กลับทำให้ท้องผูก ยาต้มนี้หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้อาเจียน ฝักที่ไม่แก่จัดจนเกินไปจะใช้เป็นยาระบายได้ดีกว่าลมแล้งไม่ใช่มีแค่ความสวยแต่ประโยชน์ครบทุกส่วน ถ้าใครปลูกลมแล้งไว้หรือเจอที่ไหน ก็สามารถเป็นฝักเก็บดอกมาใช้เป็นยารักษาสุขภาพได้ อย่ามองแค่ความสวยแต่จงมองให้เห็นถึงประโยชน์ของลมแล้งด้วย


ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1177&sub_id=11&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด